""

Friday, November 2, 2018

ตำราพิชัยสงครามซุนวู

บทนำ

     เมื่อ ๑๙ ตุลาคม ..๒๕๔๑ ขณะที่ผู้เขียนเดินเกร่อยู่ในบริเวณที่พักผู้โดยสาร ขาออก ท่าอากาศยาน กรุงเทพฯ เพื่อรอการขึ้นเครื่องบินเดินทางไปราชการที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ มาเลเซียนั้น สายตาก็เหลือบไปเห็นหนังสือ สีแดงชาดสะดุด ตาวางอยู่บนชั้นของคอก ขายหนังสือเล็กๆ แต่ที่สะดุดใจก็คือชื่อของหนังสือ Sun Tzu : Art of Warหรือพากย์ไทยว่า ศิลป์แห่งสงครามของซุนวู แปลเป็นภาษาอังกฤษ จากภาษาจีนโดย Ralph D. Sawyer ที่ว่า สะดุดใจ ก็เพราะว่าผู้เขียนได้ยินชื่อของซุนวูมาตั้งแต่เป็นนักเรียนเตรียมทหาร โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง วาทะอมตะ ของ ซุนวูที่ว่า รู้เขา รู้เรา ร้อยรบมิพ่าย ไม่รู้เขารู้เรา ร้อยรบจักพ่าย ผู้เขียน ก็ได้ยินบุคคล ต่างๆ กล่าวอ้างบ่อยๆ ต่างกรรม ต่างวาระกัน จึงมีความสนใจใคร่รู้เรื่อง ซุนวูอย่างจริงจังแต่นั้นมา แต่ก็ยังไม่สบโอกาสที่จะหาผลงานของซุนวูมาศึกษาได้ จนถึงวันนั้น ที่สนามบิน ความต้องการ ที่ผ่านมาจึงบรรลุความประสงค์ แม้คำนวณจากราคาเงินดอลลาร์ สหรัฐฯ เป็นเงินไทย แล้วราคา หนังสือเล่มนี้ก็เป็นเงินมากอยู่ แต่ความอยากรู้มีมากกว่าจึงได้ ซื้อไว้ เล่ม และเป็นเพื่อนเดินทาง กับผู้เขียน ใน ระหว่างการเดินทางไปราชการที่ประเทศ มาเลเซียครั้งนั้น จากการอ่านหนังสือ เล่มที่ กล่าว ผู้เขียนเห็นว่าเป็นวรรณกรรม ที่เป็น ประโยชน์ ไม่เพียงแต่ด้านการสงคราม แต่ยังนำมาประยุกต์ ใช้กับงานและ ชีวิตประจำวัน ได้จริงสมดังคำเล่าลือ ที่ได้ยินมา จึงใคร่จะขยายเรื่อง ของซุนวูนี้ ให้ผู้อ่านได้รับทราบไว้ด้วย ซุนวูคือใคร?

ตามประวัติที่ค้นคว้ามาได้ ซุนวูเป็นคนในแคว้นฉี มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคซุนซิวประมาณ ๓๗๐
-
๔๗๖ ปี ก่อนคริสต์กาล แคว้นนี้ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลซานตงในปัจจุบัน บรรพบุรุษของซุนวูใช้แซ่ เถียน ต่อมาราว ๕๓๒ ปี ก่อนคริสต์กาลคนตระกูลเถียนได้ย้ายออกจาก แคว้นฉี ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ในแคว้นอู๋ ซึ่งอยู่ในภาคกลางของมณฑลเจียงซูปัจจุบัน ที่นี้ ซุนวูเริ่ม ให้ความสนใจค้นคว้าเกี่ยวกับ ตำราพิชัยสงครามต่างๆและคบหาสมาคมกับบรรดาขุนพลจนกระทั่ง มีความ แตกฉานในเรื่องพิชัยสงคราม แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดประจักษ์ในความสามารถของเขากำเนิด ศิลป์แห่งสงคราม
     
ราว ๕๑๖ ปี ก่อนคริสต์กาล อู๋กวงได้ลอบปลงพระชนม์อู๋อ๋องเหลียวพระราชบิดา แล้วสถาปนา ตนเองขึ้นเป็นอู๋อ๋องเหอหลี ครองราชสมบัติ แทน ต่อมาราว ๕๑๒ ปี ก่อนคริสต์กาล อู๋อ๋องเหอหลี มีพระราช ดำริจะทำสงครามกับแคว้นฉู่ แต่ยังขาด ขุนพลนำทัพ อู่จือซี ขุนพลผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น ได้เสนอตัวซุนวูให้เป็นขุนพลนำทัพแก่ อู๋อ๋องเหอหลี ถึง ครั้ง ทำให้ อู๋อ่องเหอลีอยากพบตัวจริง จึงได้เรียกตัว ซุนวู เข้าเฝ้า ซึ่งการเข้าเฝ้าครั้งนี้ซุนวูได้นำศิลป์แห่งสงครามที่เขาเขียนขึ้นทูลถวาย แก่อู๋อ๋องเหอหลีด้วย ซึ่งพระองค์ได้ซักถาม รายละเอียดต่างๆ ของข้อเขียนในทุกแง่ทุกมุมจนได้รับ คำตอบ เป็นที่ พอพระทัย ตามพงศาวดารจีนนั้น นอกจากการตอบข้อซักถามแล้วอู๋อ๋องเหอหลียัง ให้ซุนวูทดสอบภาคปฏิบัติจริง โดยให้ ทดลองกับนางกำนัลของพระองค์ว่าตำรานี้จะใช้กับ ผู้หญิง ได้หรือไม่ ซุนวูก็ได้ตอบรับ ด้วยความมั่นใจ ว่าใช้ได้จริง ถ้าพระองค์มอบอาญาสิทธิ์ในการปกครอง และฝึกนางกำนัลเหล่านี้แก่เขา
     
อู๋อ๋องเหอหลีได้มอบนางกำนัลในวัง ๑๘๐ คน และดาบอาญาสิทธิ์แก่ซุนวู ในการฝึกนางกำนัล เหล่านี้ ซุนวูได้แบ่ง นางกำนัล ออกเป็น กลุ่ม พร้อมอาวุธครบมือ แต่ละกลุ่มให้สนมคนโปรดของ อู๋อ๋องเหอหลี เป็นหัวหน้า ในการฝึกนั้นซุนวู ใช้วิธีการฝึกง่ายๆ คือการฝึกแถวพร้อมอาวุธและสั่งการ ให้กระทำตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด คือการมองตรงไปข้างหน้า ขวาหัน ซ้ายหัน และการเดินแถวไป พร้อมๆ กัน โดยซุนวูซักซ้อม ความเข้าใจ และสอบถาม จนแน่ใจว่า ทุกนางเข้าใจ ในสิ่งที่ ต้อง ปฏิบัติตามคำสั่งเป็นอย่างดี ในครั้งแรกซุนวูสั่งแถวขวาหัน แต่ทุกนาง ในแถวเอาแต่หัวเราะ คิกคัก อย่าง สนุกสนาน ซึ่งในครั้งแรกนี้ซุนวูได้ยกโทษให้และคาดโทษว่าออกคำสั่งแล้วกองทหาร ไม่ทำ ตาม ทั้งๆ ที่จำคำสั่งได้ขึ้นใจ เป็นความผิด ของผู้บังคับบัญชาจากนั้นก็ ซักซ้อมความเข้าใจแก่ นางกำนัลทั้งหลาย ในแถวอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นซุนวูก็สั่งแถว ในแบบเดิมอีก แต่เหตุการณ์ยังคงเป็น ไปในลักษณะเดิม ซุนวูจึงสั่งให้ประหารนางสนมคนโปรดทั้งสองของอู๋อ๋องเหอหลี แม้อู๋อ๋องเหอหลี ตรัสขอชีวิตนางทั้งสองไว้ แต่ซุนวูก็มิยอมละให้ โดยกล่าววาทะอมตะว่า เมื่อ ผู้บังคับบัญชาทหาร ได้รับ มอบหมายให้ ปกครองกองทหารแล้ว องค์จักรพรรดิไม่ควรแทรกแซงอู๋อ๋องเหอหลีแม้จะ อาลัย รักนางสนมทั้งสองเพียงใด ก็มิอาจกลับวาจา ของพระองค์ให้เสียการปกครองที่มอบหมาย แก่ซุนวูได้ นางสนมทั้งสองจึงถูกลงโทษประหารในที่สาธารณะ จากนั้นซุนวู แต่งตั้งให้นางกำนัล คนขึ้นมาเป็นหัวหน้าใหม่ของสองกลุ่ม การฝึกต่อจากนี้ไปก็ไม่มีเสียงหัวเราะอีกแล้ว คำสั่งต่างๆ ได้รับการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกซุนวูได้กราบทูลอู๋อ๋องเหอหลีว่า นางกำนัลเหล่า นี้พร้อมที่ จะปฏิบัติภารกิจ ที่ยากลำบากที่สุดให้แก่พระองค์ได้แล้ว และทูลเชิญให้พระองค์ตรวจ แถวนางกำนัล ถึงตอนนี้อู๋อ๋องเหอหลี ไม่ทรงอยู่ใน อารมณ์ที่จะตรวจแถวเสียแล้ว เพราะทรงเสีย พระทัยกับ การตายของพระสนม คน ในการฝึกครั้งนี้ จึงทรง งดตรวจพล และให้เลิกแถวนาง สนมไป ซุนวูเห็นดังนั้นก็รำพึงว่าพระองค์ทรงชอบทฤษฎีทางทหารแต่พระองค์เองก็ไม่สามารถ ปฏิบัติ ตามทฤษฎีได้ อย่างไรก็ตามถึงแม้อู๋อ๋องเหอหลีจะไร้ความสุขจากการเสียนางสนมทั้งสองไป พระองค์ ก็ทรง ทราบดีว่า ซุนวูเป็นนักการทหารที่มีความสามารถและเป็นผู้ที่พระองค์สามารถฝากผีฝากไข้ในการสงครามได้ จึงทรงแต่งตั้ง ให้ซุนวู เป็นขุนพลในกองทัพของพระองค์

 นับแต่นั้นมาแคว้นอู๋ก็เข้าโจมตีแคว้นฉู่ทางตะวันตก และแคว้นฉีกับแคว้นฉินทางเหนือ จนกลายเป็นมหาอำนาจในยุค สงครามระหว่างแคว้นภายใต้การนำของซุนวูผู้เป็นแม่ทัพซึ่งจาก กำเนิดของศิลป์แห่งสงครามตามที่กล่าวมาแล้วนี้ พอจับเป็น หลักการได้ว่า
     -
คำสั่งที่ให้แก่ทหารจะต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ
     -
ผู้บังคับบัญชาทหาร จะต้อง รับผิดชอบต่อผู้ใต้บังคับบัญชาของตนในทุกกรณี
     -
การให้คุณและการลงโทษต้อง เด็ดขาด ตรงไปตรงมา
     -
ความผิดนั้นอาจยกโทษให้ได้ แต่จะให้เกิดซ้ำอีกมิได้

คุณค่าของตำราพิชัยสงครามซุนวู
     
ตำราพิชัยสงครามซุนวูนี้ ได้รับความสนใจไม่เพียงแต่นักการทหารของจีนตั้งแต่อดีตมา จนถึงปัจจุบันเท่านั้น แม้แต่ใน ต่างประเทศ ก็มีการนำเอาตำราพิชัยสงครามนี้ไปใช้ในประเทศ ของตน โดย พลิกแพลงและ ปรับแต่งเพื่อนำไปใช้ได้ ทั้งในด้านการทหาร และ การปฏิบัติงาน อื่นๆ ญี่ปุ่น เป็นประเทศแรกที่นำเอาตำรานี้ไปแปล ใช้ในภาษาของตน มีการเปิดสอนตำรานี้ใน ญี่ปุ่น สมัยของโชกุน โทกุกาวา ส่วนในทางซีกโลกตะวันตกนั้นบาทหลวงชาวฝรั่งเศสซื่อ โจเซฟ อามิโอ ได้แปลตำรานี้เป็นภาษา ฝรั่งเศสเมื่อ ..๒๓๑๖ในชื่อการทหารของจีนและในประเทศ อังกฤษ คาร์ล ท็อป ได้แปลตำรานี้เป็นภาษาอังกฤษใน ..๒๔๔๘ นักการทหาร คนสำคัญ ที่เคยอ่านตำราพิชัยสงครามซุนวูมาแล้ว เช่น นโปเลียน โบนาปาร์ตแห่งฝรั่งเศสพระเจ้า ไกเซอร์ แห่งเยอรมนี และ นายพลมอนต์โกเมอรี แม่ทัพอังกฤษ เป็นต้น
     
แม้ว่าแต่เดิมตำราพิชัยสงครามซุนวูจะเป็นตำราทางทหารก็ตาม แต่ก็ได้มีการนำเอา หลักการในตำรานี้ไปประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ อย่างได้ผล มีการกล่าวว่าเพราะญี่ปุ่นประยุกต์ ใช้หลักการนี้เข้ากับสภาพของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ จึงได้ก่อร่างสร้างตัวมาจนยิ่งใหญ่ ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยนั้น ตำราฉบับนี้เข้ามาในประเทศเมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัดแต่ก็มี
การแปลเป็น ภาษาไทย หลาย สำนวนด้วยกัน เช่น สำนวนของ บุญศักดิ์ แสงระวี เป็นต้นแต่เมื่อ พิจารณาในแง่ของ ความสนใจที่จะนำ ตำราพิชัยสงครามซุนวู มาประยุกต์ ใช้อย่างจริงจังใน ประเทศไทยนั้นแทบจะไม่มีเลย ที่มีอยู่ก็มักจะเป็นเพียงยกวาทะ คำคมในตำราเล่มนี้ มาคุยกัน พอเป็น กระสายเท่านั้น

เนื้อหาของตำราพิชัยสงครามซุนวู เนื้อหาของตำราพิชัยสงครามของซุนวู แบ่งออกเป็น ๑๓ บท ด้วยการใช้ถ้อยคำ สำนวนที่สั้น กระชับ กินความกว้างขวาง ลึกซึ้งเป็นเหตุเป็นผล นับเป็นเพชรงามเม็ดหนึ่งทางวรรณกรรม ที่สามารถทำให้ ผู้อ่านมีโอกาสใช้ความคิดของตน ได้อย่างกว้างขวาง โดยมิต้องยึดติดตายตัวกับคำศัพท์ต่างๆ ผู้อ่านในทุกแวดวง จึงอาจ ใช้วิจารณญาณของตนตีความเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่าง ไม่มีข้อจำกัด
     
รายละเอียดของหัวข้อในบทต่างๆ มีดังนี้
     
. การประเมินสถานการณ์ (Initial Estimation)
     
. การเข้าสู่สงคราม (Waging War)
     
. การวางแผนการรุก (Planning Offensive)
     
. การจัดวางกำลัง (Military Disposition)
     
. ยุทธศาสตร์ของอำนาจทางทหาร (Strategic Military Power)
     
. การรู้ตื้นลึกหนาบาง (Vacuity and Substance)
     
. การเข้าทำการรบ (Military Combat)
     
. ความเปลี่ยนแปลง ประการ (Nine Changes)
     
. การเดินทัพ (Maneuvering the Army)
     
๑๐.รูปลักษณ์ภูมิประเทศ (Configuration of Terrain)
     
๑๑. ภูมิประเทศ ประการ (Nine Terrian)
     
๑๒. การโจมตีด้วยไฟ (lncendiary Attacks)
     
๑๓. การใช้จารชน (Employing Spies)
     
การที่จะอธิบายในรายละเอียดถึงเนื้อหาในแต่ละบทตามที่กล่าวข้างต้น ไม่อาจกระทำ ได้ใน บทความนี้ ผู้เขียนจึงขอยก มาเพียงบางประเด็นที่เห็นว่ามีความสำคัญ และยกตัวอย่าง ประกอบพอสังเขป คือ ในบทที่ หัวข้อความเปลี่ยนแปลง ประการนั้น ได้กล่าวถึงอันตราย ประการของขุนพล ไว้ดังนี้
     
. มุทะลุดุดัน บุคคลประเภทนี้จะทำอะไรก็ห้าว กล้าได้กล้าเสีย ไม่คิดหน้าคิดหลัง และ มักทำให้เสียภารกิจ ถ้าเป็นใน สนามรบก็มักถูกจับเป็นเชลย หรือถูกฆ่าตายเสียก่อนจะรบ ชนะ
     
. ขี้ขลาด บุคคลประเภทนี้จะขลาดกลัวกับสิ่งที่ตนต้องรับผิดชอบ ถ้ามีงานหินๆ หรือตน ไม่เข้าใจแล้ว แทนที่จะพยายาม ศึกษา ก็จะใช้วิธีให้ลูกน้องออกรับหน้าแทน โดยอ้างว่าป่วย บ้าง ติดธุระบ้าง หรือมิฉะนั้น ก็อ้างว่าเรื่องแค่นี้ไม่จำเป็น ต้องถึง มือตนเอง แค่ลูกน้องก็พอ นายประเภทนี้ถ้าอยู่ในสนามรบ จะอยู่ข้างหลังลูกน้องเสมอ จึงมักไม่ได้รับ ความเชื่อถือ จากผู้ใต้ บังคับบัญชา
     
. มีโทสะจริตรุนแรง บุคคลประเภทนี้จะถือตัวเป็นใหญ่เหนือลูกน้อง เมื่อไม่พอใจหรือ โกรธ ก็จะดุด่าลูกน้องอย่างรุนแรง โดยไม่เลือกกาลเทศะ ทำให้ลูกน้องหลีกเลี่ยงการพบปะ และไม่จงรักภักดี ถ้าเป็น ในการศึกแล้ว จะต้องสู้รบ ตามลำพัง จนตัวตาย
     
. ถือศักดิ์ศรีหรือกฎระเบียบเกินไป บุคคลประเภทนี้จะเคร่งครัดกฎระเบียบ ตายตัว อาจถูกท้าทาย หรือยุแหย่ ให้อับอาย ได้ง่าย ดังนั้น ถึงแม้จะเห็นหนทางใดที่จะบรรลุภารกิจ ได้ก็ตาม แต่ถ้าคิดว่าทำให้ตนเสียหน้า หรือขัดกฎ ระเบียบ เสียแล้ว นายประเภทนี้ก็จะยอมรับ ความสูญเสียของ ส่วนรวมนั้น เพื่อรักษากฎระเบียบหรือ เอาหน้าตนเองไว้ก่อน
     
. เป็นคนใจอ่อน บุคคลใจอ่อนจะมีลักษณะ คือ เป็นคนขี้สงสาร หรือประนีประนอม ตลอด ไม่กล้าที่จะขัดใจ หรือลงโทษ ใครเลย ผลก็คือไม่มีการตัดสินใจ โดยยืนอยู่บนพื้นฐาน ของข้อเท็จจริง ถ้าเป็นสถานการณ์ ในสนามรบ ที่ผู้บังคับบัญชาทหาร ตามใจลูกน้องทุกคน แล้ว คงไม่ต้องบอกว่าผลการรบจะออกมาอย่างไร
     
สิ่งอันตรายทั้ง ของขุนพลตามที่กล่าวข้างต้นนี้ ซุนวูกล่าวว่านำไปสู่หายนะของตัวขุน พลเองในที่สุด โดยยังไม่ต้องเอ่ย ถึงความพินาศของกองทัพที่จะเกิดขึ้นต่อมา
     
และจากบทนำที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงขอเริ่มต้นบทที่ ในฉบับนี้รวมไปด้วย

บทที่ การประเมินสถานการณ์
     
ในบทนี้ว่าถึงการประเมินสถานการณ์ก่อนเข้าทำการศึก ซึ่งซุนวูได้กล่าวไว้ ในวรรคแรกว่า สงครามนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ของประเทศชาติ เป็นเครื่องชี้เป็นชี้ตาย เป็นหนทางของการอยู่รอดหรือสิ้นชาติ จึงต้องมีการพินิจพิเคราะห์ อย่างจริงจัง และถี่ถ้วน
     
ในการประเมินสถานการณ์นั้น ให้ พิเคราะห์ดูจากปัจจัย ประการ คือ .คุณธรรม .ดินฟ้าอากาศ .ภูมิประเทศ .ขุนพล และ .กฎระเบียบ ซึ่งปัจจัยทั้งห้า นี้ แม่ทัพจะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงจะมีชัยชนะในการรบ
     
คุณธรรม คือสิ่งที่ทำให้ผู้ปกครอง และประชาชนมีจุดประสงค์ร่วมกัน ยินดีร่วมเป็นร่วมตายมิได้หวาดหวั่น ต่ออันตราย ที่จะเกิดขึ้น
     
ดินฟ้าอากาศ คือสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ ความร้อนหนาว ฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และข้อจำกัดของ เวลา
     
ภูมิประเทศ คือสิ่งที่เกี่ยวกับความใกล้ไกล ความยากง่าย ความกว้างหรือแคบ และสภาพต่างๆ ที่เอื้อต่อการป้องกัน หรือ หลบหนีจากหายนะ
     
ขุนพล คือตัวผู้นำทัพ ต้องมีความรู้ มีปัญญาน่าเชื่อถือ มีเมตตา มีความกล้าหาญ และต้องเข้มงวด
    
 กฎระเบียบ คือการจัดกำลัง ระเบียบ วินัย สายการบังคับบัญชาและการจัดการด้านการส่งกำลังบำรุง
     
ซุนวู กล่าวว่าขุนพลทุกคนจะต้องรู้ถึงหลักของปัจจัย ประการนี้ ซึ่งผู้รู้และเข้าใจย่อมนำทัพไปสู่ชัยชนะ ส่วนขุนพล ที่ได้แต่เพียงรู้แต่ไม่เข้าใจอย่างแท้จริงแล้ว ย่อมนำทัพไปสู่ความพ่ายแพ้ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินสถานการณ์ ด้วยการ เปรียบเทียบและวิเคราะห์เพื่อหาข้อเท็จจริง โดยการตั้งคำถามเหล่านี้คือ
     -
ผู้ปกครองบังคับบัญชามีคุณธรรมหรือไม่
     -
ขุนพลมีขีดความสามารถหรือไม่
     -
ฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ในเรื่องดินฟ้าอากาศและสภาพภูมิประเทศ
     -
กฎ ระเบียบ คำสั่ง และวินัยของฝ่ายใด มีความเข้มงวดกว่า
     -
กำลังฝ่ายใดเข้มแข็งกว่า
     -
นายทหารและทหารฝ่ายใด มีการฝึกหัดศึกษาที่ดีกว่า
     -
การให้รางวัลและการลงโทษ มีความชัดเจน และเป็นธรรม เป็นไปตามหลักการหรือไม่
     
จากการตอบคำถามที่กล่าวมาข้างต้น ทุกข้อก็จะทราบได้ว่า ฝ่ายใดจะแพ้และ ฝ่ายใดจะชนะในการศึก ถ้าขุนพลคนใด ปฏิบัติตามวิธีการประเมินข้างต้น และได้เป็น แม่ทัพในการรบแล้ว จะต้องได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน และควรเก็บไว้ใช้ใน กองทัพแต่ถ้าแม่ทัพใดไม่ปฏิบัติตามวิธีการประเมินนี้ และนำทัพเข้าทำการรบแล้ว ย่อมนำไปสู่ความพ่ายแพ้ จึงควรปลด ออกจากราชการ หลังจากการประเมินความได้เปรียบและเสียเปรียบตามที่กล่าวมาแล้วให้นำไปสู่การใช้อำนาจทาง ยุทธศาสตร์ เสริมด้วยกลยุทธ์ในสนามรบ ซึ่งตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกอื่นๆ อำนาจทางยุทธศาสตร์หมายถึง การควบคุม ความไม่สมดุลของอำนาจทางยุทธวิธีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ คือชัยชนะนั่นเอง สงคราม คือการใช้เล่ห์เพทุบาย ดังนั้น เมื่อเข้มแข็ง กว่าให้แสดงอ่อนแอ เมื่อจะเข้าตีให้แสร้งทำ เฉื่อยชาเมื่อเป้าหมายอยู่ใกล้ให้แสดงเหมือนว่าอยู่ไกล เมื่ออยู่ไกลก็ให้แสดงว่า อยู่ใกล้ ล่อข้าศึกด้วยผลประโยชน์ ทำให้ข้าศึกระส่ำระสายแล้วเข้าทำลาย ถ้าข้าศึกมากกว่าให้ตั้งรับ ข้าศึกแข็งแกร่งให้ หลีกเลี่ยง ข้าศึกโกรธให้ยั่วยุ ข้าศึกยโสโอหังให้เหิมเกริม ข้าศึกพักต้องตอแยให้ออกแรง ข้าศึก กลมเกลียวต้องให้แตกสามัคคี โจมตีเมื่อข้าศึกไม่ได้ระวังตัว ทำการรุกเมื่อข้าศึกไม่คาดคิด  

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือวิถีแห่งยุทธศาสตร์ทหารที่นำมาสู่ชัยชนะก่อนเข้าทำการรบ เมื่อได้ประเมิน ทุกสิ่งทุกอย่าง รอบคอบครบถ้วนแล้วเห็นว่าปัจจัยส่วนมากเป็นคุณกับฝ่ายตน จะประสบชัยชนะ แต่ถ้ามีปัจจัยเพียงส่วนน้อย ที่เป็นคุณต่อ ฝ่ายตนแล้วจะไม่ได้รับชัยชนะ แต่ เมื่อประเมินแล้วไม่มีปัจจัยใดที่เป็นคุณกับฝ่ายเราเลย ใครเล่าจะเป็นผู้ได้รับชัยชนะ คงไม่ ต้องวิเคราะห์ให้เสียเวลา ถ้าได้มีการพินิจ พิเคราะห์ในสิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดอย่างถี่ถ้วน ก็ย่อมประจักษ์ในผลแพ้หรือชนะ 

บทวิเคราะห์
     ในบทที่ ซุนวูได้กล่าวถึงการประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะทำสงคราม โดยชี้ให้เห็นถึง ปัจจัยสำคัญที่จะต้องนำมา ประเมิน ประการ ก่อนที่จะเข้าทำการรบ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ ว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็น การพิจารณาเกี่ยวกับการสงคราม ก็ตาม แต่ก็ สามารถนำมา ประยุกต์ ใช้กับการทำงาน ได้เช่นกัน ในการทำงานไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ ทหาร พลเรือน บริษัท ห้างร้านหรือองค์กรต่างๆ ย่อมมีการจัดองค์กร และมีสายการบังคับบัญชา ทำนองเดียว กับ ทหาร เช่นกัน มีผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และเป้าหมาย ขององค์กรที่จะต้องก้าวไป ให้ถึงทำนองเดียวกันกับการรบที่จะให้บรรลุเป้าหมาย คือชัยชนะ เหมือนกัน จึงอาจใช้ บทที่ ของตำราพิชัยสงครามซุนวู ในเรื่องการประเมินสถานการณ์มาใช้ตรวจสอบ ว่าหน่วยงาน จะ เจริญรุ่งเรืองและบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือไม่ โดยพิจารณาจากปัจจัย ประการ โดย เทียบเคียงได้ดังนี้
     
คุณธรรม สิ่งที่ใช้ตรวจสอบได้ว่าหน่วยงานใด มีคุณธรรมหรือไม่ ดูได้จากการที่ลูกจ้าง พนักงานมีทัศนคติอย่างไร ต่อองค์กรนั้น ถ้ามีการร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่มิเห็นแก่ เหนื่อยยาก แสดงว่าผู้ปกครอง มีการปกครองบังคับบัญชาด้วยความ เป็นธรรม ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง ถือพวกเขา พวกเรา แต่ถ้าผู้ปกครองไม่มีคุณธรรม ขาดเมตตา เล่นพรรคเล่นพวก แล้ว ลูกจ้าง พนักงานก็จะตกอยู่ในสภาพที่ระส่ำระสาย ไม่ทุ่มเทให้กับภารกิจขององค์กร
    
 ดินฟ้าอากาศ ในที่นี้คือ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและเกื้อหนุนการทำงานคือไม่ ร้อนไม่หนาวเกินไป ไม่อยู่ใกล้ ที่มีเสียงอึกทึก ที่ทำงานไม่รกรุงรัง ดู สะอาดตา ไม่อยู่ใกล้ คนจู้จี้ขี้บ่น มีช่วงเวลาเข้าทำงาน เวลาพัก และเวลาเลิกงาน ที่เหมาะสม ถ้าเป็นไปดังที่ กล่าวนี้แล้ว ผู้ที่อยู่ในองค์กรย่อมทำงานอย่างมีความสุข มี ผลงาน หรือผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
     
ภูมิประเทศ ในที่นี้เมื่อเปรียบกับการทำงานในสำนักงานจะหมายถึง อุปสรรคในการ ทำงาน ความยากง่ายของงาน การได้รับการสนับสนุนจากผู้ร่วมงานจากหน่วยข้างเคียงและ ผู้บังคับบัญชา
     
ขุนพล หมายถึงหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ ต้องมีความรู้ ความคิดมีสติปัญญา มีภาวะผู้นำ มีคุณธรรมต้อง เป็นคนร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถชี้แนะการแก้ ปัญหาให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ และไม่กลายเป็นตัวปัญหา เสียเอง
     
กฎระเบียบ กฎข้อบังคับ วินัย การปกครอง การให้ความดีความชอบ และลงโทษ การ เลื่อนขั้น เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง เหล่านี้ ต้องเป็นไปอย่างชัดเจน การประเมินทั้ง ปัจจัย ที่กล่าวมาแล้ว สำหรับการทำงานทั่ว ไป ถ้าปัจจัยต่าง ส่วนใหญ่ เป็นคุณแล้ว องค์กร นั้นย่อมเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน แต่ถ้าปัจจัยส่วนใหญ่เป็นโทษแล้ว หากเป็นบริษัทห้างร้าน ก็เตรียม ล้มละลายได้ในไม่ช้า ถ้าเป็นหน่วยราชการก็คงเต็มไปด้วย Dead Wood ที่กินเงิน เดือนจากภาษีอากรของราษฎรไปวันๆก็ขอจบตำราพิชัยสงครามซุนวูสำหรับ บทนำและบทที่ เพียงเท่านี้ ส่วนบทวิเคราะห์ของผู้เขียนนั้น ท่านจะเห็นพ้อง หรือ เห็นแย้งประการใดก็แล้ว แต่วิจารณญาณ ของท่านผู้อ่าน แล้วพบกันอีกครั้งสำหรับบทที่ ในฉบับหน้าครับ

บทที่ การเข้าสู่สงคราม

     ซุนวู กล่าวว่า "กล่าวโดยทั่วไปของยุทธศาสตร์การใช้กำลังทหาร ถ้ามีรถศึกเทียมม้า
ตัว ,๐๐๐ คัน รถสนับสนุนหุ้มเกราะหนัง ,๐๐๐ คัน ทหารพร้อมเกราะ ๑๐๐,๐๐๐ คน และ
ต้องขนส่งเสบียงเป็นระยะทาง ,๐๐๐ ลี้แล้ว ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายไว้สำหรับการรบทั้งใน
และนอกประเทศ ค่าที่ปรึกษาและการทูตและวัสดุอุปกรณ์ เช่น กาว และยางสน สำหรับซ่อม บำรุงรถรบและเกราะ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องใช้เงินถึงวันละ ,๐๐๐ ตำลึงทอง เมื่อมีทุกอย่าง
ที่กล่าวมาครบถ้วน จึงจะสามารถเคลื่อนทัพที่มีกำลังพล ๑๐๐,๐๐๐ คน เข้าที่ทำการรบได้"
     
ชัยชนะจากการรบที่ใช้เวลายาวนานจะทำให้อาวุธหมดความแหลมคม ขวัญกำลังใจของ
กำลังพลลดต่ำลง ถ้าเข้าตีหักเอาเมือง กำลังพลจะอ่อนล้า การรบถ้ายืดเยื้อ งบประมาณจะ
ไม่พอเพียง
     
เมื่อใดที่อาวุธหมดความแวววาว ขวัญกำลังใจทหารตกต่ำและหมดเรี่ยวแรง ทรัพยากร
ร่อยหรอลง เมื่อนั้น เจ้าครองนครอื่นๆ จะฉวยโอกาสขณะฝ่ายเราอ่อนแอเข้าตีตลบหลังซึ่ง
แม้ว่าฝ่ายเราจะมีขุนพลผู้สามารถ ก็ไม่อาจแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นได้
    
ในการรบแม้จะเคยได้ยินว่า มีการรบชนะเร็ว แต่ได้ผลลัพธ์ไม่สู้ดีนักก็ตาม ก็ยังไม่เคย
ได้ยินว่ามีการรบที่ยาวนานซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดี ไม่มีประเทศใดได้รับผลกำไรจากการรบยืดเยื้อ
ผู้ที่ไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงอันตรายจากการใช้กำลังทหาร ย่อมไม่รู้จริงถึงการใช้ศักยภาพทาง
ทหารให้ได้เปรียบ 
     
ผู้เป็นเลิศในการทหารย่อมไม่เกณฑ์ไพร่พลเข้าทำการรบถึง ครั้ง ไม่มีการส่งเสบียง
ถึง เที่ยว ถ้าใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ ฝ่ายเราและใช้การส่งกำลังในดินแดนข้าศึกแล้ว เสบียง
อาหารของกองทัพจึงจะพอเพียง
     
ประเทศชาติจะยุคเข็ญ เมื่อต้องส่งสัมภาระเป็นระยะทางไกล การขนส่งสัมภาระดั่งนี้
ทำให้ประชาชนเดือดร้อนและยากจนลง
     
ผู้อยู่ใกล้กองทัพจะขายสินค้าด้วยราคาสูง เมื่อสินค้าราคาสูง ประชาชนก็เดือดร้อนทุก
หย่อมหญ้า ความมั่งคั่งสูญสิ้น    เมื่อหมดความมั่งคั่งประชาชนก็มิอาจสนองต่อการระดม
สรรพกำลังของกองทัพได้
     
เมื่อประชาชนหมดเรี่ยวหมดแรงและสิ้นเนื้อประดาตัว    ก็จะโยกย้ายถิ่นฐานออกไป ทรัพย์สินของราษฎรเหลือค่าเพียง ใน ๑๐ ค่าใช้จ่ายในการสงครามจะสูญสิ้นไปกับรถศึก
ที่ถูกทำลาย ม้าที่อ่อนแรง เกราะ หมวกเหล็ก ลูกศร ธนู ทวน หอก โล่ และวัวเทียมเกวียน เหล่านี้คิดเป็นการสูญเงิน ถึง ใน ๑๐
     
ขุนศึกที่ชาญฉลาดจึงมุ่งหาโภคภัณฑ์จากฝ่ายข้าศึก เสบียงข้าศึก หาบ มีค่าเท่ากับ
ของเรา ๒๐ หาบ อาหารสัตว์ข้าศึก ทะนาน มีค่าเท่ากับของเรา ๒๐ ทะนาน
     
กระตุ้นให้ทหารโกรธแค้นเพื่อสังหารข้าศึก ให้รางวัลเมื่อทหารยึดวัสดุอุปกรณ์ของข้าศึก
ได้ ถ้ายึดคร่ารถข้าศึกได้ ๑๐ คัน มอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ยึดคนแรก คัน เปลี่ยนธงรบบนรถ
ข้าศึกเป็นของฝ่ายเรา และนำมาใช้ในการรบ ดูแลเชลยศึกอย่างดี และเกลี้ยกล่อมให้เป็น
พวก เหล่านี้ทั้งหมดคือ การพิชิตศัตรู ชูกำลังฝ่ายเรา
     
ดังนั้นชัยชนะที่มีคุณค่า ย่อมได้มาจากสงครามไม่ยืดเยื้อ ขุนพลที่เจนสงครามจึงเป็นผู้
กุมชะตาของปวงชน ควบคุมความมั่นคงและสกัดภยันตรายที่จะมีต่อประเทศชาติ


บทวิเคราะห์

     ในบทที่ ของตำราพิชัยสงครามซุนวู ในวรรคแรก ได้เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญว่า ใน
การเข้าสู่สงครามนั้น  การเตรียมการด้านต่างๆ ให้พร้อมสรรพก่อนทำการรบทั้งด้านกำลัง
พล วัสดุอุปกรณ์และการเงิน นับเป็นปัจจัยชี้ขาดในผลของการรบ กองทัพที่เคลื่อนพลโดย ขาดการวางแผนที่สมบูรณ์ตามความจำเป็นในข้อเท็จจริงแล้ว ย่อมปล่อยให้ผลการรบเป็น ไปตามยถากรรม
     
หลักการข้างต้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานสมัยปัจจุบันได้โดยอนุโลมเป็นอย่างดี ในการจะปฏิบัติงานตามแผน หรือโครงการใดๆ นั้น เปรียบไปก็เหมือนการเข้าสู่สงครามซึ่ง
ชัยชนะก็คือการให้บรรลุเป้าหมายของงานที่กำหนดไว้ โดยตามตำราสมัยใหม่เกี่ยวกับการ บริหาร กล่าวถึงปัจจัยประกอบการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ คือ คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์ และ การบริหาร กล่าวคือ คนเปรียบเสมือนทหารพร้อมเกราะ  ซึ่งจะต้องเป็นมืออาชีพในงานที่
ตนได้รับมอบหมาย เงิน หมายถึง งบประมาณที่จะต้องได้รับการจัดสรรอย่างพอเพียง  ได้
รับการลำดับความสำคัญที่ถูกต้องเพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารงาน วัสดุอุปกรณ์ คือ พัสดุ
ต่างๆ ที่จำเป็นในการทำงาน ซึ่งเปรียบเสมือนรถศึกและอาวุธต่างๆ และอันสุดท้ายคือ การ
บริหาร ซึ่งหมายถึงผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน ซึ่งเปรียบเสมือนขุนพลผู้ทำการวางแผนงาน
และจัดทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้ให้เหมาะสมถูกต้อง ถ้าหัวหน้างานขาดแผนงานที่ดี บรรจุคน
ไม่ตรงกับงาน หรือไม่พอกับงาน จัดสรรงบประมาณให้ไม่พอเพียง ไม่หาเครื่องไม้เครื่องมือ
ในการทำงานให้ แล้วยังสั่งให้ลุยหน้าทำงานไปให้บรรลุเป้าหมาย นั่นก็เปรียบเหมือน การสั่ง
เคลื่อนทัพ เข้ารบโดยขาดความพร้อม ชัยชนะหรือความสำเร็จที่จะได้คงเป็นแค่การ ฝัน
กลางวัน เท่านั้น
    
ส่วนที่ว่าชัยชนะจากการรบยืดเยื้อ ซึ่งไม่เป็นผลดีนั้น สำหรับการทำงานทั่วๆ ไปแล้ว ผู้
เขียนเห็นด้วยว่าจริง เพราะการทำงานใดๆ ย่อมต้องการผลงานที่รวดเร็ว ยิ่งยืดเยื้อก็สิ้นเงิน
ทองและวัสดุอุปกรณ์ไปมากขึ้นๆ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธทำการรบ
ก็ชำรุดเสื่อมค่าลง ต้องสูญเสียเงินในการซ่อมแซม ผู้ทำงานก็เบื่อหน่ายกับงานที่ไม่รู้จะจบ
เมื่อใด ยิ่งการทำโครงการใหญ่ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนการเข้าตีเมืองแล้ว ยิ่งนานไปผู้ทำงานก็
ยิ่งเครียดและอ่อนล้า เมื่อการทำงานเป็นไปอย่างยืดเยื้อและไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ถ้าเป็นบริษัทก็คงต้องเปลี่ยนหัวหน้างาน ซึ่งเปรียบเสมือน ตัวขุนพลใหม่ อันนี้เปรียบเสมือน
การที่เจ้าครองนครอื่นตีตลบหลัง ขณะที่ฝ่ายเราอ่อนแอแล้วขึ้นมาครองเมืองแทน แต่กรณีนี้
อาจไม่เกิดขึ้นจริงกับงานประเภทข้าราชการ เพราะได้มีการวิเคราะห์กันว่า งานราชการ
เป็นงานที่ไม่กำหนดผลกำไร และ งานที่มั่นคงที่สุดในปัจจุบัน คือ การรับราชการ


ตอนที่ การวางแผนการรุก

     ซุนวูกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว วิธีการใช้กำลังทหารเป็นดังนี้คือ คงสภาพเดิมของเมือง
ข้าศึกไว้นับเป็นการดีที่สุด การทำลายเมืองนั้นพึงหลีกเลี่ยง รักษากองทัพข้าศึกไว้เป็นสิ่ง
ที่ดีที่สุด การทำลายกองทัพข้าศึกยังนับว่าเป็นรอง คงกองร้อยข้าศึกไว้เป็นการดีกว่าที่จะ
ทำลายลงไป และคงหมู่รบข้าศึกไว้นับว่าดีกว่าที่จะทำลายลง ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สรุป
ได้ว่าการได้ชัยชนะร้อยครั้งจากการรบร้อยครั้ง ยังไม่ถือว่าสุดยอดเท่ากับการได้ชัยชนะ
โดยไม่ต้องออกแรงรบ
     
ความสำเร็จสูงสุดในการสงคราม คือ การทำลายแผนของข้าศึก รองลงมาคือ ทำลาย
พันธมิตรของข้าศึก รองลงมาคือ การเข้าโจมตีข้าศึกโดยตรง ที่เลวที่สุดคือ การเข้าโจมตี
ป้อมค่ายข้าศึก ทั้งนี้การเข้าโจมตีป้อมค่าย ควรจะทำเมื่อหลีกเลี่ยงไม่พ้นแล้วเท่านั้น เพราะ
ต้องมีการเตรียมการอย่างมากคือ โล่กำบังขนาดใหญ่ที่เคลื่อนย้ายได้ รถหุ้มเกราะจู่โจม
รวมทั้งอุปกรณ์ปลีกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย การเตรียมการเหล่านี้ต้องใช้เวลาถึง เดือน
และต้องสร้างคันมูลดินที่ใช้เวลาอีก เดือน ขุนพลที่มุทะลุขาดความอดทนรอคอย จะสั่ง
ไพร่พลเข้าโจมตีกำแพงเมืองข้าศึก เหมือนฝูงมดปลวกทำให้ต้องเสียรี้พลทั้งนาย และพล
ทหารถึงหนึ่งในสาม โดยที่ไม่อาจทำลายกำแพงเมืองลงได้ นี่ก็คือหายนะของการเข้าตีป้อม
ค่ายข้าศึก ดังนั้น ผู้เป็นเลิศในการยุทธ์ ย่อมได้รับชัยชนะโดยไม่ต้องเข้าทำการรบ เข้ายึด
ป้อมค่ายข้าศึกโดยไม่ต้องใช้กำลัง และเอาชนะได้โดยไม่ต้องรบยืดเยื้อ สู้รบด้วยจุดหมายสูง
สุดคือ ออมกำลังให้สูญเสียน้อยที่สุด ถ้าทำได้ตามที่กล่าวนี้ อาวุธก็ยังคงความแหลมคม
กำลังพลส่วนใหญ่ยังคงสภาพอยู่ และนี่ก็คือยุทธศาสตร์สำหรับการวางแผนการรุก โดยทั่วไป
แล้วยุทธศาสตร์ในการใช้กำลังทหาร มีดังนี้คือ มีกำลังมากกว่าข้าศึกสิบเท่าให้ล้อม หากมี
มากกว่าห้าเท่าให้เข้าโจมตี มีมากกว่าสองเท่าแบ่งกำลังเข้าโจมตี ถ้ากำลังเสมอกัน ให้จู่
โจมก่อน ถ้ากำลังน้อยกว่าให้ตั้งรับ และถ้ากำลังด้อยกว่าข้าศึกมาก จงหลีกเลี่ยงการปะทะ
การดันทุรังสู้ทั้งที่กำลังน้อยกว่ามากย่อมพ่ายแพ้เสมอ ขุนพลเปรียบเทียบประดุจเสาหลักค้ำ
จุนประเทศชาติ ถ้าขุนพลเป็นผู้ชาญศึก ประเทศชาติจะเข้มแข็ง ถ้าขุนพลไร้ความสามารถ
ประเทศชาติจะอ่อนแอ มีสิ่ง ประการ ที่ผู้ปกครองนำความยุ่งเหยิง มาสู่กองทัพ คือ...
      -
สั่งให้รุกขณะไม่ควรรุก หรือสั่งให้ถอยขณะเป็นต่อข้าศึก ทำให้กองทัพระส่ำระสาย
      -
ไม่เข้าใจในกิจการของกองทัพ แต่สั่งการตามอำเภอใจ หรือสามัญสำนึกของตน
ทำให้เหล่าขุนพลสับสน
      -
ไม่เข้าใจหลักการผสมผสานการใช้กำลังทหารเหล่าต่างๆ ในการดำเนินกลยุทธ์ แต่เข้าแสดงบทผู้บัญชาการ ทำให้เหล่านายทหารเกิดความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ
เมื่อเหล่าทัพต่างๆ ตกอยู่ในสภาพลังเล สงสัย สับสน ไม่แน่ใจ ก็เกิดความระส่ำระสาย
ในกองทัพ ศัตรูก็ฉวยโอกาสนี้เข้ากระทำ และได้รับชัยชนะเป็นต่อฝ่ายเรา...
   
  การนำกองทัพสู่ชัยชนะมีปัจจัย ประการ คือ
     
- รู้ว่าเมื่อใดควรรบ และไม่ควรรบ
     -
รู้จักการออมกำลัง
     -
นาย และพลทหารเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
     -
วางแผนและเตรียมการดี
     -
มีขุนพลผู้ที่สามารถ และไม่ถูกแทรกแซงจากผู้ปกครอง
     
ทั้ง ประการนี้ คือวิถีแห่งชัยชนะ

     จึงมีคำกล่าวว่ารู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง รู้เขา ไม่รู้เรา รบชนะเป็นบางครั้ง
ไม่รู้เขาไม่รู้เรา รบแพ้ทุกครั้ง

บทวิเคราะห์

     ในตำราพิชัยสงครามซุนวู ตอนนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการวางแผนที่ดี ก่อนที่จะนำ
ทัพเข้าสู่สงคราม ซึ่งสามารถนำมา ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานทั่วๆ ไปได้ ดังจะวิเคราะห์
ให้เห็นเป็นส่วนๆ ซุนวูกล่าวไว้ในวรรคแรกของตอนนี้สรุปใจความได้ว่า การได้รับชัยชนะ
ข้าศึกโดยไม่ต้องออกแรงนั้นถือว่าสุดยอด และที่เลวร้ายที่สุดคือ การเข้าตีป้อมค่ายข้าศึก
โดยตรง ซึ่งต้องเสียไพร่พล และทรัพยากรมากมาย และยังไม่อาจมั่นใจในชัยชนะได้
เปรียบเทียบกับการทำงานของกระทรวง ทบวง กรม หรือบริษัทห้างร้านแล้ว ป้อมค่ายของ
ข้าศึกอาจอนุโลมหมายถึง โครงการใหญ่ๆ ที่จะต้องทำให้สำเร็จ และผลสำเร็จที่นับว่า
สุดยอด คือการบรรลุโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ซึ่งการจะได้รับผลดังกล่าวนี้ได้ ขึ้นอยู่กับ
การวางแผน และการจัดการที่ดี ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งได้รับงานชิ้นใหญ่เข้ามาซึ่ง
เปรียบโดยอุปมาแล้ว งานชิ้นใหญ่นี้เหมือนเมืองป้อมปราการของข้าศึก ที่บริษัทจะต้อง
เข้ายึด หรือทำงานนี้ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในการนี้เมื่อรับงานมาแล้ว
ประธานบริษัทเปรียบเสมือนผู้ปกครองประเทศที่จะต้องพิจารณาเลือกคนหรือขุนพลที่
เหมาะสมกับงานชิ้นนี้ให้ทำงาน โดยระบุจุดประสงค์ของงานให้ทราบชัดเจน ผู้รับงานจาก
ประธานบริษัท เปรียบดังขุนพลที่ได้รับมอบหมายภารกิจจากผู้ปกครองประเทศ ให้เข้า
ทำงานตียึดเมืองข้าศึก ซึ่งก็คืองานที่ได้รับมอบหมายนั่นเอง ถ้าประธานบริษัทเลือกคนที่
ถูกต้องเหมาะสมกับงานแล้ว ก็จะได้มืออาชีพซึ่งมีความรู้ในงานเป็นอย่างดี มีการวางแผน
อย่างเป็นระบบ สุขุม รอบคอบ ใจเย็น ไม่วู่วาม และทำงานใหญ่ได้สำเร็จ โดยบริษัทสูญเสีย
ทรัพยากรน้อย และได้ผลกำไรสูง ซึ่งเปรียบดังการยึดเมืองข้าศึกได้โดยละม่อม แต่ถ้าผู้ได้
รับมอบงาน เป็นคนขาดความรู้ วู่วาม ใจร้อน มุทะลุ ขาดการวางแผนที่ดี และมุ่งจะเอาแต่
ความสำเร็จอย่างเร็ว โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย แล้วก็จะต้องมีการระดมทั้งบุคคล เงิน วัสดุ
มาใช้ในงานนี้อย่างมาก จนงานด้านอื่นของบริษัทเสียหาย เปรียบเสมือนการเข้าโจมตีเมือง
ป้อมปราการข้าศึกแบบมดปลวกที่ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างสูงต่อฝ่ายเรา ซึ่งถึงแม้จะได้รับ
ชัยชนะแต่ก็บอบช้ำ และได้แต่ซากเมืองที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้
    
ในส่วนที่ซุนวูกล่าวถึงยุทธศาสตร์การใช้กำลังทหาร โดยเปรียบเทียบจำนวนของฝ่ายเรา
เทียบสัดส่วนกับข้าศึก ที่ว่ามากกว่า ๑๐ เท่าให้ล้อม มากกว่า เท่าให้โจมตี ด้อยกว่าข้าศึก
ให้หลีกเลี่ยง เปรียบได้กับขนาดของงานที่บริษัทรับมาทำ กล่าวคือ บริษัทใหญ่รับงานเล็ก
ย่อมทำงานสำเร็จแน่นอน ในขณะที่บริษัทเล็กเงินทุนไม่กี่ล้าน อาจหาญไปรับงานใหญ่ระดับ
หมื่นล้าน ก็เหมือนกับกำลังน้อยกว่าข้าศึกมาก แล้วยังดันทุรังจะสู้ก็ย่อมพ่ายแพ้ถึงกับบริษัท
ล้มละลายได้ ดังนั้นการที่ประธานบริษัท จะรับงานอะไรต้องประเมินศักยภาพของตนให้
ถ่องแท้เสียก่อนจึงจะรับงานได้
    
สิ่งที่ประธานบริษัท หรือผู้บริหาร จะนำความยุ่งเหยิงมาสู่บริษัท ตามที่ซุนวูกล่าวมาแล้ว
ในบทก่อนๆ คือ การมอบงานให้ขุนพลแล้ว ยังเข้าไปแทรกแซงการทำงาน ซึ่งเกือบจะกลาย
เป็นหลักนิยมในการปฏิบัติของแวดวงราชการปัจจุบันไปซะแล้ว กล่าวคือ
     -
สั่งให้หยุดงานขณะที่งานกำลังคืบหน้าไปด้วยดี ทำให้ลูกน้องผู้ปฏิบัติระส่ำระสายไป
หมด เหมือนขุนพลถูกผู้ปกครองสั่งถอยขณะเป็นต่อ หรือสั่งให้รุกขณะเป็นรองข้าศึก
     -
ไม่เข้าใจงานนั้นจริง แต่สั่งการตามใจชอบตามหลักกู จนผู้ปฏิบัติสับสนละล้าละลัง
เหมือนผู้ปกครองที่ไม่เข้าใจหลักการยุทธ์ แต่อยากเป็นพระเอกไปสั่งการเสียเอง
     -
ไม่เข้าใจวิธีการทำงานในรายละเอียด แต่เล่นบทหัวหน้าคนงานไปสั่งงานซ้อนกับ
หัวหน้างานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้ผู้ปฏิบัติทุกระดับเกิดความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ ว่าจะ
ฟังคำสั่งใครดี เสียทั้งงานทั้งเวลาและกำลังใจของคน

จากการแทรกแซงของผู้ปกครองทั้ง ประการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากเกิดขึ้นใน
บริษัทใด ก็จะมีแต่ความระส่ำระสาย การงานผิดพลาด ทำให้งานนั้นล่าช้า ไร้คุณภาพ หรือ
อาจล้มเหลวไปเลย หลักการที่ชัดเจนของซุนวูจึงสรุปได้ว่าผู้ปกครอง เมื่อมอบภารกิจให้
ขุนพลแล้ว ย่อมไม่เข้าแทรกแซง และปล่อยให้ทำงานอย่างอิสระจนสำเร็จ อย่างไรก็ตาม
ข้อเท็จจริงในการทำงานปัจจุบัน ผู้อ่านอาจเห็นอยู่บ่อยครั้งที่การแทรกแซงงานตามที่กล่าวนี้
เกิดขึ้นเป็นปกติวิสัยจากผู้มีอำนาจเหนือกว่า ซึ่งเกิดแม้กระทั่งกับผู้ที่ชอบกล่าวอ้างถึงตำรา
พิชัยสงครามซุนวูอยู่บ่อยๆ สำหรับเหตุผลนั้น ผู้เขียนขอสรุปง่ายๆ ตามสติปัญญาของตนว่า
เกิดจากอาการที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Egoism หรือ ข้าซิแน่กว่าใครนั่นเอง
     
ดังนั้นปัจจัย ประการ ที่ทำให้งานบรรลุเป้าหมาย คือ
     -
รับงานที่ไม่เกินกำลัง เหมือนกับการรู้ว่าเมื่อใดควรรบ ไม่ควรรบ
     -
วางแผนงานอย่างรอบคอบ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือการออมกำลัง
     -
ประธานบริษัท หัวหน้างาน ลูกน้องผู้ปฏิบัติสามัคคีกัน ต่างฝ่ายต่างรู้หน้าที่ไม่ล้ำเส้นกัน งานก็ราบรื่น
     -
วางแผนเตรียมการดี
     -
เลือกใช้คนให้ถูกกับงาน และความชำนาญ มีความรู้จริงในงานที่มอบหมาย ไม่ใช่
เลือกใช้เพราะการชอบพอเป็นส่วนตัว อาจทำให้เกิดลักษณะเอานักมวยไปร้องเพลง อัดเทป
ขาย ซึ่งขาดทุนให้เห็นกันมาหลายรายแล้ว และผู้มอบหมายงานก็ไม่ควรแทรกแซงงาน
จนผู้ปฏิบัติปั่นป่วนไปหมด Ego นั้นเกิดได้ แต่ก็ควรคุมสติไว้ด้วย
     
ถ้าทำได้ ประการนี้ งานก็สำเร็จราบรื่นแน่นอน จึงขอกล่าวว่า รู้งาน รู้คน งานร้อยชิ้น
เสร็จร้อยชิ้น รู้งาน แต่ไม่รู้คน ทำงานเสร็จเป็นบางชิ้น และไม่รู้งาน ไม่รู้คน ก็มีหวังขาดทุน
เท่านั้นเองครับ

บทส่งท้าย
     Egoism มีไว้เล็กน้อยเป็นพลังขับดันงานที่ดี มีมากเกินไปก็ทำให้ไม่เห็นศีรษะผู้อื่น
สำนักงานก็ปั่นป่วน การงานยุ่งเหยิง ความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเพราะการไม่ตัดสิน
ใจ มากกว่าการตัดสินใจที่ผิดพลาด...

สงครามซุนวู (ตอน )

ซุนวูกล่าวว่า
     
เมื่อครั้งโบราณกาล ผู้ยอดเยี่ยมในการสงคราม ในขั้นแรก ตั้งตนให้อยู่ในภาวะที่ไม่อาจถูกพิชิตได้ เพื่อรอหาจังหวะเข้าทำ การพิชิตข้าศึก
     
การทำตนให้อยู่ในภาวะไม่อาจถูกพิชิตได้ขึ้นอยู่กับตัวเอง แต่การจะพิชิตข้าศึกได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับข้าศึก
     
ดังนั้นจึงมีคำกล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของการพิชิตข้าศึกสามารถเรียนรู้ได้ แต่ ไม่อาจแน่ใจว่าจะใช้อย่างได้ผล
     
เมื่อยังไม่อาจเอาชัยได้ให้ตั้งรับเมื่ออาจเอาชนะได้ให้เข้าโจมตี ภายใต้สภาวการณ์เหล่านี้ การตั้งรับจะมีความแข็งแกร่งกว่า การรุกจะอยู่ในสภาพล่อแหลม
     
ผู้เป็นเลิศในการตั้งรับจะทำตัวประดุจฝังตัวอยู่ใต้บาดาล ผู้เป็นเลิศในการรุกเปรียบประดุจการจู่โจมจากฟากฟ้า ทำได้ ดังนี้จึงสามารถรักษาตัวไว้ได้ และกำชัยอย่างสมบูรณ์
     
การเล็งเห็นชัยชนะซึ่งปุถุชนทั่วไปอาจทราบได้อยู่แล้ว ยังไม่ถือว่าเป็นที่สุดของความเยี่ยมยอด ชัยชนะที่ได้มาอย่าง ห้าวหาญจนคนทั่วไปแซ่ซ้องสรรเสริญ ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นที่สุดของความเยี่ยมยอด
      
ดังนั้นการอุ้มกระต่ายอ้วนได้ ก็ไม่อาจถือได้ว่าแข็งแรง การเห็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไม่อาจถือได้ว่ามีสายตาดี การได้ยินเสียงฟ้าร้อง ก็ไม่อาจ ถือได้ว่าหูไว
      
สมัยโบราณมีคำกล่าวว่า ความ เยี่ยมยอดในการยุทธ์ คือ การพิชิตผู้ที่ง่าย ต่อการถูกพิชิต ดังนั้นชัยชนะของผู้เยี่ยมยอด ในการยุทธ์ จึงไม่ได้หมายไว้ด้วยชื่อเสียง ถึงความฉลาดหรือกล้าหาญ ชัยชนะของบุคคล เหล่านี้จึงปราศจาก ซึ่งความผิดพลาด ผู้ที่ปราศจากความผิดพลาด โดยใช้มาตรการต่าง นำไปสู่ชัยชนะที่ แน่นอน โดยพิชิตผู้ที่อยู่ในสภาวะพ่ายแพ้ อยู่แล้ว
      
ดังนั้น ผู้ยอดเยี่ยมในการยุทธ์ ขั้นแรกตั้งตนให้อยู่ในภาวะที่ไม่อาจพ่ายแพ้และหาโอกาสที่จะเอาชัยต่อข้าศึก
      
ด้วยเหตุผลที่กล่าวนี้ กองทัพที่จะได้รับชัยชนะ ขั้นแรกต้องตระหนักถึงเงื่อนไขแห่งชัยชนะ แล้วหาจังหวะเข้าทำการรบ กองทัพที่มุทะลุบุ่มบ่าม เข้าทำการรบก่อน แล้วจึงแสวงหาชัยชนะ
      
ผู้ที่เยี่ยมยอดในการใช้กำลังทหารผดุงไว้ซึ่งคุณธรรม และกฎหมาย ดังนี้จึงอาจควบคุมไว้ได้ซึ่งชัยชนะ และความพ่ายแพ้
      
ด้วยวิธีทางทหาร สิ่งแรกคือการตรวจวัด สิ่งที่สองคือการประเมิน (กำลัง) สิ่งที่สามคือคำนวณ (จำนวนคน) และชั่ง น้ำหนัก (ความแข็งแกร่ง) การชั่งน้ำหนักที่ถูกต้อง นำมาซึ่งชัยชนะ
     
ดังนั้นกองทัพที่ได้รับชัยชนะเปรียบเสมือนเอาน้ำหนัก ตัน ไปเทียบกับน้ำหนัก กรัม กองทัพที่พ่ายแพ้เปรียบเสมือน เอาน้ำหนัก กรัมไปเทียบกับน้ำหนัก ตัน การรบที่นำไปสู่ชัยชนะ เปรียบเสมือนกระแสน้ำเชี่ยวกราก ที่ไหลบ่ามาจากผา สูงชันนับพันเมตร ยากที่สิ่งใดจะต้านไว้ได้และนี่คือยุทธศาสตร์แห่งการจัดวางกำลัง

วิเคราะห์
     
คำกล่าวที่ว่า ผู้ยอดเยี่ยมในการสงคราม ในขั้นแรกตั้งตนให้อยู่ในภาวะ ไม่อาจถูกพิชิตได้ เพื่อรอหาจังหวะเข้าทำการพิชิต ข้าศึกคำกล่าวนี้เมื่อเปรียบเทียบโดยอนุโลมเข้ากับการทำงานซึ่งเสมือนการ เข้าสู่สงครามใด แล้ว การตั้งต้นให้อยู่ในภาวะ ไม่อาจถูกพิชิตได้ หมายถึงการศึกษาถึงเงื่อนไขต่าง ของงานอย่างถี่ถ้วนรอบคอบทุกแง่ทุกมุม จนได้ข้อยุติที่เด่นชัดแน่นอน ว่าปฏิบัติแล้ว งานต้องบรรลุวัตถุประสงค์แน่นอน จึงลงมือทำงานซึ่งย่อมประสบความสำเร็จ ได้รับชัยชนะต่อข้าศึก (งาน)

คำกล่าวที่ว่า การทำตนให้อยู่ในภาวะไม่อาจถูกพิชิตได้ขึ้นอยู่กับตัวเอง แต่การจะถูกพิชิตหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้าศึก เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแล้ว หมายถึง การปฏิบัติงานเฉพาะของ หน่วยงานใด ตัวอย่างเช่น การซ่อม เครื่องยนต์ ผู้รับผิดชอบย่อมต้องฝึกปรือช่างซ่อม ให้มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้นไปตลอดเวลา ถ้าทำได้ดังนี้แล้ว ไม่ว่าเครื่องยนต์แบบใด รุ่นใดก็น่าจะซ่อมแซมแก้ไขได้เสมอ ก็เหมือนการทำตนให้ไม่อาจถูกพิชิตได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ จะมีการพัฒนาความรู้และทักษะอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเจอปัญหา หนัก เกินกำลังเช่น ช่างซ่อมในอู่รถยนต์จะให้ไปซ่อม เครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์เรือก็คงรับไม่ไหว ถึงแม้จะมีความรู้เรื่องเครื่องยนต์ชนิดนี้อยู่บ้าง ดังนี้ก็เหมือนกับว่าไม่อาจทำงาน ให้สำเร็จ (ถูกพิชิต) เพราะปัญหา (ข้าศึก) ใหญ่เกินความสามารถ
     
ตามที่ยกตัวอย่างนี้เห็นได้ว่าการงานใด สามารถเรียนรู้เอาได้ แต่จะใช้ให้ได้ผลหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทำนองเดียว กับ คำกล่าวว่า ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอดบุคคลลักษณะนี้อาจหาพบได้ง่ายตามสำนักงานทั่วไป พอ กับการเห็นช้างตาม ถนนในกรุงเทพ คุณลักษณะเฉพาะของคนกลุ่มนี้ คือมีประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร วุฒิบัตรเยอะ แสดงว่ามีการฝึกปรือ วิทยายุทธ์มาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การทำงาน (จนแทบไม่ได้ทำงานจริงเลย) ประชาสัมพันธ์ตัวเองเก่ง ตอบปัญหาได้ทุกเรื่อง ถูกบ้าง ผิดบ้าง แต่เมื่อมอบหมายงานให้แล้วมักทำไม่สำเร็จ โดยอ้างว่าไม่ได้รับความร่วมมือบ้าง เงินหรือเครื่องมือ ไม่พอบ้าง ลงท้ายก็ใช้เล่ห์เหลี่ยมเขี่ยงาน ไปให้คนอื่นทำแทน ผู้บังคับบัญชาบางคนอาจชอบคนประเภทนี้ เพราะมีส่วนช่วยเสริม ภาพลักษณ์ที่ดีแก่หน่วย เนื่องจากประชาสัมพันธ์เก่ง ส่วนงานจะเก่งจริงหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    
คำกล่าวที่ว่าเมื่อยังไม่อาจ เอาชัยได้ ให้ตั้งรับ เมื่ออาจเอาชนะได้ ให้เข้าโจมตี ภายใต้สภาวการณ์เหล่านี้ การตั้งรับจะมี ความแข็งแกร่งกว่า การรุกจะอยู่ในสภาพล่อแหลม เปรียบโดยอุปมา หมายความว่า การทำงานใด จะให้สำเร็จลุล่วง ถ้ายัง ไม่พร้อม ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหา หาข้อมูล ประเมินจุดแข็งจุดอ่อน ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ เหล่านี้ต้องพิเคราะห์ให้ถี่ถ้วน ก่อนลงมือทำจริงเปรียบเสมือนการตั้งรับข้าศึก และเมื่อพร้อมแล้วจึงลงมือปฏิบัติงาน (เข้าโจมตี) ก็จะบรรลุผลสำเร็จ อย่าง แน่นอน ในช่วงขณะตั้งรับเพื่อพิเคราะห์แง่มุมต่าง นี้โอกาสพลาดไม่เกิดขึ้น จึงมีความแข็งแกร่ง แต่เมื่อเริ่มปฏิบัติงานจริง (รุก) ต้องระดมทรัพยากรทั้งปวงลงไป และยังมีโอกาสที่จะเพลี่ยงพล้ำได้เสมอ
     
คำกล่าวที่ว่า ผู้เป็นเลิศในการตั้งรับ ทำตัวประดุจฝังตัวอยู่ใต้บาดาล ผู้เป็นเลิศในการรุกเปรียบประดุจเคลื่อนย้าย กำลัง มาจากฟากฟ้า ดังนี้จึงรักษาตัวไว้ได้และกำชัยอย่างสมบูรณ์ เปรียบได้กับการทำงานของคนเก่ง ประเภท ประเภทแรก อาจจะดูคิดช้าทำช้า แต่แท้จริงแล้วคนประเภทนี้ มีความสุขุมละเอียดรอบคอบ ในการทำงาน เป็นอย่างยิ่ง คนภายนอกอาจดู ว่าเขาเป็นคนตัดสินใจช้า แต่เมื่อพิเคราะห์สิ่งต่าง จนถี่ถ้วน และ ลงมือทำแล้ว คนชนิดนี้ก็ทำงานได้สำเร็จด้วยดีทุกครั้งไป คนประเภทนี้เหมาะสม เอาไปทำงานฝ่ายอำนวยการ ช่วยผู้บังคับบัญชาวางแผนหรือแก้ไขปัญหาต่าง ประเภทที่สอง คือ คนเก่งที่คิดไว ทำไว ปากไว และตัดสินใจไว แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี คนประเภทนี้เหมาะเอาไปทำงานออกสนาม หรือเป็น ผู้เจรจาต่อรอง จะช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี แต่คนประเภทนี้ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะความคิดไว ทำไว และถอย ไม่ค่อยเป็น อาจทำให้หน่วยงานเสียค่าใช้จ่ายต่าง มากกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นหน่วยงานใด ควรใช้คนสองประเภทนี้ อย่างผสมผสานให้ได้สัดส่วนที่ดี ก็จะบรรลุภารกิจของงานอย่างราบรื่นเสมอ

การเล็งเห็นชัยชนะซึ่งปุถุชนทั่วไปอาจทราบได้อยู่แล้วยังไม่ถือว่าที่สุดของความเยี่ยมยอด ชัยชนะที่ได้มาอย่างห้าวหาญ จนคนทั่วไปแซ่ซ้องสรรเสริญ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นที่สุดของความเยี่ยมยอด ... การอุ้มกระต่ายอ้วนได้ก็ไม่อาจถือได้ว่าแข็งแรง การเห็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไม่อาจถือได้ว่าสายตาดี การได้ยินเสียงฟ้าร้องก็ไม่อาจถือ ได้ว่าหูไวคำกล่าวในวรรคนี้ของ ซุนวู เป็นคำเตือน ไม่ให้หลงระเริงต่อความสำเร็จอันเป็นเปลือกนอก จนลืมถึงแก่นแท้ของความสำเร็จนั้น โดยปกติแล้ว ปุถุชนคนธรรมดามักยึดติดกับ ลาภ ยศ สรรเสริญว่า เป็นสิ่งแท้จริง และถือว่านั่นคือความสำเร็จอันเยี่ยมยอดของตน ทั้งที่ลาภ ยศ สรรเสริญนี้ อาจได้มาจากการทำงานเพียงเล็กน้อย โชคช่วย หรืออาวุโสมาก หรือได้จากการ ป้อยอเกินจริงของคนอื่น หรือจากบุญเก่าแต่ชาติปางก่อน ฯลฯ เราอาจเคยทราบกันว่า บางคนทำงานฉาบฉวยไม่เป็นแก่นสาร เล่นสนุกไปวัน ยังได้ รับลาภ ยศ สักการะ คำสรรเสริญเยินยอ หรืออยู่ในตำแหน่งสูงเหล่านี้คือสิ่งที่ซุนวูเตือนไว้ มีนัยว่า อย่าหลงลำพองไปว่าตนนั้น เยี่ยมยอด เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นมายา ที่ไม่ใช่แก่นแท้ของงาน คนที่หลงตนว่าตน เยี่ยมยอดนั้น ซุนวูเปรียบประหนึ่ง คนที่อุ้มกระต่ายได้ก็หลงว่าตัวแข็งแรงกว่าผู้อื่น เห็นดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ก็คิดว่าตัว ตาทิพย์ ได้ยินเสียงฟ้าร้องก็ยังคิดว่า ตัวหู ดีกว่าคนอื่น หลักของซุนวูจึงยกย่องผู้ที่ทำงานไม่ผิดพลาด มีหลักการ ฝึกปรือตนให้พร้อมอยู่เสมอ ที่จะทำงานให้ลุล่วง โดยไม่ ผิดพลาด โดยไม่คำนึงถึงสิ่งอันเป็นเปลือกนอกกองทัพที่จะได้ชัยชนะ ขั้นแรกต้องตระหนักถึงเงื่อนไขแห่งชัยชนะ แล้วหา จังหวะเข้าทำการรบ กองทัพที่มุทะลุ บุ่มบ่าม เข้าทำการรบก่อน แล้วจึงแสวงหาชัยชนะ เปรียบกับการ ทำงานแล้ว ประเภทแรก คือการทำงานที่เสาะแสวงหาข้อเท็จจริงทุกแง่มุมของงาน และกำหนดวิธีการที่เหมาะสม แจ่มชัด แล้วปฏิบัติงานนั้น ในช่วง เวลาที่เหมาะสม ย่อมประสบผลสำเร็จเสมอ ส่วนประเภทหลังมักเป็นพวกทำงานแบบลวก สักแต่ว่าทำ ไม่ได้พิจารณา ไตร่ตรองให้ถ่องแท้ แล้วฝากความสำเร็จของงานไว้กับโชคชะตา ถ้าทำไม่สำเร็จก็โทษทุก สิ่งที่อยู่รอบตัว ยกเว้นตัวเอง คนแบบนี้มีลักษณะเด่น คือ ดูเป็นคนคล้ายกระตือรือร้น มักรับอาสารับทำงาน แต่ทำกี่งาน ก็มักจะล้มเหลว เพราะตีกิน เอาหน้าไว้ก่อนเสมอ ไม่ได้คิดจะทำงานจริงจัง

ผู้ที่เยี่ยมยอดในการใช้กำลังทหารผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมและกฎหมาย ดังนี้จึงอาจควบคุมไว้ซึ่งชัยชนะและความพ่ายแพ้ ในแบบของการทำงานแล้ว ผู้เป็นเลิศในการทำงานย่อมดำเนินการงานไปโดยใช้ หลักการและเหตุผล ใช้หลักคุณธรรม ในการให้คุณและโทษ ดังนี้แล้วลูกน้องย่อมศรัทธาและทุ่มเททำงานให้ถวายหัว งานยากลำบากเพียงใดย่อมช่วยทำจนสำเร็จ เสมอ ซึ่งจะต่างกับพวกไร้คุณธรรม ซึ่งมักใช้ ความกลัวของลูกน้องในการทำงาน มักใช้วิธีแบ่งแยกแล้วปกครอง ตัดสินความดี ของผู้ทำงานจากความใกล้ชิด แม้จะเลวอย่างไรก็ว่าดี คนประเภทนี้มักใช้คำพูดว่า ผิดถูกนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของบุคคล ไม่มี อะไรผิดหรือถูกจริง เพราะคำพูดนี้ ทำให้เขาสามารถทำอะไรก็แล้วแต่ ตามที่ตนต้องการได้เสมอ ถ้าพบใครพูดดังนี้ใน สำนักงาน โดยเฉพาะเป็นผู้ใหญ่ด้วยแล้ว หน่วยงานนั้นก็นับว่าน่าสงสาร เพราะคนที่สูงทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ ยังตัดสินว่าอะไร ถูกผิดไม่ได้ เรื่องที่ลูกน้องจะได้รับความเป็นธรรมก็ไม่มีทางเป็นไปได้ ถ้าได้คนอย่างนี้มาเป็นผู้บังคับบัญชา เขาจะไม่มุ่งไปที่ ความสำเร็จของหน่วยงาน แต่จะมุ่งไปที่ความพึงพอใจของตนเองเป็นใหญ่ ใช้ตนเองเป็นศูนย์กลาง ผลสุดท้ายงานของหน่วย ก็ไม่ไปสู่เป้าหมาย คือประสบความพ่ายแพ้ มีแต่เขาคนเดียวเท่านั้นที่ได้ชัยชนะ
     
ด้วยวิธีทางทหาร สิ่งแรกคือ การตรวจวัด สิ่งที่สองคือประเมิน (กำลัง) สิ่งที่สามคำนวณ (จำนวนคน) ชั่งน้ำหนัก (ความแข็งแกร่ง) การชั่งน้ำหนักที่ถูกต้อง นำมาสู่ชัยชนะ
     
ซุนวูสรุปบทสุดท้ายได้อย่าง กระทัดรัดเป็นขั้นตอน ซึ่งนำมาประยุกต์กับการทำงานใด ได้ว่า ) การตรวจวัด ก็คือการ เก็บข้อมูลต่าง ที่เกี่ยวข้องกับงานถัดมา ) ประเมินกำลัง คือ ดูขีดความสามารถ และทรัพยากร องค์ความรู้ที่มีอยู่ ว่าทำงาน นั้นได้หรือไม่ จากนั้น ) คำนวณออกมาเป็นทรัพยากรและคนที่ต้องใช้ ทำงานนั้นเมื่อครบถ้วน ขั้นตอนแรกแล้ว ก็ชั่งน้ำหนักดูว่าโอกาสสำเร็จหรือไม่สำเร็จ มีมากน้อยเพียงใด ถ้าโอกาสสำเร็จมีมากกว่าทำไปแล้วย่อมได้ผลลัพธ์ที่ดี ถ้าประเมินถูกต้องมากแล้ว เปรียบกับการเอาน้ำหนักมากไปวางบนตราชูเทียบกับน้ำหนักน้อย (ล้มเหลว) แล้วย่อมได้ ความสำเร็จเสมอ
    
ต่าง ที่กล่าวมาแล้วคือ ยุทธศาสตร์แห่งความสำเร็จ ซึ่งต้องเพียบพร้อมไปด้วยการวางแผน และการดำเนินงานที่ดี     งานการจึงจะประสบความสำเร็จเสมอ......./
    
การวางแผนทางทหารนั้น ผู้บังคับบัญชาต้องกำหนดภารกิจของตนให้ชัดเจน

ตำราพิชัยซุนวู (ตอน )


ยุทธศาสตร์ของอำนาจทางทหาร

      ซุนวู กล่าวว่า : กล่าวโดยทั่วไปแล้ว การปกครองคนหมู่มากก็เหมือนกับการปกครองคนกลุ่มน้อย ที่ต้องใช้หลักของ การบริหารและจัดการ การบัญชาทัพใหญ่ก็เหมือนกับการบัญชาทัพเล็กจะต้องมีการจัดแบ่งองค์กร และกำหนดหน้าที่
     
การใช้กำลังขนาดใหญ่ทั้ง เหล่าทัพเข้าสู้รบข้าศึกให้ได้รับชัยชนะนั้น ต้องใช้วิธีการรบทั้งตามแบบและนอกแบบ
     
เมื่อใช้วิธีการรบข้างต้นเข้าต่อสู้ข้าศึกแล้ว เปรียบดังการเอาก้อนหินทุบไข่ อันเป็นผลจากการเลี่ยงจุดแข็ง เข้าตีจุดอ่อน
     
โดยทั่วไปแล้วการสงครามมักดำเนินไปตามแบบ ส่วนชัยชนะได้มาจากปฏิบัติการรบนอกแบบ ผู้ที่เป็นเลิศในการรบ นอกแบบนั้น จักสู้รบได้อย่างยืดเยื้อ อย่างมิเหนื่อยหน่าย เหมือนมีพลังพิเศษไม่หมดสิ้น ประดุจดังแม่น้ำสายใหญ่ ที่ไหลบ่า ไม่ขาดสาย การรบพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปไม่จบสิ้น เหมือนดังดวงเดือนข้างขึ้นสลับข้างแรม ดวงตะวันที่ขึ้นและตกสลับกัน หรือฤดูกาลทั้งปวงที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็นวัฏจักร
     
ห้าเสียงดนตรีผสมผสานกันเป็นเพลงไม่ถ้วนทำนอง แม่สีมีเพียงสาม ผสมกันได้นับล้านสี รสชาติเพียงห้าปรุงแต่ง เป็น อาหารได้หลากรส ในการสงครามนั้น ยุทธศาสตร์การจัดกำลังมีเพียงสำหรับ การรบตามแบบและการรบนอกแบบ ซึ่งอาจ ผสมผสานกันเป็นแผนการรบอันหลากหลายไม่รู้จบ การรบทั้งตามแบบและ นอกแบบจึงต่างส่งเสริมซึ่งกันและกัน เหมือน วัฏจักรที่หาจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้
     
ยุทธศาสตร์การจัดกำลังที่ดี ประดุจดังเช่นสายน้ำไหลจากผาสูงที่สามารถเคลื่อนย้ายก้อนหินขนาดใหญ่ เสมือนดัง เหยี่ยวที่ โฉบลงใช้กรงเล็บจับเหยื่อได้อย่างแม่นยำ ผู้ที่ยอดเยี่ยมในยุทธศาสตร์การจัดกำลังต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ขีดจำกัดตนเอง ยุทธศาสตร์การใช้กำลังที่กำหนดขึ้นอย่างดี จึงเหมือนดั่งสายธนูที่เหนี่ยวจนสุดล้า พร้อมจะปล่อย ลูกธนูออกไป ในห้วงเวลา ที่เหมาะสม
     
การสู้รบที่ซับซ้อนและยุ่งยากแม้ทำให้เกิดความสับสน ก็มิควรเกิดความ ระส่ำระสาย ในภาวะโกลาหลอลหม่าน หากยังรักษา รูปกระบวนทัพไว้ได้ ก็ยังอาจคุมชัยชนะไว้ได้
     
ความสับสนเป็นบ่อเกิดของการควบคุม ความกลัวเป็นบ่อเกิดของความกล้า ความอ่อนแอเป็นบ่อเกิดของความเข้มแข็ง กองทัพ จะเรียบร้อยหรือวุ่นวาย ขึ้นอยู่กับการจัดกำลังพล จะกล้าหาญหรือขลาดกลัว ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์การวางกำลังจะ เข้มแข็งหรืออ่อนแอขึ้นอยู่กับการใช้กำลัง
     
ผู้เป็นเลิศในการรบย่อมเป็นฝ่ายควบคุมสถานภาพของข้าศึกให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ และเป็นฝ่ายเข้ากระทำ ทำให้ ข้าศึกอ่อนแอจนถึงฐานราก แล้วกำจัดให้สิ้นซาก
     
ผู้เป็นเลิศในการสงครามจึงแสวงหาชัยชนะได้จากยุทธศาสตร์การจัดกำลัง มิใช่ได้จากการเล่นพรรคเล่นพวก ด้วยเหตุนี้ เขาจึงมีอิสระในการเลือกเป็นผู้มีความสามารถ และใช้ยุทธศาสตร์การจัดกำลังได้
     
ผู้ที่ใช้ยุทธศาสตร์การจัดกำลัง ย่อมอยู่ในสถานภาพที่สามารถควบคุมคนในสนามรบได้ราวกับว่าเคลื่อนย้ายท่อนซุง หรือ ก้อนหินใหญ่โดยไม่ต้องออกแรง โดยธรรมชาติของท่อนซุงและก้อนหินย่อมอยู่นิ่งบนพื้นราบ และเคลื่อนที่เมื่ออยู่ บนพื้นลาด เอียง ทั้ง สิ่งนี้เมื่อรูปทรงเป็นเหลี่ยมก็หยุดนิ่ง เมื่อกลมเกลี้ยงก็กลิ้งไปได้ ดังนั้นยุทธศาสตร์การใช้กำลัง ของผู้เป็นเลิศ ใน การใช้คนเข้าทำการรบ ก็เปรียบเสมือนหินกลมที่กลิ้งลงมาจากผาสูงนับเป็นเมตร ซึ่งอำนาจรุนแรงยิ่ง และนี่ก็คือ ยุทธศาสตร์ ของการจัดวางกำลัง 


วิเคราะห์

     ในตอนนี้ ซุนวูกล่าวถึงยุทธศาสตร์ของการใช้กำลังซึ่งเป็นการมองภาพใน มุมกว้างของการจัดกำลังเข้าทำการรบ ซึ่งก็คือ การกำหนดยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่ชัยชนะ ที่ผู้กำหนดจะต้องเป็นผู้ที่มีสายตายาวไกล มองเห็นผลที่จะเกิดขึ้น จากการวาง ยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน
     
คำกล่าวที่ว่า การปกครองคนหมู่มากก็เหมือนกับการปกครองคนหมู่น้อย การบัญชาทัพใหญ่ก็เหมือนกับการบัญชาทัพเล็ก เปรียบเทียบกับการทำงานแล้ว การที่มีคนตั้งแต่ คน มาร่วมทำงานใด แล้ว ต้องมีการบริหาร และจัดการเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยเสมอ กล่าวคือ แต่ละคนต้องได้รับการกำหนดหน้าที่ และจัดแบ่งงานให้ทำอย่างเป็นสัดส่วน ถ้าไม่มีการจัดการที่ดีแล้ว แต่ละคนก็จะทำงานตามอำเภอใจตนเอง ซึ่งนำไปสู่ข้อขัดแย้ง สับสน ยิ่งมีผู้ร่วมงานในหน่วยเดียวกันมากขึ้น การบริหาร จัดการก็ยิ่งซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ต้องมีการกำหนดสายการบังคับบัญชาในระหว่าง กลุ่มคนทำงานขึ้นมาอีก อย่างไรก็ตาม เมื่อ พิจารณาโดยหลักการแล้ว การทำงานของคนหมู่มากหรือคนกลุ่มเล็ก ก็มีลักษณะเหมือนกัน คือ ต้องมีหัวหน้างาน การกำหนด หน้าที่ การจัดแบ่งงาน และสายงาน
     
คำกล่าวที่ว่า การใช้กำลังขนาดใหญ่ทั้ง เหล่าทัพเข้าสู้รบข้าศึกให้ได้รับชัยชนะนั้น ต้องใช้วิธีการรบทั้งตามแบบ และ นอกแบบ ถ้าเปรียบการทำงานเหมือนกับการเข้าสู่สงครามแล้ว อาชีพ การงานไม่ว่าแขนงใดก็ตาม ก่อนที่จะเข้าสู่การทำงาน จริง ย่อมต้องมีการศึกษาอบรมวิชาการในแขนงนั้นให้ถี่ถ้วน เช่น การศึกษาด้านวิศวกรรม การแพทย์ การบัญชี การเกษตร ต่าง เหล่านี้มี การจัดการศึกษาไว้ให้เป็นแบบแผนแน่นอน แต่เมื่อ เข้าสู่สนามการทำงานจริงแล้ว ทุกคนจะ พบว่าวิชา ตามแบบแผนที่ร่ำเรียนกันมานั้น เป็นเพียงพื้นฐานกว้าง ที่ไม่ครอบคลุมรายละเอียดของงานที่ได้ประสบเสียทั้งหมด จำเป็นต้องมีการพลิกแพลง นอกแบบแผนที่ร่ำเรียนมา ซึ่งใครจะทำได้ดีเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับเชาว์ปัญญาของแต่ละคน ซึ่งเห็น ได้ว่าคล้ายคลึงกับการรบจริงในสนามรบ ที่ต้องใช้การรบตามแบบ เช่น ทหารราบ ปืนใหญ่ รถถัง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมี หน่วยรบพิเศษนอกแบบมาช่วยเสริมให้บรรลุผลดีขึ้น


 การผสมผสานการทำงานทั้งตามแบบ (ตำรา) และนอกแบบ (นอกตำรา) จึงเป็นการใช้กลวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน ทำให้งาน ยากกลายเป็นงานที่ง่าย ซึ่งซุนวูกล่าวว่าบรรลุผลดัง การเอาก้อนหินไปทุบไข่
     
คำกล่าวที่ว่า สงครามมักดำเนินไปตามแบบ ส่วนชัยชนะได้มาจากการรบนอกแบบ นั้น หมายความว่ากิจการงาน ใด โดยทั่วไปแล้ว มักดำเนินไปในลักษณะของงานประจำที่มีแบบแผนวางไว้ เห็นได้ ชัด ตัวอย่างเช่น เรามาทำงานทุกเช้า และกลับในตอนเย็นกันทุก วัน อันเป็นแบบแผนตายตัว แต่ในห้วงของการทำงานนั้น ปัญหาของงานเรื่องเดียวกันใน แต่ละวัน อาจแตกต่างกันไปในรายละเอียด ซึ่งผู้ไม่มีหัวพลิกแพลงไม่อาจแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ ในขณะผู้ที่เฉลียวฉลาด อาจคิด วิธีอันพิศดาร มาแก้ปัญหาไปได้ ดังนั้นผู้มีสติปัญญา จึงอาจแก้ปัญหาได้ไม่มีติดขัดเปรียบเหมือนผู้สามารถทำการรบนอกแบบ ย่อมไม่มีขีดจำกัดในการทำงาน สามารถปรับตัวไปมาได้เช่นเดียวกับการเกิดข้างขึ้นข้างแรม หรือการหมุนเวียน เปลี่ยน ฤดูกาลที่ไม่มีสิ้นสุด ผู้เป็นเลิศในการทำงานใด จึงเปรียบเสมือนทั้งนักดนตรี ช่างเขียนภาพสี หรือ แม่ครัว ที่ผสมผสาน ของไม่กี่สิ่ง เช่น เสียงดนตรีทั้งห้า สีทั้งสาม และรสทั้งห้า ออกมาได้สอดคล้องกลมกลืนเป็นเพลงไพเราะ สีที่สวยงาม หรือ อาหารเลิศรสได้เสมอ 
    
ซุนวูเน้นย้ำถึงการใช้คนให้ถูกกับงานอย่างยิ่ง จึงกำหนดให้การจัดกระบวนทัพ ต้องมียุทธศาสตร์การจัดกำลังที่ดี และ เหมาะสมให้ผู้บังคับบัญชากำหนดภารกิจของตนให้ชัดเจน รู้ขีดจำกัดของหน่วย ดังนั้น เมื่อมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ดีตรงไป ตรงมาแล้ว ผลงานที่ได้ก็จะออกมาดียิ่ง เหมือนกับธนูที่หลุดจากแล่งไปสู่เป้าหมาย ในห้วงเวลาที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี แม้จะมี การกำหนดยุทธศาสตร์ที่ดีไว้แล้วบางครั้งงานที่ซับซ้อนยุ่งยากก็ใช่จะทำได้สำเร็จง่ายดายนัก อันอาจทำให้เกิดความสับสน แต่ถ้ายังรักษารูปกระบวนไว้ได้ และมุ่งมั่นทำต่อไปก็ยังอาจที่จะบรรลุผลสำเร็จของงานได้เสมอ
     
คำกล่าวที่ว่า ความสับสนเป็นบ่อเกิดของการควบคุม ความกลัวเป็นบ่อเกิดของความกล้า หมายถึงเมื่อเกิดปัญหา ใน การทำงานในเบื้องต้น ปุถุชน คนธรรมดาจะเกิดความกลัว หรือความสับสนก่อน แต่คนที่มีสติปัญญาย่อม รวบรวมสติ ให้หลักการและเหตุผลแก้ปัญหาได้เสมอ เหมือนกับที่กล่าวกันว่า สงครามสร้างวีรบุรุษหรือ การใช้วิกฤติใช้เป็นโอกาส ที่เราเอ่ยถึงกันเสมอ ในปัจจุบัน
      
ซุนวูจึงสรุปใน วรรคสุดท้ายว่า ชัยชนะที่จะเกิดขึ้นจากการทำกิจการใด ย่อมเกิดจากยุทธศาสตร์การจัดกำลังที่ดี การคัดเลือกผู้มีความสามารถแท้จริง ซึ่งถ้าผู้นำหน่วยคนใดสามารถทำอย่างนี้ได้อย่างตรงไปตรงมาแล้ว ก็จะนำหน่วยไป สู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้เสมอ

ตำราพิชัยซุนวู (ตอน )

ตอนที่ การรู้ตื้นลึกหนาบาง

     กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ผู้ถึงสมรภูมิก่อนจะอยู่ในฐานะได้เปรียบ ผู้ถึงทีหลังจะ ฉุกละหุก เพราะต้องรีบร้อนจนอ่อนล้า และ อิดโรย ฉะนั้นผู้เป็นเลิศในการสงครามจึงเป็นฝ่ายควบคุมสถานการณ์ มิใช่ถูกควบคุมโดยฝ่ายตรงข้าม
     
การหลอกล่อข้าศึกให้อยู่ในสถานะที่เราต้องการ ด้วยการใช้ผลประโยชน์เป็นเหยื่อล่อ ป้องกันมิให้ข้าศึกอยู่ในสถานะ ที่เราไม่ประสงค์ ด้วยการสำแดงภัยให้เห็น
     
ฉะนั้นเมื่อข้าศึกหยุดพักให้ก่อกวน ข้าศึกอิ่มหนำให้อดอยาก ข้าศึกตั้งมั่นทำให้เคลื่อนย้าย รักษาสภาวะให้เหนือกว่าข้าศึก เสมอ จนผู้ใดไม่อาจคาดหมายได้
     
การเคลื่อนทัพนับพันโยชน์ได้อย่างไม่ยากเย็น ก็ด้วยการใช้เส้นทางปลอดผู้คน เพื่อให้มั่นใจในการโจมตีว่าจะบรรลุผล ให้โจมตีตรงจุดที่ไร้การป้องกัน เพื่อการ ตั้งรับอย่างได้ผล ให้ตั้งมั่น ตำแหน่งที่ข้าศึกไม่อาจเข้าโจมตี
     
ฉะนั้นผู้เป็นเลิศในการโจมตี จึงทำให้ข้าศึกไม่อาจกำหนดแนวตั้งรับได้ ผู้เป็นเลิศในการตั้งรับทำให้ข้าศึกไม่อาจกำหนดจุดเข้าโจมตีได้ เหล่านี้ คือความแยบยลไร้รูปแบบตายตัว ล้ำลึกจนสุดหยั่งถึง ทำได้ดั่งนี้แล้วจึงสามารถกำหนดชะตากรรมของข้าศึกได้
     
รุกคืบอย่างง่ายดายด้วยการโจมตีจุดไร้การป้องกัน ล่าถอยอย่างไม่เสียรูปขบวน ด้วยความเร็วที่เหนือกว่า ดังนั้นเมื่อจักเข้า ทำการรบ แม้ว่าข้าศึกจะอยู่ในป้อมค่ายสูง มีคูลึกขวางกั้น ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการปะทะได้ เพราะถูกโจมตี จุดที่จำเป็นต้อง ป้องกัน
     
ถ้าไม่ประสงค์จะต่อกร กับข้าศึก แม้ขีดเส้นเดียวลงบนพื้นก็ป้องกันฝ่ายเราไว้ได้ เพราะข้าศึกเบนความสนใจไปทางอื่น
ฉะนั้น ถ้าทำให้ข้าศึกต้องวางกำลังตามความต้องการของฝ่ายเรา แต่ข้าศึก ไม่รู้ถึงการวางกำลังของเรา      ดังนี้แล้วฝ่ายเราจึงรวมกำลังได้เข้มแข็ง ฝ่ายข้าศึกต้องกระจายกำลังออก ฝ่ายเราจึงรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว ส่วนข้าศึกต้อง แยกกำลังออก นับสิบส่วน การโจมตีของเราจึงทรงพลังเป็นสิบเท่า ฝ่ายเราจึงมีกำลังมาก แต่ฝ่ายข้าศึกมีกำลังน้อย ถ้าเอากำลัง มากเข้าโจมตีกำลังน้อย ฝ่ายถูกโจมตีย่อมพ่ายแพ้อย่างยับเยิน
     
ปกปิดไม่ให้ข้าศึกทราบจุดที่เราจะเข้าตี ข้าศึกจึงต้องเตรียมป้องกันหลายจุดพร้อมกัน จำเป็นต้องกระจายกำลัง แต่ละจุด จึงเหลือกำลังเพียงน้อยนิด ดังนั้นถ้าข้าศึกเตรียมรับมือด้านหน้าด้านหลังก็เหลือคนเพียงเล็กน้อย ถ้าเตรียมรับมือปีกซ้าย ปีกขวาก็เหลือคนเบาบาง ถ้าข้าศึกวางกำลังป้องกันทุกด้าน ก็แทบไม่เหลือกำลังป้องกันแต่ละจุดเลย ฝ่ายกำลังน้อย จะตก เป็นฝ่ายตั้งรับ ฝ่ายกำลังมากจะเป็นฝ่ายรุก
     
ถ้ารู้สมรภูมิและวันเวลาเข้าทำการรบ ย่อมสามารถเดินทางนับพันโยชน์ไปรบกับข้าศึกได้ แต่ถ้าไม่รู้สมรภูมิ ไม่รู้วันเวลาที่ จะรบแล้ว ทั้งปีกซ้าย ปีกขวา กองหน้า และกองหลัง ย่อมไม่อาจสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ แล้วจะรบไกลหลายสิบโยชน์ หรือ ไม่กี่โยชน์ได้อย่างไร แม้ข้าศึกจะมีกำลังมาก ก็ไม่อาจคาดหวังว่าจะรบกับเราให้ได้รับชัยชนะได้ ฉะนั้นฝ่ายเราจึงอาจบรรลุ ชัยชนะได้ แม้ข้าศึกจะมีกำลังมากกว่า ถ้าสามารถทำให้ข้าศึกอยู่ในสถานะที่ไม่อาจรบได้
     
พึงพิเคราะห์ให้ถ่องแท้เพื่อประมาณ สถานการณ์ให้รู้ผลได้ผลเสีย หยั่งเชิงข้าศึก ให้รู้รูปแบบการเคลื่อนกำลังและกลยุทธ์ ตรวจสอบการวางกำลังข้าศึก ให้รู้ภูมิประเทศ ที่เป็นจุดเป็นจุดตาย สืบให้รู้ปัจจัยส่วนขาด ส่วนเกินของข้าศึก 

สุดยอดของการใช้กำลังทหารเข้า ทำการรบคือการไร้รูปแบบ เมื่อไร้ซึ่งรูปแบบ แม้จารชนที่ฝังตัวอยู่กับฝ่ายเรา ก็ไม่อาจ ล่วงรู้ แผน ผู้มีปัญญาก็ไม่อาจวางแผนเข้าต่อกรกับฝ่ายเราได้
     
เมื่อพิเคราะห์การจัดวางกำลังของข้าศึก เราอาจทุ่มพลังที่เหนือกว่าเข้าต่อสู้จนได้ชัยชนะ อย่างไรก็ตามพลังที่เหนือกว่า ก็ไม่ช่วยให้รู้ตื้นลึกหนาบางฝ่ายข้าศึก แม้เราจะรู้ถึงรูปแบบการวางกำลังที่จะทำให้เราได้ชัยชนะ แต่ก็ไม่อาจหยั่งรู้ถึง รูปลักษณ์ที่เป็นตัวควบคุมชัยชนะนั้น ดังนั้นยุทธศาสตร์ สำหรับชัยชนะในสงครามจึงต้องไม่ซ้ำซาก แต่จะต้องตอบสนอง ต่อสถานะของข้าศึกที่เปลี่ยนแปลงไป และต้องปรับเปลี่ยนไปได้ ไม่รู้จบ
     
การใช้กำลังทหารเปรียบดังน้ำซึ่งไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง มุ่งเข้าหาที่ว่างเปล่า เปลี่ยนรูปลักษณ์ไปตาม ภูมิประเทศที่ไหลผ่าน เฉกเช่นเดียวกับกองทัพที่ครองความเหนือกว่าและยึดกุม ชัยชนะไว้ได้ตามการเปลี่ยนแปลงของศัตรู ดังนั้นการกำหนดยุทธศาสตร์ในการใช้กำลังจึงไม่มีรูปแบบตายตัวทำนองเดียวกับน้ำ ที่ไม่มีรูปทรงแน่นอน ผู้ที่สามารถ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้ได้รับชัยชนะตามการเปลี่ยนแปลงของข้าศึก จึงถือว่าล้ำลึก เปรียบเสมือน ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ไม่มีธาตุใด เหนือกว่าธาตุอื่นอย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับ ฤดูกาลทั้งสี่ที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป เหมือน ดังแสงตะวันที่บางวันยาว บางวันสั้น เหมือนดวงจันทร์ที่เว้าแหว่งไม่เท่ากัน ในแต่ละวัน

 วิเคราะห์
     
ในบทนี้ซุนวูได้กล่าวอย่างยืดยาวถึงวิถี แห่งชัยชนะในสงครามที่มีนัยพอสรุปได้ว่า การที่จะให้ได้ชัยชนะนั้น ต้องมี การ เตรียมการวางแผนที่ดี และมีความสามารถที่จะปรับเปลี่ยนแผนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา
     
ในวรรคแรกที่ซุนวูกล่าวว่าผู้ไปถึงสมรภูมิก่อนจะอยู่ในฐานะได้เปรียบ ผู้ไปถึงทีหลังจะฉุกละหุกและอ่อนล้า เปรียบกับ การทำงานแล้ว ผู้ที่มีการเตรียมตัวดี มีการทำงานเสียอย่างเนิ่น ไม่รอให้งานรัดตัว ย่อมประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น ตัวอย่างเช่น ถ้าเราได้รับมอบหมายงานมาชิ้นหนึ่งที่ต้องทำให้สำเร็จภายใน เดือน แล้วรีบดำเนินการไปเลย โดยไม่รอเวลา ครบกำหนดส่งมาถึง ย่อมสามารถที่จะทำงานนั้นให้เรียบร้อยลุล่วงไปด้วยดีอย่างสบาย แล้วยังมีเวลาเหลือพอ ที่จะแก้ไข ปัญหานั้น ที่ยังอาจมีข้อบกพร่องได้อีก แต่สำหรับผู้มีนิสัยทำงานแบบจุลกฐินหรือเช้าชามเย็นชาม มักจะทอดเวลา ให้ใกล้ถึง กำหนดส่งงาน เสียก่อน จึงรีบร้อนทำงานอย่างลวก พอให้เสร็จ ทั้งฉุกละหุกและอ่อนล้า ซึ่งเป็นลักษณะปกติ ของปุถุชน คน ธรรมดาทั่วไปที่มักจะทำงานในลักษณะนี้ จนมีคำกล่าวว่างานมักจะขยายตัวออกไปจนเต็มเวลาที่มีอยู่ดังนั้น ผู้ทำงานเสีย แต่ เนิ่น จึงเปรียบเสมือนผู้เข้าสมรภูมิก่อน ที่สามารถควบคุมความสำเร็จของงานไว้ในกำมือ แทนที่จะถูกงานเป็น ฝ่ายควบคุม
     
การทำข้าศึกให้อยู่ในสถานะที่เราสามารถจัดการได้ง่าย เปรียบกับการ ทำงานแล้วก็คือการศึกษางานนั้น อย่างถี่ถ้วน ในทุกแง่ทุกมุม จนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทำให้ฝ่ายเรามีความล้ำหน้ากว่างานในความรับผิดชอบ หรือล้ำหน้ากว่าข้าศึก อยู่ตลอดเวลา หลักเกณฑ์ที่ซุนวูกล่าวว่าข้าศึกพักให้ก่อกวน อิ่มให้หิว หยุดให้เคลื่อนย้ายนี้ เมาเซตุง อดีตผู้นำพรรค คอมมิวนิสต์จีนได้ดัดแปลงไปใช้ในการต่อสู้กับฝ่ายก๊กมินตั๋ง ในสงครามปลดแอก อย่างได้ผล โดยสรุปเป็นหลักการสั้น ว่าเอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่ เอ็งแย่ข้าตี เอ็งหนีข้าตาม
     
ที่ซุนวูกล่าวว่าเคลื่อนทัพนับพันโยชน์ไม่เหนื่อยล้า โดยใช้เส้นทางปลอด ผู้คนเปรียบกับการทำงานก็คือ แก้ปัญหาการงาน โดยเริ่มจากจุดที่ง่ายไปหายาก เป็นลำดับ ก็เหมือนการโจมตีข้าศึก จุดที่ขาดการป้องกัน ย่อมได้ผลดีกว่าการ โจมตีจุดแข็ง ที่ทั้งเหน็ดเหนื่อยและสูญเสีย โดยไม่จำเป็น

สำหรับการตั้งรับอย่างได้ผล ให้ตั้งมั่น ตำแหน่งที่ข้าศึกไม่อาจเข้า โจมตี คือ การฝึกหัดศึกษาหาความรู้ ในหน้าที่การงาน อย่างสม่ำเสมอ ย่อมสามารถรับมือกับงานต่าง ที่เข้ามาได้เสมอ ก็เหมือนกับการตั้งมั่นรับมือข้าศึก ตำแหน่งที่ไม่อาจ เข้าโจมตีได้
     
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวันย่อมผิดแผกแตกต่างกันไป ทั้งในด้านเงื่อนไขและเวลา ผู้เป็นเลิศ ในการทำงาน ย่อมพลิกแพลงพิจารณาแก้ปัญหาได้เสมอ ทำได้ดังนี้แล้วจึงนับว่ามีความแยบยล ล้ำลึก ไร้รูปแบบตายตัว ผู้สามารถแก้ไข สถานการณ์ได้ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าปัญหาจะยากง่ายเพียงใด จึงถือว่าเป็นเลิศ
     
ที่ซุนวูกล่าวว่า ถ้าไม่ประสงค์จะต่อกรกับข้าศึก แม้ขีดแนวบนพื้นเพียงเส้นเดียว ก็อาจป้องกันฝ่ายเรา ไว้ได้เปรียบกับ การทำงานแล้วผู้เฉลียวฉลาดย่อมมีขีดความสามารถในการประเมินตนว่ารับงานได้หนักสุดเพียงใด เพราะคน ไม่ใช่เทวดา ที่จะเสกเป่าปัญหาทุกเรื่องให้ลุล่วง ไปได้ ถ้ามีปัญหาบางอย่างที่เกินกำลังแล้ว ก็ไม่ควรจะรับงานนั้น เพราะผู้มีความคิด ย่อม สำนึกรู้ได้อยู่แล้วจะทำงานนั้นได้บรรลุผล หรือไม่ เปรียบประดุจการขีดเส้นเพียง เส้นเดียวลงบนพื้น คือไม่รับงานนั้น ก็สามารถจะหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของตนหรือหน่วยงานได้ แต่สำหรับผู้เบาปัญญาที่ประเมินกำลังตนไม่ถูก หรือมี EGO สูงแล้ว มักจะรับงานนั้นไว้ก่อน ทำได้ไม่ได้ ค่อยมาคิดทีหลัง บางทีก็มีเหตุผลเพียงเพื่อเอาหน้าไว้ พอรับงานมาแล้วก็ลำบาก ทั้งตนเอง และลูกน้อง สูญเสียทรัพยากรของหน่วยไปไม่รู้เท่าใด แล้วในที่สุดก็ทำงานนั้นไม่สำเร็จ ก็ไปลงกับผู้ใต้บังคับบัญชา ว่าไม่มีคุณภาพ หรือไม่ให้ความร่วมมือ โดยไม่ทันดูว่าตนเองนั้นประเมินสถานการณ์ผิดพลาดหรือไม่ เรื่องทำนองนี้อาจเกิด ขึ้นได้แม้กับผู้มีความรู้สูง โดยเฉพาะพวกที่คิดว่าตนเองฉลาดกว่าผู้อื่น และมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง เข้าทำนองมีความรู้ แต่ขาดปัญญา
     
ในการทำงานนั้นถ้าประเมินกำลังของตนอย่างถูกต้อง มีเป้าหมายของงานชัดเจนไม่สับสน ก็สามารถทำงานนั้น บรรลุ เป้าหมายอย่างง่ายดาย เปรียบประดุจ ดังการรวมพลังของฝ่ายเราเข้าโจมตีข้าศึกที่วางกำลังไว้อย่างกระจัดกระจาย จึงเสมือน กับว่าเรามีกำลังมากเข้าโจมตีกำลังน้อย จึงได้ชัยชนะที่ไม่ลำบากนัก
      
ในการทำงานที่ขาดการวางแผนและขาดการประเมินขีดความสามารถที่ดี ไม่เข้าใจเนื้อหาและประเด็นของงาน หรือ อย่างเลวร้ายคือหลงภารกิจ ไม่เข้าใจว่า งานที่ตนเองรับผิดชอบคืออะไร มัวมุ่งไปทำแต่สิ่งที่ไม่ใช่เนื้อแท้ของงาน เปรียบไป แล้วก็เสมือนแม่ทัพที่ไม่รู้สมรภูมิของตน ย่อมนำลูกน้องทั้งหน่วยหลงทางลงเหวไปด้วย เสมือนดังที่ซุนวูว่า ไม่รู้สมรภูมิ และวัน เวลาเข้าทำการรบ ปีกซ้าย ปีกขวา ก็ไม่อาจสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ ดังนี้แล้ว หน่วยนั้น ก็คงไม่อาจบรรลุภารกิจที่กำหนด ให้รับผิดชอบได้ ตัวอย่างเช่น หน่วยที่ทำงานรับผิดชอบทางวิชาการ แต่ไปฝักใฝ่อยู่แต่ในเรื่องการบันเทิง หรือร้องรำ ทำเพลง อยู่ ดังนี้เป็นต้น ภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายคงไม่ประสบความสำเร็จไปได้ มืออาชีพจึงต้องรู้จักแสวงหาความรู้ และ ประสบการณ์ในการทำงานในทุกแง่มุม สามารถแก้ปัญหางานในความรับผิดชอบได้ทุกรูปแบบ ทำได้ดังนี้จึงเปรียบเสมือน ขุนพล ผู้หยั่งรู้รูปแบบการวางกำลังและกลยุทธ์ของข้าศึก รู้ส่วนขาดและส่วนเกินของข้าศึก จึงสามารถต่อกรกับข้าศึกได้ ในทุก สถานการณ์ ฉะนี้แล้วจึงถือว่าเป็นเลิศใน สมรภูมิการทำงานหรือ ไร้รูปแบบตายตัวในการแก้ปัญหางาน จะยากง่ายเพียงใด เขาจึงรับมือได้เสมอ
     
ที่ซุนวูกล่าวว่าเมื่อพิเคราะห์การจัดวางกำลังข้าศึกแล้ว ก็อาจทุ่มกำลังที่เหนือกว่าเข้าต่อสู้จนชนะ... แต่ก็ไม่อาจหยั่งรู้ รูปลักษณ์ ที่เป็นตัวควบคุมชัยชนะนั้น...หมายถึง ว่าแม้เราจะมีการเตรียมการและศึกษาเกี่ยวกับการงานเป็นอย่างดี จนมั่นใจ ว่าจะแก้ปัญหาได้เสมอก็ตาม แต่เราก็ไม่อาจล่วงรู้ลักษณะเฉพาะของปัญหาของการงานที่ต้องเผชิญในแต่ละคราวได้ จึงต้องใช้ไหวพริบกับปัญญา ในการแก้ปัญหาที่เปลี่ยนรูปแบบไปไม่รู้จักจบสิ้น
     
ซุนวูเปรียบในวรรคสุดท้ายว่า ผู้ที่รู้จัก พลิกแพลงแก้ปัญหาการงาน หรือการรบได้ตามสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยนไป จึงถือว่าเป็นผู้ที่ล้ำเลิศ ซึ่งการทำงานของเขาเหมือนกับน้ำที่ไหลจากที่สูงลงต่ำ ลัดเลาะเลี่ยงสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรค เปลี่ยน รูปลักษณ์ไปตามภูมิประเทศ หรือ พลิกแพลงการทำงานไปตามสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไร้รูปแบบตายตัว จึงถือว่า เป็นผู้ล้ำลึกในการปรับตัวให้เข้าสถานการณ์เหมือนดังฤดูกาลที่หมุนเวียน เปลี่ยนไป หรือแสงตะวันที่สั้นบ้างยาวบ้าง หรือ เหมือนดวงจันทร์ที่เปลี่ยนดิถีไปในแต่ละวัน

ตอนที่ การเข้าทำการรบ

ซุนวูกล่าวว่า :
      
กล่าวโดยทั่วไปยุทธศาสตร์การใช้กำลังทหารเป็นดังนี้ คือ ขุนพลรับบัญชาจากผู้ปกครอง รวบรวมไพร่พล และยุทธภัณฑ์ และเคลื่อนทัพไปประจัญหน้าข้าศึก ในการนี้ไม่มีสิ่งใดยากไปกว่าการเข้าทำการรบ ในปฏิบัติ การรบนั้น สิ่งที่ยากที่สุดคือ การเปลี่ยนคดให้เป็นตรง เปลี่ยนโทษให้เป็นคุณ
      
ถ้าฝ่ายเราทำให้ข้าศึกใช้เส้นทางวกวน และล่อด้วยผลประโยชน์ ทำได้ดังนี้แล้ว แม้ออกเดินทางไปสมรภูมิ หลังข้าศึกก็ถึงก่อนข้าศึกผลดังนี้เกิดขึ้นได้ก็จากความรอบรู้ในกลยุทธ์คด และตรง
      
ดังนี้แล้วสิ่งที่ทำให้เกิดข้อได้เปรียบในการรบ อาจนำมาซึ่งอันตรายได้เช่นกัน คือถ้ายกกองทัพไปเต็มรูปแบบ ให้คงความได้เปรียบในการรบเหนือข้าศึกก็ไปถึงสมรภูมิไม่ทันกาล ถ้าทิ้งสัมภาระและอาวุธหนักไว้เบื้องหลังเพื่อ ให้กองทัพเคลื่อนที่ด้วยความคล่องตัวอาจถูกข้าศึกช่วงชิงสัมภาระต่าง ไปใช้ประโยชน์ได้
      
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ถ้าฝ่ายเราละทิ้งเสื้อเกราะ และอาวุธหนัก รีบเร่งเดินทางทั้งวันทั้งคืนโดยไม่หยุด พักได้ ระยะทางเป็นสองเท่าของช่วงเวลาเดินทางปกติ เพื่อให้ระยะทางล้ำหน้าฝ่ายข้าศึก ถึงร้อยโยชน์ ดังนี้แล้ว แม่ทัพทั้งสามเหล่าจักถูกจับเป็นเชลย เนื่องจากผู้เข้มแข็ง จะเดินทางถึงก่อน ผู้หมดเรี่ยวแรงจะ ถูกทอดทิ้งไว้เบื้อง หลังถ้าใช้กลยุทธ์ตามที่กล่าวนี้ มีกำลังพลเพียงหนึ่งในสิบที่ถึงสมรภูมิ ถ้าเดินทางล้ำหน้าข้าศึกห้าสิบโยชน์ เป็น เหตุให้แม่ทัพหน้าละล้าละลังดังนี้แล้วกำลังพลเพียงครึ่งเดียว ที่ถึงสมรภูมิถ้าเดินทางล้ำหน้าข้าศึกสามสิบโยชน์ กำลังพลเพียงสองในสามที่ถึงที่หมาย
      
ฉะนั้นถ้ากองทัพขาดสัมภาระและอาวุธหนักจะประสบความสูญเสีย ถ้าขาด ยุทธปัจจัยก็จะประสบความ สูญเสีย และถ้าขาดเสบียงก็จะประสบความสูญเสีย
      
เมื่อไม่ทราบนโยบายของเจ้าผู้ครองนครต่าง ย่อมไม่สามารถรวบรวมพันธมิตรไว้ล่วงหน้า ผู้ไม่คุ้นเคยกับ ทิวเขา ป่า โตรก พื้นดิน พรุ และที่ลุ่ม ย่อมไม่สามารถเคลื่อนทัพได้ ผู้ไม่ใช้คนพื้นเมือง นำทาง ย่อมไม่อาจใช้สภาพ ภูมิประเทศ ให้เกิดประโยชน์กับฝ่ายตน
      
กองทัพมีชัยได้โดยใช้กลลวง เคลื่อนทัพเมื่อเป็นฝ่ายได้เปรียบ รวมหรือกระจายกำลังตามการเปลี่ยนแปลง ของฝ่ายข้าศึกฉะนั้นเมื่อเคลื่อนทัพ ให้ไวดุจสายลมเมื่ออ้อยอิ่งให้เหมือนป่าชัฏ รุกให้เร็วดุจไฟลามทุ่งนิ่งให้ทะมึน เหมือน ขุนเขา เมื่อซ่อนเร้นดุจอยู่ในความมืด เมื่อโจมตีไวประหนึ่งสายฟ้าฟาด
      
เมื่อยึดทรัพย์สินได้แบ่งปันกับไพร่พล ยึดดินแดนได้พึงจัดสรรผลประโยชน์ ควบคุมสมดุลแห่งอำนาจทาง ยุทธศาสตร์ และการเคลื่อนทัพ ขุนพลที่เข้าใจ ในเบื้องแ
      
หลักการบริหารกองทัพกล่าวว่า เมื่อไม่อาจได้ยินเสียงซึ่งกันและกันให้ใช้ ฆ้อง กลอง เมื่อไม่อาจเห็นกันให้ใช้ ธงทิว ฆ้อง กลอง และธงทิวคือศูนย์รวมหูตาของไพร่พล เมื่อไพร่พลรวมเป็นหนึ่ง ผู้กล้าก็ ไม่อาจรุกได้โดยลำพัง ผู้ขลาดกลัวก็ไม่อาจถอยโดยลำพัง นี้คือวิธีการใช้คนจำนวนมากเข้าทำการรบ
      
รบยามค่ำคืนให้โชติช่วงด้วยแสงไฟ และอึกทึกด้วยเสียงกลอง รบยามกลางวันให้พริ้วไสวด้วยธงทิว ดังนี้จึง เป็นประหนึ่ง หูตาของไพร่พล
      
กองทัพอาจเสียขวัญ ขุนพลอาจท้อถอย ดังนั้นไพร่พลจะฮึกเหิมในยามเช้า อิดโรยช่วงกลางวัน หมดขวัญ กำลังใจในยามเย็น ผู้เป็นเลิศในการใช้กำลังทหารจึงหลีกเลี่ยงการเข้าโจมตีขณะข้าศึก ฮึกเหิม เข้าโจมตีขณะ ข้าศึกอิดโรย และขวัญกำลังใจตกต่ำ เหล่านี้คือ       การใช้หลักของขวัญกำลังใจในการรบ ใช้ความเป็นระเบียบรอความ สับสนใช้ความสงบรอความอึกทึก นี่คือ วิถีแห่งการควบคุมสมาธิ ใช้ใกล้ รอไกล พักรออ่อนล้า อิ่มรอหิว นี่คือวิถีแห่งการควบคุมความเข้มแข็ง
      
อย่าสกัดกองทัพที่ธงทิวปลิวไสว อย่าโจมตีกองทหารที่อยู่ในรูปกระบวนรบเป็นอย่างดี นี่คือ วิถีแห่งการ ควบคุมความเปลี่ยนแปลง
      
ดังนั้น ยุทธศาสตร์ของการใช้กำลังทหาร คือ เขาสูงอย่าบุก อิงเนินอย่ารุก แสร้งถอยอย่าตาม แข็งแกร่งอย่า โจมตี เหยื่อล่ออย่ากลืน ถอยคืนถิ่นอย่าขวาง ล้อมไว้ให้เปิดทาง อย่ากดดันให้จนตรอก เหล่านี้คือ ยุทธศาสตร์ของ การใช้ กำลังทหาร

วิเคราะห์
      
หลักการยุทธศาสตร์ในการใช้กำลังทหารในวรรคแรกที่ว่า ขุนพลรับบัญชา รวมไพร่พล และยุทธภัณฑ์ และ เข้ารบนั้นอนุโลมกับการทำงานก็เช่นเดียวกันคือหัวหน้างาน ไม่ว่าจะเป็น กรม กอง หรือแผนก หรือหัวหน้าระดับ ต่าง ในบริษัท รับงานชิ้นหนึ่งมาจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงกว่า จากนั้นนำเอาเป้าหมายของงานนั้นมาวิเคราะห์ว่า จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรต่าง ที่จำเป็นเท่าใด ทำนองเดียวกับการรวบรวมอาวุธยุทธภัณฑ์ และกำลัง เมื่อเตรียม การพร้อมแล้วก็เคลื่อนทัพเข้าสู่สมรภูมิ คือ เข้าทำงานนั้นนั่นเอง ในส่วนนี้ที่ซุนวูว่า ยากที่สุด คือ การเปลี่ยนคด ให้ตรง เปลี่ยนโทษเป็นคุณนั้น หมายถึงการ แก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำงานให้คลี่คลาย ทำให้ งานดำเนินไปด้วยดีจนบรรลุเป้าหมายของงานที่ได้ รับมอบมาให้ทำ ซึ่งการนี้ ผู้ไม่มีหัวคิด พลิกแพลงแก้ไขสถาน การณ์ตามความซับซ้อนของงานที่เกิดขึ้นย่อมประสบ ความยากลำบากจนถึงอาจไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้
      
ดังนี้แล้ว ผู้ที่มีความรู้กอปรกับ ไหวพริบและเชาว์ปัญญา ย่อมสามารถ ทำงานที่ยากให้กลายเป็นง่าย วิเคราะห์ปัญหาและวิธีแก้ปัญหาในการทำงานได้อย่างแจ่มแจ้งตรงประเด็น ผู้มีความสามารถดังที่กล่าวนี้เมื่อ เริ่มทำงานใด เขาจึงไม่รีบร้อนบุ่มบ่าม แต่ใช้เวลา พอสมควรในการรวบรวมข้อมูลก่อน จนครบถ้วน เมื่อไตร่ตรอง โดยรอบคอบ แล้วก็ตัดสินใจทำงานจนบรรลุวัตถุประสงค์อย่างราบรื่น เปรียบดังแม่ทัพที่มีการ เตรียมการและ วางแผนการรบอย่างรอบคอบ ที่อาจดูเหมือนเริ่มออกเดินทัพหลังข้าศึก แต่ก็ไปถึงสมรภูมิก่อนข้าศึก คือทำงาน ได้สำเร็จเสมอ
      ในข้อที่ว่า สิ่งใดที่ทำให้เกิดข้อ ได้เปรียบในการรบ ก็อาจนำมาซึ่งอันตรายได้เช่นกัน เปรียบเทียบได้กับสุภาษิต คำพังเพยของไทยว่า ดาบสองคม ซึ่งถ้าใช้โดยขาดความรอบคอบแล้ว ไม่เพียงแต่ ทำอันตรายให้แก่ศัตรูเท่านั้น อาจกลับมาทำให้ผู้ใช้ดาบนั้นได้รับบาดเจ็บอีกด้วย เมื่อนำประเด็นนี้มาเปรียบเทียบกับการ ทำงานแล้ว สิ่งที่ทำ ให้เกิดทั้งข้อได้เปรียบ ในการทำงาน และอาจทำให้งานนั้นเกิดปัญหาด้วยเช่นกัน ก็คือ การตั้งสมมุติฐาน ในการ ทำงานนั่นเอง สมมุติฐานคือสิ่งที่ นำมาใช้ทดแทนข้อมูลที่ขาดหายไป ในการทำงานใด การขาดหายของข้อมูล ในส่วนที่นำเอาสมมุติฐานมาใช้แทนนี้ อาจเกิด จากปัจจัยทางนามธรรม ที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้ เช่นความรู้สึกนึกคิด หรือความร่วมมือของบุคคล ตัวอย่างกรณีที่จะยกมาให้เห็นชัด ดังนี้ บริษัทแห่งหนึ่งมีโครงการที่จะกู้เงินจาก ธนาคารจำนวนนับร้อยล้านบาท เพื่อนำมาสร้างศูนย์ซ่อมรถยนต์ในที่ดินเปล่าของบริษัทซึ่งทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้ ประโยชน์ใด มาเป็นเวลานับสิบปี เนื่องจากอยู่ในทำเลห่างไกลความเจริญ แต่สภาพปัจจุบัน จากการศึกษา พบว่า พื้นที่ดังกล่าวเหมาะสมที่จะทำกิจการศูนย์ซ่อมรถยนต์อย่างยิ่ง โดยพิจารณาจากสภาพความเจริญของ ชุมชนในบริเวณนั้น และอัตราการถือครองรถยนต์ส่วนบุคคลจำนวนมาก โครงการนี้แม้ดูดีและน่าจะให้ผลกำไร ที่สูงแก่บริษัท แต่ที่ดินดังกล่าวก็ติดปัญหาอยู่ประการหนึ่ง คือ มีประชาชนเข้าไปจับจองสร้างที่พักอาศัยทั้ง ในลักษณะชั่วคราว และกึ่งถาวรอยู่หลายหลังคาเรือน โดยที่บริษัทไม่ทราบ มาก่อน ประธานบริษัทซึ่งอยู่ในฐานะ เหมือนขุนพลต้องตัดสินใจว่า จะเดินหน้า กู้เงินธนาคารมาดำเนินการโครงการนี้ต่อไป โดยตั้งสมมุติฐาน ว่าชาวบ้านผู้รุกล้ำที่ดิน จะยอมย้ายออกทั้งหมดโดยดี หรือมิฉะนั้นถ้ามีการฟ้องร้องขับไล่กันแล้ว ทางบริษัท ก็ต้องชนะคดีได้ที่ดินคืนในที่สุด สมมุติฐาน ที่กล่าวนี้ นับเป็นประโยชน์ คือทำให้ โครงการนี้ดำเนินไปได้ ไม่หยุด ชะงัก แต่ก็อาจเป็นโทษได้เช่นกัน ถ้าผลสุดท้ายแล้ว ชาวบ้านชนะคดีได้สิทธิครอบครองที่ดินต่อไป ในขณะที่บริษัท ก็ได้เสนอโครงการแก่ธนาคารและกู้ยืมเงินมาเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่สามารถทำโครงการต่อไปได้ ผลร้ายก็ ตกอยู่ กับบริษัท แต่ถ้าบริษัทรอจนคดี สิ้นสุดให้แน่ใจว่าได้ที่ดินคืนแน่นอนแล้ว จึงเริ่มทำโครงการนี้ อาจต้องใช้เวลายาว นานในการต่อสู้คดี ซึ่งถึงแม้จะแน่นอนในการบรรลุวัตถุประสงค์ แต่ก็อาจไม่ทันกาลตามสถานการณ์แวดล้อม ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา

ที่ยกตัวอย่างมาแล้วข้างต้นก็เหมือนกับที่ซุนวูกล่าวว่า ยกทัพไปเต็มรูปแบบ ก็ไปถึงสมรภูมิไม่ทันกาลทิ้ง สัมภาระ ให้คล่องตัว เพื่อให้เคลื่อนที่ได้เร็ว ก็อาจถูกข้าศึกนำไปใช้ประโยชน์ ฉะนั้นในการ ทำงานใด ถ้าเอาใจ ใส่ลงในรายละเอียดปลีกย่อย ในทุกประเด็น เพื่อป้องกัน ความผิดพลาด งานก็เดินไปได้ช้าจนแม้บรรลุ วัตถุ ประสงค์ได้ แต่ก็อาจไม่ทันกาล แต่ถ้าละทิ้งรายละเอียดหรือ ใช้การตั้งสมมุติฐานเพื่อให้งานเร็วขึ้นแล้วงานก็อาจ ล้มเหลวได้ในบั้นปลาย หัวหน้างานหรือขุนพล จึงต้องชั่งน้ำหนักให้ดีในการ ทำงาน เพราะถ้ารายละเอียดมากไป งานก็จะช้าเสมือนการยกทัพที่ขนเอาอาวุธ ยุทธภัณฑ์ และสัมภาระไปทั้งหมด ก็ เทอะทะอุ้ยอ้าย ถ้าละทิ้ง รายละเอียดหรือตั้งสมมุติฐานมากเกินไป งานก็ไปได้เร็วเสมือนกับการทิ้งสัมภาระบางส่วนไว้เบื้องหลัง เพื่อให้ ้เคลื่อนทัพได้ไว แต่ภารกิจก็อาจ ล้มเหลว ในบั้นปลายก็เป็นได้ การทำงาน จึงต้องให้มีรายละเอียดที่จำเป็น พอเพียงไม่มากหรือน้อยเกินไป จึงจะทำงานได้ประสบความสำเร็จและทันเวลา เหมือน ดังที่ซุนวูกล่าวพอสรุป ได้ว่า ในการทัพนั้น จะขาดทั้งเสบียง ยุทธปัจจัย และอาวุธ อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เลย แต่ถ้านำเอา สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือทุก สิ่งไปมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดความละล้าละลังถึงที่หมาย ไม่ทั้งหมด หรือไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ของ งานโดยสมบูรณ์
      ที่ซุนวูกล่าวว่า เมื่อไม่ทราบนโยบายของเจ้าผู้ครองนครต่าง ย่อม ไม่สามารถรวบรวมพันธมิตรไว้ล่วงหน้า เจ้าผู้ครองนครในที่นี้หมายถึง หน่วย ข้างเคียงที่หัวหน้างานในสำนักงาน หรือบริษัทห้างร้านต่าง ต้องขอรับการ สนับสนุน อันเปรียบเสมือนพันธมิตรในสมรภูมิการ ทำงาน การจะได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยข้างเคียงหรือ บุคคลอื่น หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ทั้งในเชิงอาชีพและส่วนตัว ถ้าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้วย่อมได้รับ การ ช่วยเหลือ การจะเป็นเช่นนี้ได้ต้องอาศัยการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น เสมือนกับมีการติดต่อทางการ ทูต กับรัฐอื่น มิใช่เก็บตัวอยู่ในโลกของตัวเองไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร ไม่ให้ความช่วยเหลือใคร ซึ่งถ้า เป็นดังนี้แล้วเมื่อมีงาน ใด คงไม่อาจ หาพันธมิตรมาช่วยทำงานได้ เปรียบเสมือนการไม่ทราบนโยบายของเจ้าผู้ครองนคร ต่าง นั่นเอง
     
สำหรับคำกล่าวที่ว่า ผู้ไม่คุ้นเคยกับทิวเขา ป่าโตรกพื้นดินพรุ และที่ลุ่ม ย่อมไม่สามารถเคลื่อนทัพได้ และ ผู้ไม่ ใช้คนพื้นเมืองนำทาง ย่อมไม่อาจใช้สภาพ ภูมิประเทศให้เกิดประโยชน์กับฝ่ายตน เมื่อเปรียบเทียบกับการ ทำงาน หมายถึง คนที่ไม่เข้าใจกับงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ เปรียบเสมือนหัวหน้างาน ที่ได้รับ มอบหมายงานที่ตน ไม่คุ้น เคย เช่นผู้จัดการฝ่ายหนึ่ง ถูกสับเปลี่ยนงานให้ไปรับผิดชอบกับงาน อีกฝ่ายหนึ่ง ถึงแม้จะรู้อยู่เลา ว่างานที่รับ ผิดชอบใหม่เป็นอย่างไร แต่ก็ไม่เข้าใจ ลึกซึ้ง ย่อมยังไม่สามารถสั่งการให้งานหน่วยนั้นได้เดินหน้าไปได้จนกว่าจะ ทำความคุ้นเคยกับงานใหม่เสียก่อน สภาพ เช่นนี้มักเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการหมุนเวียน เพื่อสับเปลี่ยนงาน โดย เฉพาะระดับบริหาร ทั้งในวงราชการและบริษัทห้างร้าน ที่มัก บ่นกันว่าเปลี่ยนหัวหน้าครั้งหนึ่งงานก็หยุด ชะงักไป พักหนึ่ง หรืออย่างร้ายก็ติดขัดไปทั้งปี หัวหน้างานใหม่จึงต้องรีบทำความเข้าใจ สิ่งที่ตนรับผิดชอบให้เร็วที่สุด ยังมีตัวช่วยอีกอย่างคือการหารือกับลูกน้อง หรือผู้อยู่ในหน่วยนั้นมานาน อันเปรียบเสมือนการใช้คนพื้นเมืองนำ ทางในสภาพภูมิประเทศที่ตนยังไม่คุ้นเคย แต่ถ้าหัวหน้างานเป็นผู้ถือดีแล้ว อาจไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ให้เป็น ประโยชน์ โดยคิดว่าการขอคำปรึกษาลูกน้อง ทำให้ เสียหน้า ทั้งที่ตามข้อเท็จจริงแล้วผู้ใต้บังคับบัญชา คือ ผู้ที่ทางหน่วยงานจัดหามาเพื่อ ช่วยหัวหน้างานให้ทำงานลุล่วงไปได้ การปรึกษาหารือคนเหล่านียังทำให้ ลูกน้อง มีความภูมิใจด้วยซ้ำไป ที่ผู้บังคับบัญชา เห็นคุณค่าและความสำคัญของเขา จึงยินดีที่จะให้การสนับสนุนยิ่ง ขึ้นไปอีก

คำกล่าวที่ว่า เคลื่อนทัพเมื่อเป็นฝ่ายได้เปรียบ รวมหรือกระจายกำลัง ตามการเปลี่ยนแปลง ของฝ่ายข้าศึก... ไวให้ดุจสายลม อ้อยอิ่งเหมือนป่าชัฏ หมายถึง การทำงานต้องพร้อมปรับตัวไปตามสถานการณ ์ของ ปัญหาที่ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาในการทำงาน ไม่ใช่สักแต่ว่า ทำงานมะลื่อทื่อไปตลอด โดยไม่มีการปรับปรุง แก้ไข วิธี ีการตามสถานการณ์ที่ พลิกผันไปตลอดเวลา
      
การทำงานใด ให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่อาจเป็นไปได้โดยตัวหัวหน้างาน หรือขุนพลผู้นำทัพ เพียง คนเดียว แต่ต้องอาศัยผู้ใต้บังคับบัญชาคอยช่วยเหลือสนับสนุนงานจึงลุล่วงไปได้ เมื่องานสำเร็จ ก็เป็นเวลา ของ การให้รางวัล คือการได้รับบำเหน็จพิเศษหรือเลื่อนยศเลื่อนขั้น ผู้เป็นหัวหน้างานหรือขุนพล ย่อมทำการ จัด สรร รางวัลเหล่านี้อย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เอาความดีความชอบไว้ของตัวคนเดียว เปรียบเสมือนการยึดทรัพย์สินได้ ต้อง แบ่งปันกับไพร่พล ยึดดินแดนได้จัดสรร ผลประโยชน์นั้นเอง ถ้าทำได้ดังนี้ลูกน้อง ก็จะจงรัก ภักด ีและ ทุ่มเท ทำงานให้เสมอ แต่ถ้าตัวหัวหน้าหรือขุนพลเอาแต่ความดีความชอบเป็นของตัวโดยไม่คิดแบ่งปัน ผู้ใต้บังคับบัญชา แล้ว จะไม่ได้รับการ ยอมรับนับถือ ซ้ำยังถูกดูหมิ่นดูแคลน เมื่อพ้นจากอำนาจไปแล้วก็ไม่มีใครต้อนรับ ต้องอยู่ อย่างเดียวดายว้าเหว่ และนี่คือหลักแห่งการครองใจคนในการทำงาน
      
ตามที่ซุนวูกล่าวว่า เมื่อไม่ได้ยินเสียงกัน ให้ใช้ฆ้องกลอง ไม่เห็นกัน ให้ใช้ ธงทิวเปรียบเทียบกับการทำงาน ก็ คือการสื่อสารนั่นเอง ในอดีตกาลนั้นเมื่อ ยังไม่มีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยดังเช่นปัจจุบัน แม่ทัพสั่งให ้ปฏิบัต ิการ รบในกองกำลัง ขนาดใหญ่ด้วยการใช้ฆ้องกลอง ธงทิว หรือประทีปโคมไฟในการส่งสัญญาณคำสั่ง โดยวิธีนี้ ทั้ง กองทัพก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เข้าตีพร้อมกัน ถอยพร้อมเพรียงกันอย่าง ไม่สับสน ดังซุนวูกล่าวว่าสิ่งเหล่านี้ ประดุจดังศูนย์รวมหูตาของไพร่พล ในปัจจุบันนี้เครื่องมือสื่อสารที่หัวหน้างานใช้สั่งการ หรือติดต่อประสานงาน มีมากกว่า ธงทิว ฆ้อง กลอง และโคมไฟ ดังเช่น โทรศัพท์ โทรสาร หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ขุนพล หรือหัวหน้างานยุคใหม่ จึงต้องฝึกฝนใช้เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ให้เกิดประสิทธิผล เช่นเดียวกับที่ขุนพลในยุค โบราณเคยใช้ฆ้อง กลอง ธงทิว และโคมไฟในการสั่งการ ไพร่พลเข้าทำการรบอย่างได้ผลมาแล้ว
     
ส่วนสุดท้ายของบทนี้เป็นส่วนที่ซุน วูกล่าวถึงจิตวิทยามวลชน เพื่อเข้าทำการรบล้วน กล่าวคือในการรบ หรือ การทำงานใด นั้นปุถุชนคนธรรมดาไม่ว่าจะอยู่ในฐานะสูงต่ำเพียงใดย่อมมีช่วงเวลา ของความ กระปรี้กระเปร่า หดหู่ หรือท้อถอยในการรบหรือการทำงานเสมอ หัวหน้างานจึงต้องประเมินสภาพจิตใจของลูกน้อง อยู่เสมอ อย่า ใช้วิธีบีบคั้นเอาแต่งานโดย ไม่คิดถึงสภาพจิตใจของเขาในขณะนั้น เช่น ลูกน้องที่อยู่ในสภาพหดหู่ อาจม ีปัญหา ทางครอบครัวเช่น ภรรยา สามี หรือลูกป่วยไข้ ลูกน้องที่สติลอยหรืออิดโรยอาจ ยังไม่ได้ รับประทานอาหาร เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นหัวหน้างานจะต้องจับตาดูพฤติกรรม ดังกล่าวเหล่านี้ สอบถาม ให้กำลังใจ หรือ ช่วยเหลือ ตามกำลัง ไม่ใช่สักแต่ว่าเคี่ยวเข็ญให้ทำงาน โดยไม่คำนึงถึงสภาพจิตใจ เพราะอาจได้งานไม่คุ้มเสีย เปรียบ โดย อุปมา เหมือนที่ซุนวูกล่าวว่า หลีกเลี่ยงการ โจมตีขณะข้าศึกฮึกเหิม...ใช้ระเบียบ รอความสับสน สงบรอ ความ อึก ทึกใกล้ รอไกล พักรออ่อนล้า อิ่มรอหิว
     
ผู้เป็นหัวหน้างานที่สามารถจึงต้องมีจิตวิทยา มีสมาธิ มีสุขภาพแข็งแรง มีสติปัญญาในการแก้ไขสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป รู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว จึงจะทำงานได้ประสบความสำเร็จ เหมือนดัง ที่ซุน วูสรุป ไว ้ใน วรรค สุดท้ายโดยอุปมาว่า เขาสูงอย่าบุก อิงเนินอย่ารุก แสร้งถอยอย่าตาม แข็งแกร่งอย่าโจมตี เหยื่อล่อ อย่ากลืน คืน ถิ่นอย่าขวาง ล้อมไว้ให้ เปิดทาง อย่ากดดันให้จนตรอก
     
สิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับการเรียนรู้ คือใจที่เปิดกว้าง

ตอนที่ ความเปลี่ยนแปลงเก้าประการ

ซุนวูกล่าวว่า :
    
กล่าวโดยทั่วไปยุทธศาสตร์การใช้กำลังทหารเป็นดังนี้ คือ ขุนพลรับบัญชา
จากผู้ปกครองรวบรวมไพร่พล และอาวุธยุทธภัณฑ์ และเมื่อเข้าทำการรบ
        -
ไม่ตั้งค่ายในภูมิประเทศล่อแหลม
        -
หาพันธมิตรร่วมรบ ในภูมิประเทศที่ต้องรบแตกหัก
        -
อย่าวางกำลังในพื้นที่โดดเดี่ยว
        -
วางแผนยุทธศาสตร์ไว้สำหรับภูมิประเทศปิดล้อม
        -
พื้นที่มรณะต้องสู้สุดกำลัง
        -
พึงหลีกเลี่ยงเส้นทางบางสาย
        -
ละเว้นไม่โจมตีบางกองทัพ
        -
ไม่เข้าตีเมืองบางเมือง
        -
ไม่ยึดบางชัยภูมิ และ
     
ขณะการรบกำลังดำเนินไป ขุนพลอาจไม่รับบางบัญชาจากผู้ปกครอง
ขุนพลผู้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงการใช้ความเปลี่ยนแปลงทั้งเก้าให้เป็นข้อได้เปรียบ
จึงเป็นผู้เข้าใจการศึก สำหรับขุนพลผู้ไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงการใช้ความเปลี่ยน แปลงเก้าประการให้เป็นข้อได้เปรียบ แม้จะรู้จักคุ้นเคยกับภูมิประเทศก็มิอาจ ตระหนักถึงการใช้ภูมิประเทศให้เป็นข้อได้เปรียบผู้บังคับบัญชา ทหาร ซึ่ง ไม่เข้าใจ ถึงการใช้ความเปลี่ยนแปลงเก้าประการ ให้เป็นประโยชน์นั้น แม้จะ
ู้การใช้ ข้อได้เปรียบถึงห้าประการ ก็มิอาจนำทัพได้ด้วยเหต ุดังกล่าว ขุนพล ที่เฉลียวฉลาดต้องคิดไตร่ตรองถึงผลได้ผลเสีย
    
ถ้ามองเห็นข้อได้เปรียบในสภาวะคับขัน ก็จะได้รับชัยชนะ ถ้ามองเห็น อันตรายในสภาวะเป็นต่อ ก็สามารถขจัดความยุ่งยากดังนั้น ข่มขู่ข้าศึกโดย
สำแดงภัย ให้เห็น ทำข้าศึกให้เหนื่อยล้าโดยสร้างปัญหาหลายๆ ทาง และ หลอกล่อ ข้าศึกด้วยผลประโยชน์ยุทธศาสตร์การใช้กำลังทหารจึง เป็นดังนี้ คือ อย่า คิดว่าข้าศึกจะไม่ก่อสงคราม จงเตรียมรบให้พร้อมอยู่เสมอ อย่าคิดว่าข้าศึก
จะไม่เข้าโจมตี จงเตรียมพร้อมรับมือไว้เสมอ ขุนพลทั้งหลายมีอันตราย อยู่
ห้าประการ อันเกิดจากลักษณะนิสัยของตนเอง
       -
ขุนพลที่มุทะลุ จะถูกสังหาร
       -
ขุนพลที่ขี้ขลาด จะถูกจับเป็นเชลย
       -
ขุนพลที่ลุแก่โทสะง่าย จะถูกหยามให้ขาดสติ
       -
ขุนพลที่ยึดมั่นในกฎระเบียบ และเกียรติ จะถูกยั่วให้อับอาย
       -
ขุนพลที่ใจอ่อน จะประสบความยุ่งยาก

อันตรายทั้งห้าประการนี้ ถ้ามีมาก เกินไป ในขุนพล ของกองทัพใด ย่อม นำหายนะมาสู่กองทัพ โดยกองทัพถูกทำลาย ขุนพลสิ้นชีพ ดังนั้นต้องมีการพิเคราะห์อันตรายทั้งห้านี้อย่างถี่ถ้วน
     
วิเคราะห์
     
ในบทที่ นี้ ซุนวูได้แจกแจงถึงการสู้รบในภูมิประเทศ หรือ ยุทธภูมิ
ที่ หลากหลาย เก้าลักษณะ ซึ่งขุนพลผู้นำกองทัพต้อง ประสบ และต้อง พิจารณา ไตร่ตรองในการใช้ภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในขณะดำเนินการรบนี้ให้เกิด
ประโยชน์แก่ตน มากที่สุด และในขณะที่การรบกำลังติดพันนั้น ขุนพล ไม่จำเป็นต้องรับบางบัญชาจาก ผู้ปกครองของตนเมื่อนำการเปลี่ยนแปลงทั้งเก้า ลักษณะของยุทธภูมิ ตามที่ซุนวูกล่าวไว้ มาเปรียบเทียบกับการทำงานใด โดย อนุโลม เปรียบเสมือนความหลากหลาย ของปัญหางานในความรับผิดชอบ ที่ขุนพล หรือหัวหน้างานต้องเผชิญกันอยู่ทุกเมื่อ เชื่อวัน และต้องใช้ไหวพริบ ในการแก้ปัญหาต่าง เหล่านี้ให้ลุล่วงไปจนงานได้รับผลสำเร็จในที่สุด
     
เมื่อนำการเปลี่ยนแปลงทั้งเก้า ลักษณะของยุทธภูมิ ตามที่ซุนวูกล่าวไว้ มาเปรียบเทียบกับการทำงานใด โดย อนุโลม เปรียบเสมือนความหลากหลาย ของปัญหางานในความรับผิดชอบ ที่ขุนพล หรือหัว หน้างาน ต้องเผชิญ กันอยู่ ทุกเมื่อ เชื่อวัน และต้องใช้ไหวพริบในการแก้ปัญหาต่าง เหล่านี้ ให้ลุล่วงไป จนงานได้รับ ผลสำเร็จในที่สุดว่าเมื่อเข้าทำการรบ ไม่ตั้งค่าย ใน ภูประเทศ ล่อแหลม ภูมิประเทศ ล่อแหลมในการสงคราม หมายถึง พื้นที่ซึ่งถูกโจมตีง่าย ยากแก่การป้องกันตนเอง เช่น ที่เปิดโล่งไร้ที่กำบัง เปรียบเทียบ กับการ ทำงาน ใด หมายถึง การทำงาน ในลักษณะที่ยอมให้มีความเสี่ยงมาก เกินไปในการ ที่งานนั้นอาจประสบกับ ความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น ในช่วงก่อนปี ..๒๕๔๐ ในขณะที่ ประเทศไทยอยู่ในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่ ผู้พัฒนา อสังหาริมทรัพย์หลายรายได้ กู้ยืมเงินแบบเงินกู้ระยะสั้นมาลงทุนใน ธุรกิจ บ้านจัดสรร โดยคาดว่าจะขายบ้าน ในโครงการได้หมดก่อนวันครบกำหนด ชำระหนี้ แต่เมื่อประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจใน ..๒๕๔๐ โดยไม่มีใครคาดฝันมาก่อน ทำให้ธุรกิจ บ้านจัดสรร เหล่านี้ ขาย ไม่ออก จนเห็นอาคารบ้านเรือนทิ้งร้างมากมายในปัจจุบัน เมื่อเกิดเหตุดังนี้ ผู้กู้หนี้ยืมสินระยะสั้น ที่ไม่สามารถส่งคืนเงินกู้ได้ตามกำหนด ก็ตกอยู่ใน สภาวะล้มละลาย เกิดหนี้เสียมากมาย การทำงานเช่นนี้ก็อยู่ในลักษณะ ตั้งค่ายในภูมิประเทศล่อแหลมที่ว่า หาพันธมิตรร่วมรบ ในภูมิประเทศ ที่ ต้อง รบแตกหัก ข้อความนี้เห็นได้ชัดในขณะที่ สหรัฐ กำลังทำสงคราม
สหรัฐ - อิรัก ครั้งที่ ที่อ่าวเปอร์เซีย เนื่องจากสหรัฐ รู้ว่าถ้าไม่ชนะสงคราม กับอิรักครั้งนี้แล้ว ความเชื่อถือหรือความ น่าเกรงขามของสหรัฐ ที่มีต่อ ประชาคมโลกจะต้องสูญเสียไป การรบครั้งนี้จึงต้องเป็นการรบที่ต้องแตกหัก คือ ชนะอย่างเดียว สหรัฐ ต้องรวมพันธมิตร หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ลูกสมุน ให้มาก ที่สุด สนับสนุนแก่ตน ไม่ว่าทางตรง ทางอ้อม หรือทางหลบ ซ่อนๆ เพื่อ ให้ ้แน่ใจและมั่นใจว่าจะได้รับ ชัยชนะต่ออิรัก ประเด็นนี้เมื่อเปรียบเทียบกับการ
ทำงานแล้ว คือการทำงานที่ต้องบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน ไม่มี การประนีประนอมใด ทั้งสิ้น มิฉะนั้นแล้ว ก็จะเกิดผลเสียหาย

ร้ายแรงกับหน่วยงาน นั้น สมมุติตัวอย่าง เช่น บริษัทดอกบัว ผู้ประกอบ การค้า
ปลีกรายมหึมา ได้ลงหลักปักฐานสร้างร้านค้าของตน ตำบล ละลายทรัพย์
กิจการดำเนินไปด้วยดี เรียกว่าขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่แล้วต่อมา ก็มีผู้ประกอบการลักษณะเดียวกัน คือบริษัทกลางใหญ่มาลงทุน ทำธุรกิจ อยู่
ใกล้เคียง ทำให้ยอดขายของบริษัทดอกบัวลดลงไปจนใกล้ถึงจุดไม่มีกำไร และคาดว่าต้องม้วนเสื่อเลิกกิจการในที่สุดผู้จัดการบริษัทดอกบัวพิจารณาดู แล้ว
เห็นว่าศึกค้าปลีกครั้งนี้ จำต้องสู้กันถึงขั้นแตกหัก เพื่อความอยู่รอดของตน แต่สู้กันซึ่งหน้า คือ แข่งกันขายเช่นที่เป็นอยู่เห็นทีจะสู้ไม่ได้ จำต้องหา พันธมิตร คือบรรดาผ ู้ส่งสินค้า ทั้งหลาย ขอร้อง ไม่ให้ส่งสินค้า ชนิดเดียวกัน ให้กับบริษัทกลางใหญ โดยมีการตอบแทนเป็นผลประโยชน์บางประการ ในลักษณะเช่นนี้ถ้าบริษัทดอกบัวได้ผู้ส่งสินค้ามาเป็นพันธมิตรเพิ่มมากขึ้น
เท่าใด ในที่สุดบริษัทกลางใหญ่ก็ไม่อาจหาสินค้าที่จำเป็นมาให้บริการลูกค้า ที่ต้องการได้ บริษัทดอกบัว ก็จะได้รับชัยชนะขั้นแตกหักในที่สุด
     
อย่าวางกำลังในพื้นที่โดดเดี่ยพื้นที่โดดเดี่ยวในที่นี้มีความหมายเป็น
หลายนัย คือ เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง กันดาร ขาดน้ำ และอาหาร ไม่มีสิ่งสนับสนุน
ทั้งปวงที่จำเป็น เปรียบเทียบกับการทำงานแล้วก็เสมือน กับการทำงานที่ขาด
แคลนทั้ง คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ อันเป็นปัจจัยสำคัญของการบริหารและจัดการ
ซึ่งหัวหน้างานไม่ว่าระดับใด แม้จะมีฝีมือดีเพียงใดในด้าน การบริหาร ถ้าขาดซึ่งสิ่งที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น ก็คง ไม่อาจนำ งาน ที่ได้รับมอบหมาย ให้ ไปสู่เป้าหมายได้
สมมุติตัวอย่าง เช่น กิจการพิมพ์แห่งหนึ่งผู้จัดการใหญ่ของบริษัทได้กำหนด
นโยบายให้ปีพ..๒๕๔๖ เป็นปีแห่งความพร้อมให้บริการลูกค้า ทุกรูปแบบ ที่หัวหน้าทุกฝ่ายของบริษัท ต้องรับนโยบายไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ทั้ง ที่แท่นพิมพ์ก็เก่า การเรียงพิมพ์ ก็ยังเป็นแบบตัวตะกั่วหล่อ ยังไม่มีเครื่อง เรียง พิมพ์คอมพิวเตอร์ กระดาษพิมพ์ ไม่พอเพียง ดังนั้นเมื่อ นโยบายนี้ ประกาศ ออกไป บริษัทก็ได้รับคำร้องขอจากฝ่าย ต่าง ให้จัดหา คน เครื่องมือ และ วัสด ุอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อสนองต่อนโยบาย ดังกล่าว แต่ได้รับ คำตอบ จาก ผู้จัดการใหญ่ว่า ให้ใช้การ บริหาร จัดการ กับปัจจัย เดิม ที่มีอยู่ให้บรรลุ ุวัตถุประสงค์ของนโยบาย ที่กำหนด ซึ่งลักษณะเช่นนี้คือการสร้างภาพหลอก ชาวบ้านไปวัน แม้จะฟังดูดีแต่ก็ไม่มี ผลจริงจังในทางปฏิบัติเป็นการกำหนด
นโยบายที่เสมือนกับ การวางกำลังในพื้นที่โดดเดี่ยวนั่นเอง
วางแผนยุทธศาสตร์ไว้สำหรับ ภูมิประเทศปิดล้อม ในการรบนั้น ภูมิประเทศ ที่ถูกปิดล้อม คือ บริเวณที่ ล้อมรอบด้วยอุปสรรค เช่น เขาสูง ทางน้ำ ป่าทึบ มีเส้นทางบังคับในการเดินทัพ และมีทางหนีทีไล่จำกัดแต่กระนั้น ก็จำเป็นที่ จะต้องเดินทัพผ่าน ซึ่งในบริเวณที่กล่าวนี้ การเดินทัพ จะเป็น ไปด้วย ความ เชื่องช้า ยากลำบาก ทั้งยังอาจถูกข้าศึกซุ่มโจมตีได้โดยง่าย จึง ไม่บังควร อยู่ ในภูมิประเทศ เหล่านี้ให้เนิ่นนาน และ ต้อง วางแผน ยุทธศาสตร์ ไว้รองรับ เหตุคับขันที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได เมื่อเปรียบเทียบกับการ ทำงาน แล้วการอยู่ในภูมิประเทศที่ปิดล้อม หมายถึง สภาวะการทำงานที่ต้องจำยอมรับข้อจำกัดที่มีอยู่ เช่น บริษัทที่มีปริมาณงาน
เพิ่มมากขึ้น จนใกล้ถึงจุดอิ่มตัวที่จะให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องทำการปรับปรุงและขยายกิจการเพิ่ม

ขึ้น   มีการจัดสร้างอาคาร   และเตรียมอัตราบรรจุผู้ทำงานเพิ่มเติม   จัดหา
ครุภัณฑ ์และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการขยายงาน ซึ่งใน ขณะที่อยู่ในระหว่าง การปรับปรุงขยายงานนี้นับเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่ทั้งองค์กร ต้อง ปฏิบัติงาน เดิมให้เป็นไปโดย ราบรื่น ขณะเดียวกัน ก็ต้องแบ่งกำลัง กัน มา ดำเนินการ
ขยายกิจการ เวลาดังกล่าวนี้ นับว่าเป็น ช่วงเวลา ที่ยากลำบาก ที่บริษัทจะต้อง
รีบ ให้ผ่านพ้นไปโดยเร็วที่สุด และต้องกำหนดยุทธศาสตร์ไว้รองรับ การแก้
ปัญหาต่าง เพื่อป้องกันการ  เสียโอกาส  ทางธุรกิจ ในกรณีที่มี ชิ้นงาน ขนาดใหญ่เข้ามาในช่วงเวลานี้สถานการณ์จึงเปรียบเสมือนการเดินทัพผ่าน
ภูมิประเทศที่ปิดล้อมที่ต้องใช้เวลา ให้น้อยที่สุด และต้อง กำหนด ยุทธศาสตร์
ไว้แก้ปัญหาที่ อาจเกิดขึ้นให้ลุล่วง ไป พื้นที่มรณะต้องสู้สุดกำลัง พื้นที่ มรณะ
คือ พื้นที่ซึ่งแม้จะสู้หรือไม่สู้ก็ต้อง มีการ สูญเสีย บาดเจ็บล้มตาย อย่างกรณี กองทัพอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ถูกกอง ทัพเยอรมนี ตีร่นถอยไป จน ตกทะเล ที่ดันเคิร์ก อันเป็นพื้นที่มรณะที่กองทัพ อังกฤษ จำต้องหัน หน้า มา ปักหลัก สู้จนสุดกำลัง เพราะหนีไปไหนไม่ได้อีกแล้ว การหัน กลับมา ต่อสู้นี้
ี้ถึงแม้จะไม่ได้รับชัยชนะ แต่ก็ทำให้ การสูญเสียน้อยลงกว่าที่จะเป็น และยัง เป็นการแพ้อย่างมีเกียรติ เปรียบเทียบ กับการ ทำงานแล้ว ก็เหมือน กับงาน ที่ประเมินแล้ว ไม่อาจบรรลุถึงเป้าหมาย ของงาน ที่ได้กำหนด ไว้ได้      การทอดหุ่ย ปล่อยให้เป็นไปตามบุญตามกรรมนั้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อาจ
มีความเสียหาย มากกว่าที่ควรจะเป็น หัวหน้างาน จึงควรควบคุม ดูแล ให้มี
การทำงาน นั้น อย่าง สุดกำลัง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานน้อยที่สุด เท่าที่จะเป็น ไปได้ อีกทั้งยังได้ชื่อว่า เป็นมืออาชีพผู้ไม่ละทิ้งหน้าที่ แม้จะ อยู่
ใน สภาวะลำเค็ญเพียงใดพึงหลีกเลี่ยงเส้นทางบางสาย"เส้นทางบางสายที่พึง
หลีกเลี่ยงขณะ เดินทัพ นั้น คือ เส้นทางที่อาจนำไปสู่ภัยพิบัติของฝ่ายเรา เป็น เส้นทาง ที่คาดหมาย ได้ว่า อาจ ถูกซุ่มโจมตีจากฝ่าย ข้าศึก เส้นทางเหล่านี้
มักเป็น เส้นทางที่สะดวกง่ายดายต่อการเดินทัพ  และยวนใจ   ต่อการ
ใช้ประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจาก ให้ความ สะดวก และรวดเร็ว ในการ เคลื่อน
กำลังพล แต่ ใน ขณะเดียวกันก็แฝงไว้ซึ่ง อันตราย ในแง่ของการทำงานแล้ว
เส้น ทาง บางสาย หมายถึง ขั้นตอนหรือวิธีการบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง แม้จะ
ช่วยให้ ้ทำงาน ง่ายขึ้นก็ตาม ละเว้น ไม่โจมตีบางกองทัพ" และ ไม่เข้าตี เมืองบางเมือง" ทั้ง กรณ ีในการสงคราม หมายถึง หลีกเลี่ยง การปะทะ ที่ทำ ให้สูญเสีย กำลังพล โดยไม่จำเป็น โดย มุ่งเป้า หมาย การใช้กำลัง ไปที่ภารกิจ หลัก ที่ ได้รับมอบหมายเปรียบเทียบ กับการ ทำงาน แล้วก็ เหมืนกับการ ทำงาน ที่หัวหน้างานไม่เข้าใจจุดประสงค์แท้จริงของงาน มัว ไปเอาใจใส่อยู่แต่ รายละเอียดปลีกย่อยที่ ไม่จำเป็น และทุ่มเท ทรัพยากรลงไปใน ส่วนนี้มากจน ทำงานได้ ไม่เรียบร้อย หรืออย่างร้าย ก็เสียงาน ไปเลยตัวอย่าง เช่นในการ ประชุมสัมมนาแห่งหนึ่งผู้จัดต้องการให้ผู้เข้าร่วมงาน มีความ ประทับใจ จึง ทุ่มเทความสนใจไปที่การจัดสถานที่ให้ดูหรูหรา เมน ูอาหารและของว่าง
เลิศรส จน ไม่ได้ ใส่ใจ ในเรื่อง การเตรียม เนื้อหา ที่จะสัมมนา เท่าที่ควร สิ่ง
ที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีเอกสาร ที่ใช้ ประกอบ การสัมมนา วิทยากร บรรยาย ใน หัวข้อต่างๆอย่างกระท่อนกระแท่นเนื่องจากไม่เหลือเงินพอที่จะจ้างวิทยากร
ผู้มีประสบการณ์ เลยใช้วิธีเอาพรรคพวกกันเองมาบรรยายแทนพอแก้ขัด ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นการสัมมนาอันหรูหราที่ประสบความ ล้มเหลว เพราะหลง
ประเด็นของงานนั่นเอง

ม่ยึดบางชัยภูมิ  "ชัยภูมิในการรบหมายถึง บริเวณที่เหมาะสมสำหรับการ
วางกำลังอย่างไรก็ตามชัยภูมิที่ยึดไว้นี้แม้จะมีลักษณะที่ดีแต่อาจไม่เกื้อหนุน
ต่อ การบรรลุภารกิจ การครอบครองไว้จึง เปล่าประโยชน์ เปรียบเทียบ กับการ
ทำงานแล้วบางชัยภูมิ ตามที่กล่าวหมายถึง เป้าหมายของงานที่ได้บรรลุแล้ว
แต่ว่าเมื่อภาวะแวดล้อมต่าง เปลี่ยนไป จุดหมาย ของงาน ที่ว่านี้ อาจ ไม่ ่เหมาะสมอีกต่อไปจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้สอดคล้องกับความผันแปร
ที่เกิดขึ้นดังนั้น การยึด เป้าหมายเดิมไว้จึงไม่มีประโยชน์อันใด แม้จะ เป็น เป้าหมายที่ดีก็ตามที่ซุนวูกล่าวว่าขณะการรบดำเนินไปขุนพลอาจไม่รับบาง
บัญชาจากผปกครอง ฟังดูเผิน แล้วจะขัดความรู้สึก เพราะ เหมือนกับ ให้
้ผู้ใต้บังคับบัญชา กระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาของตนเอง แต่แท้จริง แล้ว หาเป็นเช่นนั้น ไม่ ข้อความตอนนี้ซุนวู มีความหมายให้ แต่ละ ฝ่าย รับผิด ชอบงานในส่วน ของตน ไม่ให้ ก้าวก่ายกัน ซึ่งถ้าเกิด ขึ้นแล้ว มักทำ ให้เกิด ความสูญเสีย เช่น ในสมัยที่สหรัฐ รบในสมรภูมิเวียดนาม และ พ่ายแพ้ ใน ที่สุด ได้มีการวิเคราะห์กันว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ ผู้บังคับ บัญชา ใน สมรภูมิ ถูก ควบคุม การรบ ใน ทุกขั้นตอน จากผู้บังคับ บัญชา ในส่วนกลาง จนขาด ความ คิดริเริ่มในการ ตัดสินใจ ต่อปัญหาเฉพาะหน้า ที่ตนเผชิญอยู่ เพราะ ต้องรอ ฟังคำสั่งจากหน่วยเหนือตลอดเวลา การแก้ปัญหา การรบ จึง ไม่ ่ทันกาล ดังนั้น ผู้ปกครองเมื่อมอบภารกิจให้ขุนพลแล้วไม่ควรเข้าไป แทรก แซงการปฏิบัติ ในขณะที่การรบนั้นกำลังติดพันอยู่ จนกว่าภารกิจนั้นจะ
สิ้นสุดลง " และตัว ขุนพลเมื่อเข้าใจภารกิจที่ได้รับมอบแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟัง คำสั่งจากผู้ใดอีก ยกเว้น แต่จะ เป็น คำสั่ง ให้ยกเลิกหรือ เปลี่ยนแปลง ภารกิจ ไป แต่การทำงานใน ปัจจุบัน เรา มัก จะพบว่า หัวหน้างานเมื่อได้รับมอบงาน มาแล้ว มัก ประสบ ปัญหา ถูก แทรกแซง ใน รายละเอียดปลีกย่อย ทั้งจากผู้ มอบหมายภารกิจ หรือ จากผู้อาวุโสกว่าที่ต้อง การแสดงภูมิปัญญา แต่ไม่ได้ รับผิดชอบงานนั้น ซึ่งจะไม่ทำตามก็ขัดใจกัน ถ้าทำตามใจทุกท่าน งานก็ ็เสีย และเมื่อใด ก็ตาม ที่งานนั้นเกิดความไม่เรียบร้อย จะพบว่าผู้ชี้แนะ ทั้ง หลายก็มักหายเงียบไป ไม่ออกมาช่วย รับผิดชอบ แต่อย่างไร ตัวอย่างเห็น
ชัด อีกกรณีคือ นักมวยที่ชกบนเวทีย่อมได้รับภารกิจ ที่ชัดเจน จากหัวหน้า ค่ายคือชัยชนะ เมื่อขึ้น บนเวทีแล้วย่อมเป็น ความรับผิดชอบของนักมวย ที่ ี่ต้องทำงานให้บรรลุภารกิจคือ ชกให้ชนะในระหว่าง ชกนั้นนักมวยย่อมไม่ ่รับคำสั่งจาก ผู้ใดอีก แต่ถ้านักมวยต้องรอฟังคำสั่งจากพี่เลี้ยงในทุกขั้นตอนว่า จะออกอาวุธอะไรก็ไม่ต่าง กับ หุ่นยนต์ ที่ ขาดความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหา คงไม่อาจชกให้ชนะได้ แต่ถ้า พี่เลี้ยง ดูสภาพแล้วว่าชกต่อไปแล้วคงจะ เสีย มวย โยนผ้าขาวยอมแพ้ คำสั่ง อันนี้ นักมวยต้องยอมรับ เพราะถือว่าอยู่ใน ขอบเขตอำนาจของพี่เลี้ยงที่จะสั่งได้ที่ซุน วูกล่าวว่า ขุนพลที่ไม่เข้าใจ ลึกซึ้ง ถึงการใช้ความเปลี่ยนแปลงทั้งเก้าให้เป็นข้อได้เปรียบ แม้จะ รู้จัก คุ้นเคย กับภูมิประเทศก็มิอาจตระหนักถึงการ ใช้ภูมิประเทศ ใช้เป็นข้อได้เปรียบ การคุ้นเคยกับภูมิประเทศในที่นี้โดยอุปมา เปรียบ เหมือนการรู้อยู่ว่าปัญหาที่
หน่วยงานมีอยู่คืออะไรบ้าง แต่ปัญหาที่ว่ารู้ กันอยู่นี้ก็ไม่เคยได้รับการแก
้ไขเลย บางหน่วยงานอาจพยายามแก้ไขปัญหาโดยจัดสัมมนา เพื่อระดม
ความคิดกัน สัมมนากันอยู่ซ้ำซากปีละครั้งสองครั้งได้

อสรุปออกมาก็ปัญหาเดิมทุกครั้ง แต่ ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรเลย ก็เหมือนกับลักษณะที่ซุนวูว่า "คุ้นเคยกับ ภูมิประเทศ แต่ไม่ตระหนักถึงการ ใช้ภูมิประเทศ เป็นข้อได้เปรียบ" หรือ บางทีอาจเกิดจากการสร้างภาพว่ากำลัง ทำงานกันอยู่ให้เป็นรูปธรรม คือแสดงให้คนทั่วไปเห็นว่าทำงานแต่จริง ไม่ มีปัญญาจะแก้ปัญหาอยู่แล้ว ซุนวูได้แนะว่าผู้บังคับบัญชาที่ไม่เข้าใจ ถึงการ ใช้ความเปลี่ยนแปลงเก้าประการให้เป็นประโยชน์แต่รู้แค่ งู ปลา จะ ไม่สามารถแก้ปัญหา และไม่ควรให้นำหน่วยอีกต่อไป
     "
ถ้ามองเห็นข้อได้เปรียบในสภาวะคับขัน ก็จะได้รับชัยชนะ ถ้ามองเห็น อันตรายในสภาวะเป็นต่อ ก็สามารถขจัดความยุ่งยาก" ในประโยคนี้ซุนวูเตือน ให้อย่าท้อถอยในขณะมีปัญหาหนัก และอย่าหลงระเริงขณะงานกำลังไปด้วยดี ในช่วง ที่มีปัญหาหนักนั้น บุคคลทั่วไปอาจ ตกที่นั่งหน้ามืดหาทางออกไม่ได้ อย่างไรก็ตามแม้ปัญหาจะหนักหนาเพียงใด ถ้า ตั้งสติให้มั่น ค่อย คิดไตร่ ตรองพิจารณา ให้รอบด้าน ก็มักจะหาทางออกในการแก้ปัญหาได้เสมอ ส่วน งานที่เป็นไปด้วยดีนั้นถ้าไม่ระมัดระวัง อาจมีปัญหาเล็ก น้อย แอบแฝงอยู่ ทำให้งานล้มเหลวในตอนท้ายได้ ทำนองเรือล่มเมื่อจอด ดังนั้นจึงต้องขจัด ปัญหาเหล่านี้เสียก่อนที่จะเกิดผลกระทบ กับงานของเราได้ คืออย่าปลื้มกับ ความสำเร็จให้มากเกินไปจนขาดความระแวดระวังในการทำงานใด นั้น ควรทำการ พิเคราะห์ทุกแง่มุมของงานอย่างละเอียด มีการวางแผนที่ดี และมอบ หมายงานได้ถูกคน งานก็จะเสร็จเรียบร้อยได้ด้วยดี เปรียบโดยอุปมาก็เหมือน กับที่ซุนวูว่า "สำแดงให้ข้าศึกเห็นภัย ให้ข้าศึกเหนื่อยล้า โดย สร้างภัยหลาย ทาง และหลอกล่อด้วย ผลประโยชน์ ฝ่ายเราก็จะประสพชัยชนะ คือทำงานเสร็จ เรียบร้อยนั่นเองในวรรครองสุดท้าย ซุนวูเน้นย้ำ ถึงการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ เสมอ สำหรับการสงคราม เหมือนวลีที่ว่า "แม้หวังตั้งสงบจงเตรียมรบให้พร้อม สรรพ" ในแง่ของการทำงานแล้ว ผู้ทำงานจะต้องมีการฝึกฝนตนเอง หมั่นหา ความรู้เพิ่มเติม ให้พร้อม รับมือกับงานและปัญหาต่าง ที่จะเข้ามา ซึ่งอาจทำ ได้ด้วยการศึกษางานเดิม ที่มีอยู่ในสำนักงาน สนทนากับผู้รู้ หรือเรียน พิเศษนอกเวลางาน เป็นต้น ถ้าทำอย่างนี้ได้ มีงานใด เข้ามาก็พร้อมรับมือ ได้เสมอในตอนสุดท้ายของบทนี้ ซุนวูได้เตือนถึงอันตรายของขุนพลหรือหัว หน้างาน ประเภท ที่จะต้องให้มีน้อยที่สุดในกองทัพ หรือสำนักงานเพราะ ถ้ามีคนลักษณะนิสัยเหล่านี้มาก แล้วจะนำความเสียหายมาสู่กองทัพ หรือ สำนักงาน จึงต้องพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน และอย่าบรรจุลงในตำแหน่งงาน ซึ่งมี ดังนี้ คือ
  -
ขุนพลหรือหัวหน้างานที่มุทะลุ คนประเภทนี้จะทำอะไรก็กล้าบ้าบิ่น ไม่คิด หน้าคิดหลัง ไม่ฟังเสียงผู้ใด คิดแต่ จะตะลุยไปข้างหน้าอย่างเดียว ถ้าเป็นการ ทำงานก็จะทำให้หน่วยสูญเสียทรัพยากรมากมาย การงานล้มเหลวตัวเองถูก ปลดออกในที่สุด ถ้าเป็นการรบ ลูกน้อง ก็จะตามไม่ทัน ต้องตกอยู่ในวงล้อม ข้าศึก และถูกสังหารในที่สุด ภูมิหลังของหัวหน้างานประเภทนี้ มักถูกเลี้ยงดูมา แบบเข้มงวด เก็บกดมาตั้งแต่สมัยเด็ก เมื่อมีอำนาจเลยใช้จนขาดสติ

- ขุนพลหรือหัวหน้างานที่ขี้ขลาด คนประเภทนี้จะเกรงต่อความรับผิดชอบ กลัวว่าตัดสินใจแล้วจะผิดพลาด ถ้ามีงานต้องเผชิญหน้ากับบุคคลภายนอก หรืองานยาก แล้ว จะให้ลูกน้องรับหน้าที่แทน โดยอ้างว่า ป่วยบ้าง ติดธุระ งานแค่นี้ไม่ต้องถึงมือผม หรือใช้เทคนิคซื้อเวลา เก็บดองเรื่องไว้ รอให้หัวหน้า คนใหม่มาตัดสินใจแทน สำนักงานที่มีคนประเภทนี้เป็นหัวหน้า จะมีงานคั่ง ค้างสะสมจำนวนมาก ปัญหาไม่เคยได้รับการแก้ไข ถ้าเป็นการรบจะให้ลูกน้อง ออกหน้า ตัวเองอยู่ข้างหลัง จึงมักถูกจับเป็นเชลยและได้รับการดูถูกเหยียด หยาม จากลูกน้อง ภูมิหลังของหัวหน้างานประเภทนี้มักถูกเลี้ยงมาแบบไข่ใน หิน มี ผู้ใหญ่ช่วยคิดแทน ตัดสินใจแทนมาตั้งแต่ เด็ก โตขึ้นเลยกลายเป็นคน โลเล ไม่กล้า รับผิดชอบอะไร
  -
ขุนพลหรือหัวหน้างานที่ลุแก่โทสะง่าย คนประเภทนี้จะระเบิดอารมณ์ใส่ ทุกคนที่ตนไม่พอใจ ชอบดุด่าผู้ใต้บังคับบัญชาในที่สาธารณะให้ได้รับความ อับอาย ลูกน้องจะกลัวหลีกเลี่ยงไม่ยอมเข้าใกล้ถ้าไม่จำเป็น และไม่จงรักภักดี ถ้าถูกยั่วยุจะขาดสติ เมื่อมีปัญหาใด คนรอบข้างมักวางเฉย ไม่ให้ความช่วย เหลือ ต้องสู้โดยลำพังจนตัวตาย หรือเสียงาน ภูมิหลังมักถูกเลี้ยงดูมาแบบคุณ หนู ได้รับการตามใจจนเคยตัว
  -
ขุนพลที่ยึดมั่นในกฎระเบียบ และเกียรติ คนประเภทนี้จะรักกฎระเบียบ และเกียรติยิ่งชีวิตแม้ปัญหาที่เขาเผชิญอาจแก้ได้ด้วยการปฏิบัตินอกกฎระเบียบ ไปบ้างก็ไม่ยอมทำ หรือถ้าคิดว่าการทำงานการใดแม้บรรลุผลแต่จะทำให้เขา เสียหน้า เขาก็จะยอมสูญเสียผลประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อรักษากฎระเบียบ หรือหน้าตาของตนเองไว้ก่อน ภูมิหลังมักถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัว ที่เคร่งครัด ในจารีตประเพณี หรือครอบครัวที่คิดว่าตนอยู่ในฐานะทางสังคมสูงกว่าผู้อื่น
  -
ขุนพลหรือหัวหน้าที่ใจอ่อน คนประเภทนี้ไม่ว่าจะทำอะไรก็กลัวคนอื่นจะ ไม่เห็นด้วย การตัดสินใจแก้ไขปัญหาจึง ไม่ยืนอยู่บนหลักการและเหตุผล ไม่ว่าใครออกความเห็นอย่างไรก็เห็นตามด้วย เลยถูกลากไปทางโน้นทีทางนี้ที เหมือนไม้หลัก ปักเลน ที่หาความแน่นอนไม่ได้ ถ้าเป็นผู้นำในสนามรบก็คง ถามความเห็นจากลูกน้องทุกคน และเห็นพ้องตามไปหมดจนออกคำสั่งไม่ถูก ลูกน้องใกล้ชิดจะปั่นหัวให้เป็นร่างทรงทำตามสิ่งที่ลูกน้องต้องการได้ง่าย เพราะ ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ภูมิหลังมักถูกรังแกมากในวัยเด็ก
     
จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้น ต้องพยายามให้มีหัวหน้างานทั้ง ประเภท นี้น้อยที่สุดในสำนักงานหรือกองทัพใด เพราะยิ่งมีมากก็นำความเสียหายมาสู่ สำนักงาน หรือกองทัพ การบรรจุหัวหน้างานจึงต้องพินิจพิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ อย่างถี่ถ้วน


"
คนโง่เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง คนฉลาดเรียนรู้จากประสบการณ์ ของผู้อื่น"
บิสมาร์ก /..

ตำราพิชัยสงครามซุนวู (ตอนที่ )

 ในการเดินทัพและพิเคราะห์ข้าศึกนั้นเป็นดังนี้การเคลื่อนกำลังผ่านหุบเขาให้เลือกทำเลที่สามารถ ป้องกันตัวได้ และเป็นที่สูง ถ้าข้าศึกอยู่ที่สูงอย่าปีนขึ้นไปรบด้วย นี้คือวิถีแห่งการ ใช้กองทัพ ในเขตภูเขา เมื่อข้ามแม่น้ำมาแล้ว รักษาระยะให้ห่างจากข้าศึก ขณะข้าศึกกำลังลุยข้ามน้ำ อย่าลงไปต่อสู้ด้วยในน้ำ รอจนกระทั่งกำลังข้าศึกครึ่งหนึ่งกำลังขึ้นจากน้ำจึงเข้าโจมตีฝ่ายเราจึงได้เปรียบ ถ้าจะเข้าต่อสู้กับข้าศึก อย่ากระจายกำลังออกเผชิญหน้าริมฝั่งน้ำ ให้ตั้งมั่นบนที่สูง อย่าเดินทัพสวนกระแสน้ำ นี้คือวิถีแห่ง การสู้รบ บริเวณแม่น้ำเมื่อเดินทัพผ่าน พรุ หนองบึง ให้เป็นไปอย่าง รวดเร็ว ถ้าจำต้องรบในบริเวณนี้ จงวางกำลัง อยู่ ใน บริเวณที่หญ้าขึ้น และมีป่าโกงกางเป็น ฉากหลัง นี้คือวิถีแห่งการใช้กำลังทหาร ในเขตพรุ และ หนองบึงบนพื้นราบให้ใช้ภูมิ ประเทศง่ายแก่การเคลื่อนกำลัง ให้ปีกขวาและด้านหลัง เป็นที่สูงพื้นที่สังหาร อยู่ด้านหน้า ภูมิประเทศตั้งมั่นอยู่ด้านหลัง นี้คือวิถีแห่งการใช้กำลัง บนพื้นราบ การเดินทัพทั้งสี่แบบที่ ี่กล่าว ทำให้กองทัพเราเป็นฝ่ายได้เปรียบ เป็นวิธีที่จักรพรรดิเหลือง ใช้พิชิต ได้ถึงสี่แคว้นมาแล้ว ในอดีตกองทัพ จึงชอบที่สูง หลีกเลี่ยงที่ต่ำ ชอบที่สว่างเกลียดที่มืด เหล่านี้ช่วยรักษา ชีวิตไพร่พล ให้อยู่ ในสถานะ ครองความ ได้เปรียบ กองทัพที่หลีกเลี่ยงการป่วยไข้ของกำลังพลได้มาก ย่อมได้รับ ชัยชนะในเขตภูเขา และคันดินสูง ให้สิ่งเหล่านี้อยู่ด้านหลัง และทัพเราอยู่ในด้านรับแสงสว่าง นี้คือการใช้ภูมิประเทศตาม ธรรมชาติให้เป็น ข้อได้เปรียบเมื่อฝนตกด้านต้นน้ำจะปรากฏพรายฟองน้ำ ถ้าต้องการข้ามลำน้ำจงรอ ให้ระดับน้ำคงที่เสียก่อน ต้องเคลื่อนกำลังผ่านพื้นที่มรณะอย่าง รวดเร็ว เช่น โตรกรับน้ำไหลบ่าจากภูเขา ที่เป็นแอ่ง ที่โอบล้อม ที่ตัน ทางระหว่างผาชัน สิ่งเหล่านี้พึงหลีกเลี่ยง เมื่อเราอยู่ห่างสิ่งเหล่านี้ข้าศึกจะ เป็นฝ่ายถูกสถานการณ์บังคับ ให้เป็นฝ่ายเข้าใกล้ และมีภูมิประเทศ มรณะเหล่านี้อยู่ด้านหลังของตน
     
เมื่อเดินทัพผ่านหุบเขาซอกเขาที่ลุ่มมีพุ่มไม้และหญ้าสูงป่าเขาหรือพื้นที่หนาแน่นด้วยพุ่มไม้และ
เถาวัลย์ ต้องมีการลาดตระเวณตรวจการณ์อย่างถี่ถ้วน เพราะสถานที่เหล่านี้มักถูกซุ่มโจมตีจากข้าศึก หรือเป็นท ี่หลบซ่อนของจารชนถ้าเราเข้าใกล้ข้าศึก แต่ฝ่ายนั้นตั้งอยู่อย่างสงบ แสดงว่าฝ่ายเรากำลังจะถูก โจมตี ถ้าเรายังอยู่ห่างข้าศึก แต่ฝ่ายนั้นตะโกนท้าทาย แสดงว่าต้องการให้ฝ่ายเรารุกเข้าหา เนื่องจากอยู่ใน ชัยภูมิที่ได้เปรียบกว่าถ้ามีการสั่นไหวของไม้ในป่า ข้าศึกกำลังมุ่งตรงมายังเรา ถ้าเห็นเครื่องกีดขวาง จำนวนมากในกอหญ้า ข้าศึกต้องการให้เราพิศวง ถ้าเห็นนกโผบินขึ้นฟ้า ข้าศึกกำลังซุ่มโจมตี ถ้าสัตว์ แตกตื่น แสดงว่าจะมีการโจมตีอย่างฉับพลัน

ถ้าฝุ่นฟุ้งสูง รถศึกกำลังเข้ามา ถ้าฟุ้งเตี้ยแผ่เป็นวงกว้างทหารราบกำลังเข้ามา ถ้าฟุ้งกระจาย บาง ข้าศึกกำลังเก็บฟืน ถ้าฟุ้งขึ้นเป็นหย่อม ข้าศึกกำลังตั้งค่ายถ้าข้าศึกเจรจา ด้วยความ นุ่มนวล แต่เสริมกำลัง แสดงว่ากำลังจะบุก ถ้าเกรี้ยวกราด แต่เคลื่อนทัพไม่เป็นระเบียบแสดงว่า กำลังจะ ถอย ถ้ารถรบข้าศึกกระจายกำลังออกเป็นปีกเข้าโอบล้อม แสดงว่ากำลังจะเข้าตีถ้าข้าศึก เจรจา สันติภาพ โดยปราศจากการเสนอเงื่อนไขใด แสดงว่ากำลังใช้เล่ห์เหลี่ยม ถ้าข้าศึก เคลื่อนกำลังพล เข้ามาอย่างเป็นรูปกระบวน ด้วยความรวดเร็ว แสดงว่าการรบ เป็นไปตามแผนที่ วางไว้ถ้าข้าศึกเข้า รบ แบบกึ่งรุกกึ่งถอย ต้องการยั่วยุให้ฝ่ายเราติดตามถ้าข้าศึกยืนพิงอาวุธ แสดงว่าหิวโหย คนตักน้ำ ข้าศึก ดื่มน้ำก่อนกลับค่ายแสดงว่าทหารข้าศึกกำลังกระหาย อยู่ในภาวะ เป็นต่อ แต่ไม่รุก แสดงว่า เหนื่อยอ่อนถ้าข้าศึกฆ่าและกินม้าของตน ทัพกำลังขาดเสบียง ถ้าละทิ้งเครื่องครัว และไม่กลับเข้า ค่าย แสดงว่าข้าศึกจะสู้เฮือกสุดท้ายแล้วถ้านกจับกลุ่มกัน แสดงว่าบริเวณนั้นปราศจากข้าศึก ถ้าข้า ศึกส่งเสียงอื้ออึงยามค่ำคืน แสดงว่าหวาดกลัว ถ้ากองทัพ ระส่ำระสาย แสดงว่าแม่ทัพไม่เด็ดขาด ถ้าธงทิวโอนเอียง แสดงว่าข้าศึกอลหม่าน ถ้านายทหาร แสดงอาการโกรธเกรี้ยว แสดงว่าข้าศึก กำลังอิดโรยถ้าข้าศึกจับกันเป็นกลุ่ม กระจัดกระจาย ซุบซิบซึ่งกันและกัน แสดงว่าแตกสามัคคี ถ้ามีการให้รางวัลกันบ่อยครั้ง แสดงว่าอยู่ในภาวะสิ้นหวัง ถ้ามีการขู่จะลงโทษทัณฑ์บ่อยครั้งแสดงว่า อยู่ในภาวะสุดจะยุ่งยาก เมื่อใดที่มีการลงโทษกัน อย่างรุนแรง แล้วกลัวกำลังพลกระด้างกระเดื่อง ก็ถือว่าเป็นที่สุดของความโง่เขลา ถ้าข้าศึกส่งฑูต พร้อมข้อเสนอมาอย่างลับ แสดงว่าต้องการ พักรบชั่วขณะถ้าข้าศึกที่ฮึกเหิม เดินทัพเข้าหา ฝ่ายเรา แต่รักษาระยะห่างไว้โดยไม่เข้าปะทะ หรือ เผชิญหน้าฝ่ายเรา ต้องมีการพิเคราะห์อย่าง ระมัดระวังยิ่งในการรบนั้นกำลังพล ไม่จำเป็นต้องมาก กว่าข้าศึก สิ่งนี้มีความหมายเพียงว่าเรา ไม่อาจรุกคืบหน้าอย่างรุนแรงเท่านั้น การรวมพลที่เข็มแข็ง วิเคราะห์ข้าศึก แล้วเข้าโจมตี ก็เป็นการเพียงพอแล้ว มีเพียงขุนพลที่ประมาทฝ่ายข้าศึก ละเลย การวางแผนยุทธศาสตร์เท่านั้น ที่จะหลีกเลี่ยงไม่พ้นความสูญเสีย และถูกจับเป็นเชลยถ้าเริ่มต้น ด้วยการขู่ว่าจะลงโทษไพร่พล ก่อนที่จะร่วมรบ กำลังพลก็จะรู้สึกต่อต้าน เมื่อรู้สึกต่อต้านก็เป็นการ ยากที่จะใช้งาน ถ้าไม่มีการ คาดโทษหลังได้ร่วมรบกันแล้ว ก็ยากที่จะใช้งานเช่นกันดังนั้นถ้า ปกครอง บังคับบัญชา ด้วยความ เที่ยงธรรม รวมไพร่พลเป็นเอกภาพด้วยวินัยทหาร ทำได้ดังนี้แล้ว จะครองใจไพร่พล อย่างแน่นอน ถ้าสั่งการอย่างเด็ดขาดไม่โลเล ไพร่พลจะยอมรับ สั่งการโลเลไม่อยู่ ู่กับร่องรอย ไพร่พลไม่เชื่อถือ ขุนพลผู้สั่งการอย่างเด็ดขาดแน่นอน ย่อมมีความสมานฉันท์กับ กำลังพลในกองทัพ

วิเคราะห์
   
ในบทว่าด้วยการเดินทัพนี้ ซุนวูอธิบายถึงวิธีการเคลื่อนทัพ และวางกำลังในภูมิประเทศต่าง กัน ให้เป็นคุณแก่ฝ่ายเรามากที่สุด ทั้งยังแนะเคล็ดในการสังเกตพฤติกรรมของข้าศึกในโอกาสต่าง อันเป็นสิ่งบอกเหตุใช้ทำนายเหตุการณ์ ที่จะเกิดขึ้นถัดไป ปิดท้ายด้วยหลักการที่ขุนพลควรใช้ใน การปกครอง การใช้งาน และการครองใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ได้ผลในการเดินทัพผ่านเขตภูเขา ซุนวูแนะ ให้อยู่ในชัยภูมิสูงแต่ถ้าฝ่ายตรงข้ามอยู่ในชัยภูมิดังกล่าวก็ละเว้นอย่าไป ต่อกร ด้วย เนื่องจากผู้ที่อยู่ในที่สูงย่อมเห็นความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ ต่ำกว่าได้อย่างชัดเจนจึงมี อิสระมากกว่าในการ ดำเนินกลยุทธ์รวมทั้งการเลือกใช้อาวุธกระทำต่อผู้อยู่ข้างล่าง อย่างสะดวก กว่า ในขณะที่ ผู้อยู่เบื้อง ล่าง ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการเข้าตีผู้ที่อยู่ข้างบน การมองเห็น เหตุการณ์ข้างบน รวมทั้ง การ ใช้อาวุธก็มีขีดจำกัดมากกว่าฝ่ายตั้งมั่นในที่สูง การรบ กับข้าศึก ในที่สูงกว่าจึงพึงหลีกเลี่ยง มิฉะนั้นอาจเกิดความสูญเสียอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ การทำงานแล้ว การตั้งมั่นอยู่ในชัยภูมิ สูง ก็เสมือนกับงานที่ผู้นำหน่วยต้องรู้ปัญหางาน ที่เผชิญอยู่ อย่างชัดเจน ประดุจมองข้าศึกจากที่สูง ทั้งยังสามารถเลือก วิธีการต่าง มาจัดการกับปัญหา ที่เกิดขึ้นได้อย่างหลากหลายเช่นเดียวกับการ มี อิสระ ในการเลือกใช้อาวุธกับข้าศึกนั้นเอง แต่สำหรับการทำงานที่ผู้รับผิดชอบไม่ทราบถึงประเด็นของปัญหา และไม่รู้วิธีการที่จะแก้ปัญหานั้นก็เหมือนกับผู้อยู่ในที่ต่ำกว่าข้าศึก ถ้าขืนทำงานไปแบบสุ่มเสี่ยงก็คงต้องเสียงานเหมือนหาญ เข้าต่อกรกับข้าศึกในที่สูงนั้นเองการรบในเขตแม่น้ำซุนวู ให้เข้าตีข้าศึก ในขณะที่ครึ่งหนึ่ง ของข้าศึกกำลังจะขึ้นฝั่ง และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในน้ำ โดยให้ตั้งมั่น รออยู่บนที่ สูงริมฝั่ง ในการเข้าตี ขณะที่ข้าศึกกำลังจะขึ้นจากน้ำนั้น ข้าศึกจะเป็นฝ่ายตั้งรับ และเพลี่ยงพล้ำ เพราะเคลื่อนไหว ได้อย่างจำกัด ยานรบ สัตว์ต่างจะติดหล่ม เพราะกำลังเคลื่อนทัพผ่านดินนุ่มขอบฝั่งทหารจะบาดเจ็บล้มตายยานรบสัตว์พาหนะ ถูกทำลาย และถูกฆ่าจนกลายเป็นสิ่งกีดขวาง กำลังพลอีกครึ่งหนึ่งที่ยังอยู่ในน้ำ หากจะถอยกลับฝั่งที่ข้ามมาก็ไกลน้ำยังไหลเชี่ยวเคลื่อนกำลังไม่สะดวกหากจะ รุกต่อเพื่อขึ้นฝั่งมาประจันหน้าก็เป็นฝ่ายถูกกระทำ จึงเปรียบเสมือนเป้านิ่ง ให้ฝ่ายอยู่บนฝั่งใช้อาวุธระยะไกลยิงทำลายอย่างสนุกมือ ซุนวูยังห้ามเดินทัพสวนกระแสน้ำ เนื่องจากไพร่พล สัตว์ พาหนะ และยานรบต้องออกแรงมากกว่าปกติในการเดินสวนกระแสน้ำ จะทำให้หมดเรี่ยวแรงเสีย ก่อนที่จะเข้าต่อกรกับฝ่ายตรงข้าม อันนี้ก็คล้ายกับสุภาษิตไทยที่ว่า "น้ำเชียว อย่าขวางเรือ" เพราะเรือจะล่มพรุหนองบึงที่เหล่านี้เป็นที่ลุ่มชุ่มน้ำ มีต้นไม้หรือหญ้า ขึ้นเป็นหย่อม ในบริเวณมีดินการเดินเท้าหรือพายานพาหนะผ่านทำได้ลำบาก และเชื่องช้า จึงควรผ่านอย่างรวดเร็ว ถ้าเลี่ยงการปะทะบริเวณนี้ไม่ได้แล้วซุนวูแนะให้วางกำลังบริเวณที่มีหญ้า ขึ้น และมีป่าโกงกางเป็นฉากหลังเนื่องจากบริเวณที่หญ้าขึ้นพื้นจะแน่น และมั่นคงกว่า บริเวณอื่นของพรุ และหนองบึง ป่าโกงกางที่เป็นฉาก หลังยังช่วยกำบังกำลังฝ่ายเรา มิให้ข้าศึก เห็นได้ชัดเจนอีกด้วย เปรียบเทียบกับการปฏิบัติงานใด พรุ หรือหนองบึง คืออุปสรรคเล็ก น้อย ของการทำงานที่ต้องขจัดให้ผ่านพ้นไปโดยรวดเร็ว ถ้ายังมัวยุ่งกับปัญหาเล็ก น้อย นานเกินไปก็เปรียบเสมือนกับการเดินทัพผ่านพรุอย่างเชื่องช้า ที่อาจส่งผลทำให้เกิดความเสียหายกับงานส่วนใหญ่ได้

การ รบในพื้นราบ ซุนวูแนะให้เลือกเส้นทางง่ายแก่การเคลื่อนทัพ ให้ปีกขวาและด้านหลัง เป็นที่สูง พื้นที่สังหาร อยู่ด้านหน้า ทั้งนี้เพื่อที่จะไม่ต้องรับมือข้าศึกหลายทาง เพราะปีกขวาและ ด้านหลังซึ่งเป็นที่สูง จะเป็นปราการ ธรรมชาติช่วยปกป้องข้าศึกที่จะมาจากทางด้านนั้นอยู่แล้ว จึงเหลือเพียงด้านหน้าด้านเดียว ที่พิเคราะห์แล้วว่าเป็น ด้านที่ข้าศึกน่าจะเข้ามาปะทะ ส่วนที่เหลือว่างด้านปีกซ้ายนั้น กำหนดให้เป็นความเสี่ยง ที่ประเมินว่าข้าศึก ไม่น่า จะบุกเข้ามา แต่ถ้าเป็นดังนั้นก็ยังสามารถเคลื่อนย้ายกำลังจากด้านหน้าไปรับมือได้ทันที การรบในที่ราบที่ซุนวู ได้กล่าวนี้ เปรียบเสมือนการทำงานที่พิเคราะห์แก้ไขปัญหา การทำงานอย่างรอบด้าน ด้วยเหตุด้วยผลอย่างไร ก็ตามการทำงานใด แม้จะพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว ยังอาจมีข้อบกพร่อง ที่ยังมองไม่เห็นขณะนั้น หลงเหลืออยู่ เหมือนกับการเว้นปีกซ้ายว่างไว้ แต่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็แก้ไขได้ไม่ยากนัก เพราะได้อุดช่องโหว่ไว้ เกือบทุกด้านแล้ว
     
การทำงานใด หัวหน้างานจึงต้องรวบรวมข้อมูลพินิจพิเคราะห์ประเด็นต่าง อย่างแจ่มแจ้ง จนเห็นทางแก้ไข ปัญหาอย่างชัดเจน แล้วจึงตัดสินใจสั่งการ เปรียบประหนึ่งการอยู่ในที่สูง หรือการรบในขณะมีแสงสว่าง ซึ่งสามารถเห็น การเคลื่อนไหว และการจัดวางกำลังของข้าศึกอย่างชัดเจน ขุนพลจึงดำเนินกลยุทธ์ของตนอย่างได้ผล อนึ่งการทำงาน นั้นต้องให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีการผ่อนคลายบ้างตามโอกาสที่เหมาะสม เพราะถ้ากดดันให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดการเจ็บป่วยจนทำงานได้ไม่เต็มที่ เหมือนที่ซุนวูกล่าวว่า "กองทัพที่หลีกเลี่ยงการป่วยไข้ของ กำลังพล ได้มากย่อมประสบชัยชนะ" สำหรับการรบในเขตภูเขา และคันดินสูง ที่ต้องให้ภูมิประเทศเหล่านี้อยู่เบื้องหลัง และทัพเราอยู่ด้านรับแสงสว่าง เหตุผลก็ทำนองเดียวกับการรบในพื้นราบที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว
      
ในการเดินทัพ ข้ามลำน้ำเมื่อเห็นพรายฟองน้ำไหลมาตามกระแสน้ำ เป็นสิ่งบอกเหตุว่า มีฝนตกอยู่ต้นน้ำ การที่ซุนวูให้รอจนกว่าระดับน้ำจะคงที่เสียก่อนจึงค่อยข้าม เพราะขณะที่กำลัง ข้ามลำน้ำ นั้นระดับน้ำอาจสูงขึ้น อย่างรวดเร็วจนไหลกวาดท่วมไพร่พล และยานพาหนะ ไปกับ สายน้ำได้ ดังนั้นจึงควรตั้งมั่นอยู่ริมฝั่ง รอดูเหตุการณ์ เสียก่อนจึงค่อยข้าม เปรียบกับการทำงาน แล้ว ก็เหมือนกับการรอช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการปฏิบัติบางสิ่งบางอย่าง ในภาวะที่ยังมี ความผันผวนไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ราคาของหุ้นมักขึ้นหรือลง ตามสภาวะ ทางการเมือง ซึ่งถ้ารัฐบาล ขาดเสถียรภาพแล้วมักจะฉุดราคาหุ้นลงด้วยเสมอ นักลงทุนจึงมัก จะรอและ เลือกลงทุน ในตลาดหุ้นในขณะที่ บรรยากาศทางการเมืองอยู่ในภาวะปกติ ซึ่งก็ เหมือนกับ การรอให้ระดับน้ำคงที่ก่อนข้ามลำน้ำนั่นเอง

สำหรับ พื้นที่มรณะคือพื้นที่เสี่ยงอันตราย เช่นโตรกริมน้ำ แอ่ง ที่โอบล้อม ทางตัน ทางระหว่างผาชัน ที่เหล่านี้ถ้าหลีกเลี่ยงได้อย่าเดินทางผ่าน เนื่องจากกองทัพอาจได้รับการสูญเสียจากทั้งภัยธรรมชาติ เช่น น้ำไหลบ่ามาท่วมอย่างฉับพลัน มีพื้นที่เคลื่อนย้ายกำลังจำกัด เมื่อถูกโจมตีก็ยากต่อการป้องกันตัว ซึ่งเป็นลักษณะทำนองเดียวกันกับบริเวณซอกเขา ป่าเขา พื้นที่หนาแน่นด้วยพุ่มไม้และเถาวัลย์ ที่อาจถูกซุ่มโจมตีจากข้าศึกได้ บริเวณเหล่านี้ถ้าจำเป็นต้องผ่านให้กระทำอย่างรวดเร็ว และเพิ่มการตรวจการณ์อย่างถ้วนถี่ เปรียบเทียบกับการทำงานแล้วก็เหมือนกับความเสี่ยงในการทำงาน ซึ่งถ้าไม่จำเป็นก็ควรหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเสี่ยงแล้วต้องดำเนินไปด้วยความระมัดระวังยิ่ง ตัวอย่างเช่นการกู้เงินอัตราดอกเบี้ยต่ำที่มีช่วงระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สั้น มาลงทุนในกิจการค้า ซึ่งมีความเสี่ยงจากการที่ไม่อาจสามารถดำเนินการจนมีผลกำไรพอเพียงที่จะชำระ หนี้ให้ครบก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้ เป็นสิ่งไม่ควรกระทำ อย่างไรก็ตามถ้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้เงินมาเสริมสภาพคล่องใน ธุรกิจที่ดำเนินอยู่ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเลิกกิจการไปแล้ว ก็ต้องกู้เงินดังกล่าว แต่ต้องศึกษาพิจารณาหนทางดำเนินการอย่างรอบคอบให้แน่ใจว่าจะไม่มีการผิดพลาด เกิดขึ้น ซึ่งเหมือนกับการตรวจการณ์อย่างถ้วนถี่ ในการผ่านพื้นที่มรณะหรือล่อแหลมนั่นเอง
ส่วนประเด็นอื่น ที่ซุนวูกล่าวไว้เป็นข้อสังเกต เช่น ข้าศึกท้าทายแสดงว่าต้องการให้ฝ่ายเรารุกเข้าหา ฝุ่นฟุ้งสูงรถข้าศึกกำลังเข้ามา……รบถึงรุกกึ่งถอย ยั่วยุให้ติดตาม ฯลฯ เหล่านี้เป็นสิ่งบอกเหตุที่เป็นตัวชี้เหตุการณ์ต่อเนื่องที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งผู้อ่านสามารถประจักษ์ได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว จึงไม่ขอขยายความเพิ่มเติม ซึ่งสิ่งบอกเหตุต่าง เหล่านี้ในการทำงานต่าง โดยทั่วไปผู้ปฏิบัติงานใด ก็สามารถตั้งข้อสังเกตได้จากประสบการณ์จากการทำงานนั้น หรือ สอบถามผู้รู้ในสายงานนั้นได้ จะทำได้ดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ เชาว์ปัญญาและปฏิภาณของแต่ละบุคคล
ประเด็นที่น่าสนใจในส่วนท้ายของบทนี้คือ เรื่องของการปกครองคนในกองทัพ ซึ่งปฎิกริยาของทั้งขุนพล และไพร่พลจะเป็นตัวบ่งชี้ขวัญกำลังใจของกองทัพได้เป็นอย่างดี ดังเช่นที่ซุนวูกล่าวว่า "ถ้ากองทัพระส่ำระสาย แสดงว่าแม่ทัพไม่เด็ดขาด ธงทิวโอนเอียงไพร่พลกำลังอลหม่าน นายทหารโกรธเกรี้ยว แสดงว่ากำลังพลอิดโรย"

การที่แม่ทัพขาดความเด็ดขาด เมื่อสั่งการจึงเกิดความโลเลไม่แน่นอนเดี๋ยวสั่งรุกเดี๋ยวสั่งถอยโดย ขาดความสอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งอาจเกิดจากความโง่เขลาของตัวแม่ทัพเอง หรือการ ขาด ความมั่นใจในตนเองของตัวแม่ทัพ ผลที่เกิดขึ้นคือ ความระส่ำระสายจนกำลังพล เคลื่อนย้าย ไป
ซ้ายท ีขวาที ธงประจำหน่วยโอนเอียงไปมาอย่างสับสน นในที่สุดนายทหารระดับล่างลงไปที่รับ คำสั่ง ต่อจากแม่ทัพก็สุดที่จะควบคุมไพร่พลให้เป็นรูปขบวนรบที่ถูกต้องเพราะต้อง เคลื่อนกำลังไปมามิได้ ้หยุดจนไพร่พลอิดโรยอ่อนล้า นายทหารอยู่ในความเครียดจนเกิดความเกรี้ยวกราดเอากับ ไพร่พล ซึ่งทำนองเดียวกันกับการทำงานที่ หัวหน้างานมีความโลเล ในการสั่งการ หรือขาดความ สามารถที่ ี่จะแนะนำแนวทางการทำงานให้ลูกน้อง เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาสอบถามก็อาจบอกว่า "ลองคิด ดูแล้วเสนอมาก็แล้วกัน" หรืออีกประเภทหนึ่งคือพูดจาในลักษณะ เปรย แต่ไม่กล้าสั่ง ตรง เพราะตัวเอง ไม่แน่ใจว่าสั่งไปแล้วจะถูกต้อง หัวหน้าประเภทนี้จะปล่อยให ้ลูกน้องทำงานโดย ไม่กำกับดูแลจนเสร็จสิ้นกระบวนการ แล้วมักจะสั่งแก้ไขงานในนาทีสุดท้าย ต้องกลับไปเริ่มงานกัน ใหม่ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า จนลักษณะที่กำลังพลในสำนักงานแตกความสามัคคีก็เช่น เดียวกับที่ ซุนวู กล่าวไว้คือ จะมีการจับกลุ่ม ซุบซิบนินทาในสำนักงาน แบ่งเป็นกลุ่มพวกใครพวกมัน ไม่สนับสนุน ซึ่งกันและกัน มีการถ่วงงานให้ ล่าช้า เมื่อไม่รู้ว่าจะจูงใจให้ทำงานกันอย่างไร หัวหน้างาน ก็อาจใช้ ้วิธีแก้โดยการเอารางวัลเข้าล่อโดย ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุแท้จริงซึ่งไม่ว่าจะแจกรางวัลกันบ่อย เพียง ไร ก็ไม่อาจแก ้สถานการณ์ได้เมื่อแจกรางวัล ไม่ได้ผล สูตรสำเร็จทหัวหน้างานเอามาใช้กัน คือขู่ให้ลูกน้องกลัว ซึ่งมักเกิดขึ้นกับหัวหน้างานที่ขาดความรู้ ความสามารถ และไม่มีลักษณะผู้นำ ที่มักจะประพฤติเช่นนี้ซึ่งตามสภาพทางจิตวิทยาแล้วผู้ที่ขู่คือผู้ที่กำลังอยู่ในภาวะหวาดกลัวผู้ที่ตนขู่
ตัวอย่างเช่น อึ่งอ่างที่พองตัวเต็มที่ แมงป่องที่ชูหางสูง ฯลฯ ขู่เข้าหลายครั้ง ไม่ได้ผลก็เลยสั่งลงโทษ อย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็กลัวลูกน้องที่เหลือจะกระด้างกระเดื่อง ซึ่งซุนวู กล่าวว่า นับเป็นที่สุด ของความโง่เขลาของแม่ทัพผู้นั้นกน้องเหนื่อยล้าไปตาม กันเพราะต้องทำงานชิ้นเดิม ซ้ำซาก ไม่รู้จบในการทำงานใด นั้น ถ้าเราทุ่มเททรัพยากรเต็มที่ในทุกด้าน งานก็อาจคืบหน้าไปได้ ้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามในการทำงานที่มีการวิเคราะห์งานอย่างรอบคอบทุกแง่มุมโดยหัวหน้า งาน ผู้เฉลียวฉลาด รอบคอบก็จะช่วยให้ประหยัดทรัพยากรของหน่วยไปได้มาก และงานยังดำเนิน ไปจนเสร็จสมบูรณ์เหมือนดังที่ซุนวูว่า การรบไม่จำเป็นต้องมีกำลังพลมากกว่าข้าศึก ให้มีการรวม พล ที่เข้มแข็ง วิเคราะห์ข้าศึกและเข้าตีก็บรรลุผลแล้ว การประมาทขาดการวางแผน ยุทธศาสตร์ ์เท่านั้นที่จะทำให้เกิดการสูญเสีย

ประเด็นด้านการปกครองอีกอันหนึ่งคือ หัวหน้างานที่ใช้วิธีข่มขู่ลูกน้องก่อนจะเริ่มทำงานโดยคิดว่า จะให้เกิดความเกรงกลัวจะได้ทำงานให้ แต่ผลที่ได้รับคือมักจะได้รับความเกลียดชังตอบ     เพราะมนุษย์ ทั่วไป มักจะถือศักดิ์ศรีในตัวเองไม่ชอบให้ใครมาข่มอยู่แล้วเมื่อไม่ชอบตัวหัวหน้า ตั้งแต่เริ่มงานเสียแล้ว ก็มักจะทำงานในแบบขอไปที หรือเฉื่อยงาน เหมือนกับที่ซุนวู "ขู่ว่าจะลงโทษ ไพร่พลก่อนจะร่วมรบ กำลังพลก็จะรู้สึกต่อต้าน " แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกคือยังมีหัวหน้างานจำนวน มากยังคงชอบใช้วิธีนี้อยู่ ที่ซุนวูว่า "ไม่มีการคาดโทษหลังได้ร่วมรบกันแล้ว ก็ยากที่จะใช้งานเช่นกัน " หมายความว่า เมื่อลูกน้องมีความบกพร่องในการทำงานแล้ว หัวหน้างานไม่มีการตักเตือน ปล่อย ให้ผ่านเลยไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ลูกน้องก็จะทำงานแบบไม่ตั้งใจในคราวต่อไปเพราะคิดว่า ทำงานพลาดอย่างไร หัวหน้าก็ไม่ว่าอยู่แล้ว ซุนวูกล่าวในวรรคท้ายของบทนี้สรุปได้ว่าในการปกครอง ผู้ใต้บังคับบัญชานั้น หัวหน้าจะต้องมีความเที่ยงธรรมไม่ถือพวกเขาพวกเรา ไม่มีการเลือกปฏิบัติ คนที่ตัวเองชอบพอทำผิดก็ยกโทษให้ ไม่ใช่คนของตนเองผิดเล็กน้อยก็ลงโทษเป็น เรื่องใหญ่ มีความเคร่งครัดในระเบียบวินัยทั้งกับตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา หัวหน้างานที่ทำได ้เช่นนี้ก็จะ ครองใจลูกน้องทุกคนในด้านการสั่งการนั้น หัวหน้าจะต้องเด็ดขาด ถ้าไม่โลเลเปลี่ยนไป มาจน ขาดความแน่นอน ซึ่งจะทำเช่นนี้ได้จะต้องเป็นผู้รอบรู้งานในความรับผิดชอบของตนเอง หมั่นศึกษา หาความรู้อยู่เสมอ ซึ่ง หัวหน้างานที่หลีกเลี่ยงงานหนักในสมัยผู้น้อย เอาแต่งานสบาย มักจะ เติบโต ขึ้นมาแบบสมองกลวงพอถึงเวลาสั่งงานเลยขาดความมั่นใจในตนเอง ผู้ใต้บังคับบัญชา จึงขาดความเชื่อถือ และไม่สามารถกลมเกลียวกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้

                ศัตรูที่อันตรายที่สุด คือศัตรูที่ไม่มีอะไรจะสูญเสีย
                       
หรือคิดว่าตนเองไม่มีอะไรจะสูญเสีย

ตำราพิชัยสงครามซุนวู 0

ซุนวูกล่าวว่า :
    
ลักษณะหลัก ของภูมิประเทศในการรบ มีดังนี้ คือ เข้าถึง ขลุกขลัก ยันกัน บีบรัด ที่สูง และเสมอกัน ถ้าฝ่ายเรานำไปก่อน และฝ่ายข้าศึก ก็คืบหน้า ไปได้ด้วย เช่นกัน เรียกว่า "เข้าถึง" ในภูมิประเทศชนิดนี้ให้ยึดครองที่สูงไว้ก่อน เป็นเบื้องแรกและอยู่ด้านรับแสงจากนั้น ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการส่งกำลังบำรุง เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว    เมื่อรบกับข้าศึกก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบถ้าสามารถรุดหน้าเข้าไปได้ แต่ถอน กลับได้ยาก เรียก "ขลุกขลัก" ในภูมิประเทศเช่นนี้ ถ้าข้าศึกอยู่ในสภาพไม่พร้อมรับมือ ให้บุกเข้าไป พิชิตเสียทันที แต่ถ้าข้าศึกพร้อมรับมือ และฝ่ายเรารุกได้เพียงเล็กน้อย โดยไม่อาจได้ชัยชนะ     เด็ดขาดแล้ว เป็นการยากที่จะถอนตัว ทั้งยังเสียเปรียบอย่างยิ่ง ถ้าทั้งฝ่ายเรา และข้าศึก ไม่อาจรุกคืบหน้าให้ได้เปรียบซึ่งกันและกันแล้วเรียกว่า "ยันกัน" ภูมิประเทศชนิดนี้แม้ข้าศึก จะหลอกล่อด้วยผลประโยชน์ก็มิพึงบุกเข้าไป ให้ถอนกำลังออกมา แต่ถ้าเข้าโจมตีขณะเมื่อ กำลังพลฝ่ายข้าศึกครึ่งหนึ่งรุกเข้ามา จึงจะได้เปรียบ
    
ในภูมิประเทศ "บีบรัด" ถ้าได้ครองพื้นที่ก่อนให้วางกำลังเต็มพื้นที่รอคอยข้าศึกถ้าข้าศึก ครองพื้นที่ก่อน และวางกำลังเต็มพื้นที่อย่าตามไปต่อกร แต่ถ้าข้าศึกวางกำลังไม่เต็มพื้นที่ จึงเข้าทำการรบด้วย ในภูมิประเทศซึ่งเป็น "ที่สูง" ถ้าฝ่ายเราครองพื้นที่ได้ให้ตั้งมั่นในที่สูง ด้านรับแสงรอคอยฝ่ายข้าศึก แต่ถ้าข้าศึกทำเช่นนี้ได้ก่อนให้ถอนกำลัง ออกมา อย่าตาม เข้าไป รบด้วย
    
ในภูมิประเทศ "เสมอกัน" อำนาจทางยุทธศาสตร์ทั้งฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึกอยู่ในสถานะ เท่าเทียมกัน เป็นการยากที่จะยั่วยุให้ข้าศึกเข้าทำการรบด้วย ในการรบนั้นไม่มีฝ่ายใดที่ได้ เปรียบ
     
ลักษณะทั้ง ประการของภูมิประเทศต้องใช้ให้เป็นคุณ ขุนพลผู้รับผิดชอบบังคับบัญชา ต้องมีการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน
     
มีกองทัพที่เลวอยู่ ประเภท คือ แตกทัพ ไร้ระเบียบ ล่มจม แตกแยก เหลวแหลก และ พ่าย แพ้ ซึ่งความเลวร้ายทั้ง อย่างนี้มิได้เกิดจากฟ้าดินบันดาล แต่เป็นความผิดของขุนพล
    
ดังนั้นเมื่อต่างมีอำนาจทางยุทธศาสตร์เท่ากัน นำกำลังน้อยกว่าข้าศึกถึงหนึ่งต่อสิบเข้าตี ีข้า ศึก ก็ต้อง "แตกทัพ"
       
ถ้ากำลังพลเข้มแข็ง นายทหารอ่อนแอ กองทัพก็ "ไร้ระเบียบ"
       
ถ้านายทหารเข้มแข็ง กำลังพลอ่อนแอ กองทัพก็ " ล่มจม"
       
ถ้านายทหารระดับสูง ลุแก่โทสะ นายทหารระดับล่างไม่ฟังคำสั่ง นำกำลังเข้ารบอย่างเกรี้ยวกราด และไร้สติโดยพลการ ขุนพลไม่ทราบถึงขีดความสามารถ กองทัพตน นี่คือกองทัพที่ "แตกแยก"
       
ถ้าขุนพลอ่อนแอ ไม่เข้มงวด สั่งการไม่ชัดเจนและไร้ภาวะผู้นำ นายทหารและไพร่พล หย่อนยาน ไม่รักษาหน้าที่ การเดินทัพไม่เป็นรูปขบวน นี้คือความ "เหลวแหลก"
       
ถ้าขุนพลไม่อาจหยั่งรู้ขีดความสามารถข้าศึก นำทัพที่กำลังน้อยกว่าเข้าต่อสู้กองทัพที่กำลังมากกว่า หรือนำทัพอ่อนแอเข้าสู้กับทัพที่แข็งแกร่ง ขาดการคัดเลือกกองระวังหน้าที่เหมาะสม นี้คือ "พ่ายแพ้"

ที่กล่าวมาแล้ว ทั้ง ประการ คือ วิถีแห่งความปราชัย ขุนพลผู้รับผิดชอบบังคับ บัญชาต้อง มีการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน
   
ลักษณะภูมิประเทศมีส่วนช่วยกองทัพ การพิเคราะห์ข้าศึกควบคุมสั่งการจนนำทัพสู่ชัยชนะ ประเมินขุนเขาและพื้นราบ ความใกล้ไกล เหล่านี้คือสติปัญญาของแม่ทัพใหญ่ ผู้ซึ่งรอบรู้สิ่ง ต่าง เหล่านี้ และนำมาใช้ในการรบ ย่อมได้ชัยชนะอย่างแน่นอน สำหรับแม่ทัพใหญ่ ่ที่ไม่รู้สิ่งเหล่านี้ หรือรู้แต่ไม่นำมาใช้ในการรบย่อมพ่ายศึกเป็นแม่นมั่น
   
ถ้าเงื่อนไขสงครามบ่งว่าจะมีชัยชนะอย่างแน่นอน แม้ผู้ปกครองจะสั่งให้ถอยก็ให้เข้าทำ การสู้รบถ้าเงื่อนไขของสงครามบ่งว่าต้องพ่ายแพ้อย่างแน่นอน แม้ผู้ปกครองจะสั่งให้เข้าสู้รบ ก็ไม่ต้องปฏิบัติตาม
   
ดังนี้แล้วขุนพลผู้ไม่รุกคืบหน้าเพียงเพื่อมุ่งหวังจะหาชื่อเสียงให้ตนเอง หรือเมื่อจำเป็นต้อง ถอยทัพ ก็มิกลัวถูกลงโทษทัณฑ์ โดยมุ่งหวังเพียงเพื่อปกป้องประชาราษฎร์ และเสริมสร้าง ประโยชน์ให้แก่ผู้ปกครอง ขุนพลที่ทำได้เช่นนี้ เปรียบดังแก้วมณีที่มีค่าของแผ่นดิน
   
เมื่อแม่ทัพถือว่าไพร่พลประหนึ่งดังลูกน้อยของตน ทหารจะตามไปร่วมรบด้วยแม้ในหุบ เขาที่ลึกที่สุด ถ้าแม่ทัพดูแลไพร่พลเหมือนกับเป็นบุตรสุดที่รัก ทหารก็พร้อมตายกับแม่ทัพ
   
ถ้าดูแลทหารเป็นอย่างดี แต่ไม่อาจใช้งานได้ ให้ความรักทหารแต่ไม่อาจสั่งการได้ ทหาร ไร ้ซึ่งระเบียบวินัย และไม่สามารถปกครองได้ เหล่าทหารก็เปรียบดังลูกเหลือขอ และไม่มีประโยชน์อันใด
   
ถ้าทราบว่าทหารของเราสามารถโจมตีข้าศึกได้ แต่ไม่ทราบว่าโจมตีแล้วข้าศึกจะแพ้หรือ ไม่ โอกาสได้ชัยชนะมีเพียงครึ่งเดียว ถ้าทราบว่าฝ่ายข้าศึกอยู่ในสถานะที่จะถูกโจมตีให้พ่าย แพ้ได้ แต่ไม่ทราบว่าทหารของเราจะโจมตีให้ได้รับชัยชนะหรือไม่ โอกาสได้ชัยชนะมีเพียง ครึ่งเดียว
  
ถ้าทราบว่าข้าศึกอยู่ในสถานะที่เราจะเข้าโจมตีได้ และทราบว่าทหารของเรามีขีดความ สามารถในการเข้าโจมตี แต่ไม่ทราบว่าสภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวยต่อการรบหรือไม่โอกาส ได้ชัยชนะมีเพียงครึ่งเดียว
  
ดังนี้แล้ว ผู้ชำนาญการสงครามจึงไม่ทำสิ่งที่ผิดพลาด เมื่อลงมือทำการใด ก็ไม่ล้มเหลว
  
จึงมีคำกล่าวว่า รู้จักข้าศึก รู้จักตนเอง ย่อมได้รับชัยชนะ ถ้ารู้ซึ้งถึงภูมิประเทศ และดินฟ้า อากาศ ย่อมกำชัยอย่างสมบูรณ์
บทวิเคราะห์

ในบทนี้ซุนวู ได้กล่าวถึงลักษณะภูมิประเทศแบบหลัก ชนิด ที่มีผลต่อการวางแผนในการรบ ซึ่ง แม่ทัพจะต้องศึกษาและนำความเข้าใจ เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตน ให้มากที่สุด ส่วนที่ ของบทกล่าวถึง กองทัพที่เลว ประเภท และสาเหตุแห่งความเลวร้ายของกองทัพนั้น ซึ่ง ซุนวูกล่าวว่า เกิดจากความบกพร่องของตัวแม่ทัพเอง มิได้เกิดจากการบันดาลของฟ้าดิน และส่วนสุดท้ายกล่าวถึง คุณสมบัติของ ขุนพลผู้มีความสามารถ ซึ่งใช้ศิลปะในการปกครองไพร่พลให้ร่วมมือร่วมใจในการทำศึกร่วมกับตน ไม่ว่า สถานการณ์จะยากลำบากเพียงใด กล่าวสรุปได้ว่า ในการรบให้ได้ชัยชนะ นั้น ขุนพลจะต้องเข้าใจถึงรูปลักษณะภูมิประเทศ กองทัพเข้มแข็งมีขีดความสามารถ การปกครองบังคับบัญชาเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม เข้าใจถึงสภาพภูมิอากาศ ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เหล่านี้ทั้งหมดย่อมนำกองทัพใด ไปสู่ชัยชนะ

พื้นที่ "เข้าถึง" หมายถึงบริเวณยุทธภูมิที่การคมนาคมสะดวก มีเส้นทางเข้าหลายสาย มาบรรจบกัน ทั้งฝ่ายเรา และข้าศึกเดินทางเข้าสู่พื้นที่ได้สะดวก เมื่อเป็นเช่นนี้การที่ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งจะได้เปรียบ ต้องเข้าถึงพื้นที่ได้ก่อน เพื่อตั้งมั่นกองทัพ ในภูมิประเทศเช่นนี้เมื่อไป ถึงให้เลือกทำเลที่สูงไว้ เพื่อจะได้สังเกตความเคลื่อนไหวของข้าศึกที่จะเข้ามาทีหลังได้ ้อย่างชัดเจน ปรับปรุงและรักษาเส้นทางส่งกำลังบำรุงไว้ ให้สามารถลำเลียงเสบียงอาหาร น้ำ และยุทโธปกรณ์ ได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อข้าศึกตามมาถึงทีหลังยังไม่ทันตั้งมั่น และเหนื่อยล้า จากการเดินทาง ถ้าฝ่ายเราฉวยโอกาสเข้าโจมตีเสียในขณะนี้ ข้าศึกจะระส่ำระสายเพราะ เสียเปรียบ และพ่ายแพ้ในที่สุด เปรียบเทียบกับการทำงานใด แล้วพื้นที่เข้าถึงคือ ปัญหาที่ มีวิธีการแก้ได้หลายแนวทาง เมื่อมีวิธีการแก้ไขได้หลากหลายไม่ยุ่งยากผู้ทำงานจึงมักทอด หุ่ยรอเวลาจนใกล้ เส้นตายของงานและก็เร่งรีบทำงานให้เสร็จ ทำให้มีการผิดพลาดเกิด ขึ้น ซึ่งถ้ามีการทำงานนี้แต่เนิ่น ไม่รอเวลาแล้ว ทำให้มีเวลาพอที่จะแก้ไขข้อบกพร่องของ งานก่อนที่จะครบกำหนด ผลงานจึงเรียบร้อยสมบูรณ์เสมือนการไปสู่ยุทธบริเวณแบบ "เข้าถึง" ก่อนข้าศึกนั้นเอง
   
ในพื้นที่ "ขลุกขลัก" คือสภาพภูมิประเทศถูกโอบล้อม และคับแคบ ถึงแม้จะรุกเข้าไปรบ กับข้าศึกได้ แต่ด้วยความคับแคบจึงมีพื้นที่ในการดำเนินกลยุทธ์น้อย ถ้าเพลี่ยงพล้ำแล้ว โอกาสที่จะถอยกำลังกลับออกมาเป็นไปได้ยาก ดังนั้นต้องแน่ใจว่าข้าศึกอยู่ในสภาพเสีย เปรียบกว่าฝ่ายเราจึงเข้าไปรบด้วย มิฉะนั้นอาจประสบความสูญเสียอย่างหนัก เปรียบเทียบ กับสถานการณ์ทั่วไปแล้ว คือ การงานที่มีข้อจำกัด และอัตราเสี่ยงสูงต่อการที่จะประสบความ ล้มเหลว ถ้าไม่แน่ใจจริงแล้วควรละเว้นไม่รับงานนั้นเสียเป็นการดีกว่า
   
พื้นที่ "ยันกัน" คือ สมรภูมิที่ทั้ง ฝ่ายต่างตั้งกำลังประจันหน้ากันแต่ไม่อาจขยับตัวรุกคืบ หน้าไปได้ การรุกแต่ ่ละครั้งจะมีการสูญเสียเกิดขึ้น แต่ละฝ่ายจึงต้องพยายามหลอกล่อให้ฝ่าย ตรงข้ามบุกเข้ามา ก่อน เช่น สถานการณ์ในสมรภูมิยุโรป ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ที่ทั้ง ฝ่ายพันธมิตร และ ฝ่ายเยอรมัน ต่างขุดสนามเพลาะประจันหน้ากันโดยที่แต่ละฝ่ายไม่อาจรุก คืบหน้าให้เกิดผล แตกหักได้ทำให้สงคราม "สนามเพลาะ" นี้กินเวลายาวนาน ไพร่พลทั้ง ฝ่ายต่างสูญเสียกำลังจำนวนมาก ในแต่ละครั้งที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรุกเข้าไปในด้านศัตรู ก็จะถูก ฝ่ายตั้งรับเป็น ฝ่ายกระทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมากทุกครั้ง เปรียบเทียบกับการทำงาน พื้นที่ "ยันกัน" คือสถานการณ์ปัญหาที่ยังไม่อาจหาทางออกได้การดำเนินการต่อไปมีแต่จะสูญ เสียทรัพยากร ถ้าหยุดนิ่งเสียงานก็ทรงอยู่ แต่ไม่อาจทำให้แล้วเสร็จได้ การจะให้งานลุล่วงไป ได้ จำเป็นต้อง อาศัยความริเริ่ม ใหม่ๆ ที่ถูกต้องตรงประเด็น เช่น การริเริ่มใช้รถถังใน สงครามสนามเพลาะ ของฝ่ายพันธมิตร ที่ทำให้เกิด จุดเปลี่ยนในสงครามจนพันธมิตรได้รับ ชัยชนะ ฝ่ายเยอรมนี ในที่สุด

ภูมิประเทศ "บีบรัด" คือพื้นที่มีเส้นทางเดินบังคับให้ต้องเดินผ่าน เช่น มีทิวเขาหรือที่สูง ขนาบ อยู่ ข้าง ภูมิประเทศเช่นนี้เหมาะสำหรับการซุ่มโจมตีแต่ละฝ่ายจึงต้อง พยายามเข้า วาง กำลังในพื้นที่ก่อนเพื่อให้สามารถเป็นผู้กำหนด "พื้นที่สังหาร" ให้กับฝ่ายศัตรูที่ตาม มา ภายหลัง ดังนั้น ในสถานการณ์รบที่ทราบว่าข้าศึกเข้าไปวางตัวก่อนในพื้นที่ดังกล่าวแล้วไม่ ควร จะเข้าไปรบด้วย เพราะจะถูกโจมตีจนเสียหายอย่างยับเยิน ไม่มีโอกาสที่จะได้รับชัยชนะ เปรียบเสมือนกับงานที่เรารู้อยู่แก่ใจว่าไม่อาจทำให้ประสบความสำเร็จได้ และควรปฏิเสธไม่ รับงานนั้น
   
สำหรับ "ที่สูง" มีลักษณะทำนองเดียวกันกับการวิเคราะห์ภูมิประเทศ "เข้าถึง" จึงขอข้าม ไปไม่กล่าวถึง
   
ในพื้นที่ "เสมอกัน" คือยุทธบริเวณที่เป็นพื้นราบ การเคลื่อนกำลัง และดำเนินกลยุทธ์ คู่สงครามต่างมีอิสระในการริเริ่ม และดำเนินการรบ ถ้าอำนาจทางยุทธศาสตร์เท่าเทียมกัน แล้ว จึงไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ เว้นแต่แม่ทัพฝ่ายใดมีความเฉลียวฉลาดเหนือ กว่า จึงจะมีโอกาสได้รับชัยชนะในการรบ เปรียบแล้วคือ สถานการณ์ทำงานที่มีปัจจัยการ บริหาร ทุกอย่างครบถ้วน จะทำงานได้เสร็จเรียบร้อยด้วยดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะได้หัวหน้า งานที่เป็นมืออาชีพมาดำเนินงานหรือไม่
   
หัวหน้างานหรือขุนพลผู้นำทัพที่มีสติปัญญาจึงต้องรู้จักพินิจพิจารณาใช้ลักษณะภูมิประเทศ หรือสถานการณ์ทำงานทั้งหมดให้บรรลุสู่เป้าหมาย
   
ในส่วนที่ ซุนวูกล่าวถึงกองทัพที่เลว ประเภท ซึ่งอุปมาได้กับหน่วยงาน หรือบริษัทห้าง ร้านใด ประเภท เช่นกัน ความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานเหล่านี้ เกิดจากขุนพล หรือ หัวหน้าหน่วยที่ไร้ความสามารถ มิได้เกิดจากความบังเอิญ หรือโชคชะตา
   
ประเภทแรกกองทัพที่มีขีดความสามารถทางยุทธศาสตร์เท่า กับข้าศึก แต่แม่ทัพผู้โง่ เขลากลับนำกำลังที่น้อยกว่าข้าศึก ถึงหนึ่งในสิบเข้าตีฝ่ายข้าศึกจนต้องตกเป็นฝ่าย พ่ายแพ้ "แตกทัพ" ไม่เป็นรูปกระบวน เปรียบกับหัวหน้างานของหน่วยงานใดก็ตาม แม้จะมีทรัพยากร ทั้งวัตถุ และบุคลากรเพียบพร้อมสนับสนุนในการทำงาน แต่ก็ไม่สามารถทำงานให้ลุล่วงตัดสิน ใจอย่างสะเพร่าไม่รอบคอบ ขาดการวิเคราะห์และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ต้องสูญเสียทรัพยา กรแรงงาน และเวลาไปมากมาย แต่งานล้มเหลวในที่สุด หัวหน้างานหรือ ขุนพลของกองทัพ เช่นนี้ มักเติบโตขึ้นมาแบบข้ามสายงานเข้ามาอยู่ในตำแหน่งบริหารที่ตนเองไม่เข้าใจ ธรรมชาติของงาน และไม่มีความสามารถพอที่จะเรียนรู้งานนั้นได้ จึงบริหารงานแบบสุ่มเสี่ยง ตามสามัญสำนึกของตนจนกองทัพ หรือบริษัทเสียหายต้อง "แตกทัพ" หรือล้มละลายในที่สุด
ที่ว่า กำลังพลเข้มแข็ง นายทหารอ่อนแอ กองทัพก็ "ไร้ระเบียบ" เปรียบกับหน่วยงานใด ก็คือ ลูกน้องมีคุณภาพ และความรู้ความสามารถ แต่ตัวหัวหน้ากลับขาดความรู้ความสามารถ จึงไม่กล้าที่จะตัดสินใจ สั่งการใด ได้ แต่หน่วยงานนั้นก็ยังคงประคองตัวทำให้งานดำเนิน ต่อไปได้ เพราะระดับล่างช่วยกันทำงานให้ ซึ่งเมื่อตัวหัวหน้าไร้ฝีมือเสียแล้ว ลูกน้องก็ปราศ จากความเกรงกลัวหรือเกรงใจ ต่างทำอะไรตามใจชอบ โดย ผู้บังคับบัญชาก็ไม่กล้าว่ากล่าว แม้หน่วยงานประเภทนี้จะยังคงอยู่ได้เพราะรากฐานคือ ระดับผู้ใต้บังคับบัญชามีขีดความ สามารถ แต่ก็ตกอยู่ในภาวะสับสน "ไร้ระเบียบ" เพราะขาดผู้นำที่ดี

ที่ว่านายทหารเข้มแข็ง กำลังพลอ่อนแอ กองทัพก็ "ล่มจม" เปรียบกับหน่วยงานใด คือ ผู้บังคับบัญชามีความรู้ความสามารถแต่ต้องปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากที่ไร้คุณภาพ ขาดความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าหัวหน้าจะเก่งอย่างไร ถ้าฐานรองรับ,คือลูกน้องช่วย ทำงาน ไม่ได้แล้ว สภาพคงเหมือน ผีกระสือ คือมีหัวกับไส้ ไร้ซึ่งลำตัว เมื่อระดับผู้ปฏิบัติไม่ สามารถ ทำงานได้แล้ว ตัวหัวหน้าไม่ว่าจะเก่งอย่างไรก็เป็นหัวเดียวกระเทียมลีบ ทำงานไม่ สำเร็จ และหน่วยงาน "ล่มจม" ในที่สุด สำนักงานที่มีลักษณะเช่นนี้ มักจะได้รับการบรรจุระดับ ผู้ปฏิบัติ ซึ่งมาจากระบบอุปถัมภ์ หรือภาษาเทคนิคเรียกว่า บรรจุตามความเหมาะสมที่ผู้มี ีอำนาจได้พิจารณา และเพื่อแก้ปัญหางานไม่เดิน ก็มักจะบรรจุหัวหน้างานที่เป็นสุดยอดฝีมือ เข้าไปบังคับบัญชา แถมด้วยคำกำชับจากหัวหน้าใหญ่ว่า ให้ฝึกลูกน้องเหล่านี้ให้ทำงานได้ มิฉะนั้นจะพิจารณาว่าไร้ความสามารถไม่ต้องเจริญก้าวหน้าต่อไปภายหน้า ใครที่ได้รับหน้า ที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานแบบที่ว่านี้ ก็คงต้องเอาทางพระเข้าข่ม ไม่ให้ประสาทเสีย ผมหงอก ไปทั้งหัวซะก่อนเกษียณอายุราชการ ถือว่าเป็นกรรมเก่าก็แล้วกัน
    
กองทัพที่ "แตกแยก" คือกองทัพที่นายทหารระดับล่างต่างถือตนเป็นใหญ่ ไม่มีใครฟังใคร ต่างคนต่างตัดสินใจทำงานแบบรัฐอิสระที่ไม่ขึ้นการปกครองกับใคร เปรียบเทียบกับสำนักงาน หรือบริษัทห้างร้านแล้ว เกิดจากการแบ่งพรรคแบ่งพวกในบริษัทนั้น เนื่องจากประธานบริษัท บริหารงานตามอำเภอใจ เชื่อและใช้งานแต่คนใกล้ชิด ไม่เชื่อฟังคำเสนอแนะของหัวหน้า ระดับรอง ลงไป ใครขัดแย้งก็ลุแก่โทสะ เข้าหน้ากันไม่ติด สุดท้ายเลยไม่มีใครช่วยคิด และก็ไม่รู้ว่าบุคลากรของตนนั้นใครมีขีดความสามารถอย่างไร หัวหน้างานระดับถัดลงมาอัดอั้นหาทางออกไม่ได้ ก็ไปเกรี้ยวกราดเอากับลูกน้อง ทำงานอย่างขาดสติยั้งคิดโดยพลการ จนหน่วยงานต้องเสียหาย
    
กองทัพ หรือบริษัทที่ "เหลวแหลก" เกิดจากการที่ตัวขุนพล หรือประธานบริษัทอ่อนแอ ไร้ภาวะผู้นำ มีลักษณะคล้ายกับคนที่มีอาการขาดธาตุไอโอดีน คนประเภทนี้สั่งการอะไรก็คลุมเครือไม่เด็ดขาด ลูกน้องฟังแล้วก็ตีความไปได้หลายอย่าง จนนำไปปฏิบัติผิด ถูก ผู้ใต้บังคับบัญชาทำผิดก็ไม่กล้าลงโทษ กลัวจะโกรธ ใครบอกอะไรก็ทำตามหมด ดังนั้นผู้ใดต้องการได้สิ่งใด หรือชักนำให้ทำอะไรมักจะรอเข้าหาเป็นคนสุดท้ายก็จะได้ผลตามประสงค์เสมอ เมื่อหัวหน้าใหญ่มีอาการ "เอ๋อ" เสียแล้ว หน่วยงานก็มีแต่คนเอาสบาย ไม่รักษา หน้าที่ งานเป็นไปอย่างเชื่องช้า เพราะถึงทำไม่ทันหัวหน้าใหญ่ก็ไม่ว่าอยู่แล้ว
    
ขุนพลที่ไม่หยั่งรู้ขีดความสามารถข้าศึก เปรียบเสมือนประธานบริษัทที่ไม่รู้ขีดความ สามารถของบริษัท ในการทำงาน อาจตัดสินใจผิดพลาดรับงานใหญ่เกินตัว เช่น บริษัทต่อเรือ ไม้ขนาดเล็ก ไปรับงานต่อเรือสินค้าเหล็กขนาดใหญ่ ก็เหมือนกับการนำทัพที่กำลังน้อยเข้าต่อ สู้กำลังที่มากกว่า หรือนำทัพอ่อนแอเข้าสู้ทัพที่ แข็งแกร่งกว่า นอกจากนั้นยังคัดเลือกคนที่มี ีคุณสมบัติไม่เหมาะสมมาทำงาน ผลคืองานล้มเหลว หรือกองทัพที่ "พ่ายแพ้" ในที่สุด

ที่กล่าวมาแล้วทั้ง ประการ คือ หนทางแห่งความสูญเสียของหน่วยงาน หรือความปราชัย ของกองทัพ ที่หัวหน้างาน หรือขุนพล ผู้ปกครอง บังคับบัญชา จะต้องพิจารณา ไตร่ตรองอย่าง รอบคอบ ชะตากรรมของ กองทัพหรือหน่วยงานใด จึงขึ้นอยู่กับสติ ปัญญาของแม่ทัพ หรือ หัวหน้างาน ผู้มีขีดความสามารถในการใช้ปัจจัยต่าง มาประกอบกันให้ทำงานหรือทำการ รบ จนประสบชัยชนะได้ในที่สุด
   
ซุนวูกล่าวว่าขุนพลที่ดีย่อมคำนึงถึงผลประโยชน์ของแผ่นดินมากกว่าสิ่งใดทั้งหมด ต้อง กระทำได้แม้แต่การขัดคำสั่งผู้ปกครองในการดำเนินการสงคราม โดยปราศจากซึ่ง ความ กลัว ถูกลงโทษทัณฑ์ ทั้งนี้ก็เพื่อคุณประโยชน์ และความผาสุก ของอาณาประชา ราษฎร์ ซึ่ง ขุนพล ผู้เสียสละนี้หาได้ยาก ซุนวู จึงเปรียบไว้ว่าเหมือนดังแก้วมณีที่มีค่า ของแผ่นดิน ใน ทางปฏิบัติแล้วการที่หัวหน้างานใด จะขัดขืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เหนือตนนั้นเป็นไปได้ ้ยาก ถึงแม้จะเห็นได้ชัดว่าคำสั่งที่ได้รับ จะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับงาน ก็ตามเนื่องจาก กลัวการถูกลงโทษ และอีกประการหนึ่ง ถ้างานนั้นเสียหาย ผู้สั่งก็ต้องเป็น ผู้รับผิดชอบผลที่ เกิดขึ้นคนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะวางเฉยและ เอาตัวรอด ไว้ก่อน ผลงาน ส่วนรวมจะเสียหาย อย่างไรก็ช่างบุคคล ประเภทที่ยอมขัดคำสั่ง เหนือตน เพื่อรักษาผล ประโยชน์ส่วนร่วมด้วย ความกล้าหาญ  มิได้คิดถึงชะตากรรมของตน จึงหา ยาก ดุจอัญมณี ที่มีค่าของหน่วยงาน
   
ในด้านการปกครองซุนวูแนะให้แม่ทัพปกครองไพร่พลแบบพ่อปกครองลูกคือการเอาใส่ดู แลให้ลูกน้องได้รับการ จัดสรรแบ่งงานด้วยความเป็นธรรม ให้ได้รับสวัสดิการ ตามควรแก่ ่อัตภาพ ให้ความเมตตา ถ้าทำได้เช่นนี้แล้วผู้ใต้บังคับบัญชาก็ยินดีที่ทำงานให้อย่างถวายหัว ไม่ว่างานจะยากลำบากอย่างไรต่างกับหัวหน้างานอีกประเภทที่ปฏิบัติ กับลูก น้องเหมือนนาย กับบ่าว หัวหน้า งาน ประเภท นี้จะสนใจแต่ว่าจะให้ลูกน้องทำงานส่วนตัวให้  ส่วนงานราชการ ไม่มอบหมายให้ทำ มักเป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง ถือตัว ศักดินา ใครไม่รับใช้ก็ขวางหูขวางตา คนขยันทำงานกลับมองไม่เห็น สวัสดิการลูกน้อง ไม่ใส่ใจลูกน้องที่ดีมีความสามารถจะไม่เข้าใกล้พวกประจบ สอพอ จะคลอเคลีย ตั้งแต่เช้า ยันค่ำ  นายประเภทนี้หากประสบกับการทำงานผิดพลดร้ายแรง ก็จะต้องรับเคราะห ์ตาม ลำพัง เพราะลูกน้องทั้งดี ทั้งชั่วจะปลีกตัวหนีห่างไม่ยอมให้ความช่วย เหลือหรือปกป้อง
    
อย่างไรก็ตามแม้จะปกครองไพร่พลแบบพ่อปกครองลูกแล้ว แต่ลูกน้องกลับทำตัวเหลือขอ งานการ ไม่ยอมทำจึงไร้ประโยชน์หัวหน้างาน ควรหาทางกำจัด ออกจากหน่วยงานไม่ให้เป็น ตัว ทำลายขวัญและกำลังใจของคน ดี ที่ตั้งใจทำงานต่อไป  
    
ในส่วนท้ายของบท ซุนวูสรุปว่าการรู้เพียงขีดความสามารถ ของตน ขีดความสามารถของ ข้าศึก เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรู้ทั้งสองอย่าง แต่ไม่ทราบสภาพ ภูมิประเทศ โอกาสได้รับ ชัยชนะ มี เพียงครึ่งเดียวเปรียบกับการทำงานใด แล้วการที่งานจะสำเร็จได้ต้องรู้ขีดความ สามารถของหน่วยงาน รับงานไม่เกินขีดความสามารถ และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เอื้อ อำนวย ย่อมปฏิบัติงานต่าง ให้ลุล่วงไปได้อย่างสมบูรณ์ทำลายขวัญและกำลังใจของ คนดี ที่ตั้งใจทำงานต่อไป

ผู้นำคือผู้ที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าพูด

ตำราพิชัยสงครามซุนวู๑๑

ซุนวู กล่าวว่า :
____ยุทธศาสตร์การใช้กำลังทหารแบ่งภูมิประเทศออกเป็น ดังนี้คือกระจัดกระจายเบา
ยุทธศาสตร์ สะดวก กึ่งกลาง หนัก กับดัก ปิดล้อม และมรณะ
  
___ เมื่อเจ้าผู้ครองนครทำสงครามในแผ่นดินตนเอง นี้คือ ภูมิประเทศ "กระจัดกระจาย"
 
____เมื่อเข้าไปรบในดินแดนผู้อื่น แต่เข้าไปไม่ลึกมาก นี้คือ ภูมิประเทศ "เบา"
 
____เมื่อใดที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่จึงจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ นี้คือ ภูมิประเทศ "ยุทธศาสตร์"
 
___ พื้นที่ซึ่งทั้งฝ่ายเรา และข้าศึกต่างเดินทางเข้าออกได้คล่อง นี้คือ ภูมิประเทศ "สะดวก"
____พื้นที่ซึ่งล้อมรอบด้วยสามอาณาจักร ซึ่งผู้ใดมาถึงก่อนจะได้รับการสนับสนุนทั้งปวง นี้คือ ภูมิประเทศ "กึ่งกลาง"
____เมื่อใดที่รบลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึก ผ่านเมืองหลายเมือง นี้คือ ภูมิประเทศ "หนัก"
____บริเวณที่เต็มไปด้วยทิวเขา  ป่าทึบ  หุบผา  พื้นขรุขระ ที่ลุ่ม พรุ เส้นทางสัญจรไม่สะดวก นี้คือ ภูมิประเทศ "กับดัก" ที่ซึ่งทางเข้าคับแคบ เส้นทางกลับวกวน ____เป็นที่ซึ่งอาจใช้กำลังน้อยเข้าโจมตีฝ่ายที่มีกำลังมากกว่าอย่างได้ผล นี้คือ  ภูมิประเทศ "ปิดล้อม"
 
____ในสถานที่ซึ่งถ้าต่อสู้สุดกำลังจึงจะรอดชีวิตได้ ถ้าไม่สู้ตายก็ต้องสูญเสียชีวิตไพร่พล นี้คือ ภูมิประเทศ "มรณะ"
ด้วยเหตุผลที่กล่าวนี้
____ในภูมิประเทศกระจัดกระจาย อย่าทำการรบกับข้าศึก
____ในภูมิประเทศเบา อย่าหยุดเดินทัพ
____ในภูมิประเทศยุทธศาสตร์ อย่าโจมตีก่อน ถ้าข้าศึกยึดครองพื้นที่ได้ก่อน
____ในภูมิประเทศสะดวก อย่าให้กองกำลังแตกแยกออกจากกัน
____ในภูมิประเทศกึ่งกลาง แสวงหาพันธมิตรจากเจ้าผู้ครองนครที่อยู่รายรอบ
____ในภูมิประเทศหนัก แสวงหาเสบียง และยุทธปัจจัยจากพื้นที่เดินทัพผ่าน
____ในภูมิประเทศกับดัก เดินทัพผ่านอย่างรวดเร็ว
____ในภูมิประเทศปิดล้อม ใช้หลักยุทธศาสตร์
____ในพื้นที่มรณะ สู้ตาย
____แต่ครั้งโบราณกาล  ผู้เป็นเลิศในการใช้กำลังทหาร สามารถทำให้กองหน้า และ กองหลัง
ข้าศึก  ตัดขาดออกจากกัน  กำลังส่วนย่อย และส่วนใหญ่ไม่อาจสนับสนุนซึ่งกันและกันผู้เพลี่ยง พล้ำไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยทะลวงฟันนายทหารและไพร่พลฝ่ายศัตรูขาด ความ เชื่อถือ ซึ่งกันและกัน กำลังพลกระจัดกระจายรวมตัวกันไม่ติดเมื่อรวมกันได้ก็ยุ่งเหยิงไม่เป็นหมวด หมู่
ฝ่ายเราเคลื่อนย้ายกำลังเมื่ออยู่ในฐานะได้เปรียบ หยุดปักหลัก เมื่ออยู่ในฐานะเสียเปรียบ
____ขอถามว่า ข้าศึกมีจำนวนมากกว่า และมีวินัย กำลังจะบุกฝ่ายเรา ควรจะทำอย่างไร
____ขอตอบว่า ขั้นแรกให้ยึดครองสิ่งที่เป็นของรักของหวงของข้าศึกแล้วฝ่ายนั้นก็จะทำตาม
ประสงค์ของเราทุกประการ
จึงเป็นธรรมชาติของกองทัพที่ต้องเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว   ฉวยความได้เปรียบขณะ
ที่ข้าศึกยังไม่พร้อม  เดินทางด้วยเส้นทางที่ไม่มีผู้ใดคาดหมาย และ โจมตีขณะข้าศึกยังไม่ทัน
ตั้งตัวกล่าวโดยทั่วไปหลักในการรุกเป็นดังนี้  เมื่อฝ่ายเราบุกลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึกกองทัพ
ต้องรวมกำลังให้ แข็งแกร่ง ดังนี้แล้ว ข้าศึกผู้ตั้งรับก็ไม่อาจต้านทานฝ่ายเราได้  สะสม  เสบียง อาหารที่มีบริบูรณ์ในเขตชานเมือง เลี้ยงสามเหล่าทัพให้อิ่มหนำสำราญ ดูแลเอาใจใส่ สารทุกข์ สุกดิบ  ใช้งานไพร่พล อย่างเหมาะสมทำได้ดังนี้ แล้วย่อมรวมพลังได้เป็นหนึ่งมีความ เข้มแข็ง ในระดับสูงสุด  เมื่อมีการเคลื่อนย้ายกำลังกองทัพ   และวางแผนยุทธศาสตร์ต้องไม่ให้  ข้าศึก
หยั่งรู้ได้ ระดมกำลัง ให้อยู่ในตำบลที่ไม่อาจล่าถอยได้ ไพร่พลจะสู้ตายไม่คิดหนี ถ้าไม่ อาจหลีก การเผชิญหน้ากับความตายได้แล้วนายทหารและไพร่พลจะร่วมกัน สู้รบสุดกำลัง เมื่อนายทหาร และไพร่พลบุกลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึกก็จะผนึกกำลังกัน เมื่อไร้ทางเลือกแล้วทั้งหมดจะต่อสู้
ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นแม้ไม่มีสั่งการทหารก็เตรียมพร้อมแม้ไม่ได้ขอร้องไพร่พลร่วมใจกัน
แม้ไม่มีสัญญา ทหารก็ร่วมมือกัน แม้ไม่มีคำสั่งทหารก็ปฏิบัติหน้าที่  พึงอย่าเอ่ยถึงลางสังหรณ์ ต่างๆ ขจัดความสงสัยลังเลดังนี้ แล้วไพร่พลจะต่อสู้ไม่คิดชีวิตถ้าทหารของเรามิได้ร่ำรวยก็มิใช่
เพราะ เกลียดชังทรัพย์สมบัติ  ถ้าอายุสั้นก็มิใช่   เพราะ เบื่อการมีอายุยืนยาว  ในวันรับคำสั่ง
ให้ออกรบทหารที่นั่งน้ำตาชุ่มแขนเสื้อทหารที่นอนน้ำตาไหลอาบแก้ม อย่างไรก็ตามเมื่อต้องอยู่ ในสถานะจนตรอก ทหารจะกล้าบ้าบิ่น และไม่กลัวตายผู้เป็นเลิศในการใช้กำลังทหารจึงเปรียบ
ได้ประหนึ่งงูพิษร้ายแห่งเขาจาง ถ้าตีที่หัวหาง ก็ตอบโต้ ตีที่หางหัว ก็ตอบโต้ ตีกลางลำตัว ทั้งหัว และหางตอบโต้พร้อมกัน ถามว่า สามารถ ทำให้กองทัพเป็นประดุจงูพิษร้ายนี้ได้ หรือไม่คำตอบ คือ ได้ตัวอย่างเช่น  ประชาชนในแคว้นวู่ และเย่ ต่างรังเกียจซึ่งกันและกัน  เมื่อต้องข้ามแม่น้ำ ในเรือลำเดียวกัน  ประสบพายุรุนแรง  ทั้งสองพวกต่างช่วยกันแก้ไขสถานการณ์  ดุจดังมือซ้าย และขวา  ด้วยเหตุผลดังกล่าว   แม้จะ ล่ามโซ่ม้าติดกัน  และฝังล้อรถศึกก็ไม่อาจมั่นใจ ในการ ป้องกันทหารหนีทัพ ต้องใช้ หลักการ บริหารรวบรวมขวัญกำลังใจไพร่พลให้เป็นหนึ่ง ใช้ไม้แข็ง และไม้นวมตามโอกาสที่เหมาะสม  เพื่อใช้งานทหาร  โดยพลิกแพลงไป ตามการเดินทัพ ผ่าน ภูมิประเทศชนิดต่าง ดังนั้นผู้เป็น เลิศในการใช้กำลังทหารจึงนำไพร่พลได้ราวกับการโบกมือ สั่งการคนเพียงคนเดียว และไพร่ พลทั้งมวลต่างยินดี ที่จะปฏิบัติตามคำสั่งไม่บิดพลิ้ว คุณสมบัติ ที่สำคัญยิ่งของขุนพล  คือ  เยือกเย็น  ลึกลับ  เที่ยงธรรม และมีวินัยในตนเอง  สามารถปกปิด
ความลับมิให้รู้ถึงหู ตา ของ นาย ทหาร และไพร่พล ปรับเปลี่ยนการบริหารในกิจการต่างๆ ตาม การเปลี่ยนแปลงทาง ยุทธศาสตร์จนไม่มีผู้ใดอาจคาดเดาได้เมื่อขุนพลสั่งการให้ทหารทำสิ่งใด
เหมือนการให้ไต่ขึ้นสู่ที่สูง   แล้วชักบันไดออก   ขุนพลนำทัพลึกเข้าไปในดินแดนแล้ว  สั่งการ
สามารถทำให ้ทหาร เร่งรุดดุจฝูงแกะที่วิ่งวกเวียนไปมา แม้ไม่มีผู้ใดทราบว่ากำลังจะทำสิ่งใด
ความรับผิดชอบของขุนพล คือ การรวบรวมไพร่พล  เหล่าทัพ แล้วนำคนเหล่านั้นไปสู่ที่
อันตราย
____ในภูมิประเทศ ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง    ประการ  ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นไปตาม สภาพจิตใจของปุถุชน สิ่งเหล่านี้ต้องมีการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน
____โดยทั่วไปแล้ว หลักการรุกมีดังนี้
___เมื่อรุกเข้าไปในดินแดนศัตรูไพร่พลจะรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวแต่ถ้ารุกเข้าไปเพียงเล็กน้อย ไพร่พลจะหย่อนยาน
____เมื่อกองทัพออกจากดินแดนตนข้ามเขตเข้าไปสู้รบใน ดินแดนศัตรู นี้คือ ภูมิประเทศ "โดดเดี่ยว "
____เมื่อสี่ด้านเปิดกว้าง นี้คือ ภูมิประเทศ " กึ่งกลาง "
____เมื่อรุกลึกเข้าไปในดินแดนศัตรู นี้คือ ภูมิประเทศ " หนัก "
____เมื่อรุกเข้าไปเพียงตื้น ในดินแดนศัตรู นี้คือ ภูมิประเทศ " เบา "
____ถ้าฝ่ายเรามีที่ตั้งมั่นคงอยู่ด้านหลัง ที่คับแคบอยู่ด้านหน้า นี้คือ ภูมิประเทศ " ปิดล้อม "
____ถ้าไม่มีหนทางที่จะหลบหนีได้ นี้คือ ภูมิประเทศ " มรณะ "
____ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ____ในภูมิประเทศกระจัดกระจายต้องรวมความมุ่งมั่นของไพร่พลให้เป็นหนึ่งเดียว
____ในภูมิประเทศเบา ต้องรวมไพร่พลให้เป็นกลุ่มก้อน
____ในภูมิประเทศยุทธศาสตร์ ต้องให้กองหลังรีบรุดไปข้างหน้า
____ในภูมิประเทศสะดวกควร มุ่งเน้นที่การป้องกันตัว
____ในภูมิประเทศกึ่งกลางต้อง แสวงหาพันธมิตร
____ในภูมิประเทศหนัก การส่งกำลังบำรุงอย่าให้ขาดแคลน
____ในภูมิประเทศกับดักต้อง เร่งเดินทัพผ่านอย่างรวดเร็ว
____ในภูมิประเทศปิดล้อม ต้องอุดช่องทางออก
____ในภูมิประเทศมรณะ ต้องสั่งให้ไพร่พลสู้ตาย
____ดังนั้นจึงเป็นธรรมชาติ  ที่กองทัพจะตั้งรับเมื่อถูกปิดล้อมจะสู้ตาย เมื่อจนตรอกและไพร่พล จะปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด เมื่อสถานการณ์วิกฤติ
___ ด้วยเหตุผลต่างๆที่กล่าวมาแล้วนี้ผู้ไม่รู้ซึ้งถึงนโยบายของเจ้าผู้ครองนครต่างๆย่อมไม่อาจ
สร้างพันธมิตรผู้ไม่ทราบถึง ภูมิประเทศ  ขุนเขา  ป่าทึบ  โตรก  ที่ขรุขระ  ที่ลุ่ม และ พรุ ย่อม
ไม่สามารถเคลื่อนย้ายกองทัพ  ผู้ไม่ใช้คนพื้นเมือง นำทางย่อมไม่อาจเดินทางผ่านภูมิประเทศ
ได้อย่างสะดวก และ ปลอดภัย   ผู้ไม่รู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามที่กล่าวนี้  จะไม่สามารถคุมกองทัพ ของ
มหาอำนาจได้เมื่อกองทัพมหาอำนาจเข้าโจมตีรัฐที่เข้มแข็งกองทัพข้าศึกก็รวมกำลังกันไม่ติด
เมื่อแสดงอำนาจ น่าสะพรึงกลัว พันธมิตรข้าศึกก็มิกล้าเกื้อหนุน  ด้วยเหตุผลที่กล่าวนี้ จงอย่ามี
ความขัดแย้งกับพันธมิตรไม่ส่งเสริมอำนาจของรัฐอื่นและมีความเชื่อมั่นในกองทัพเราจงแสดง ความน่าสะพรึงกลัวแก่ข้าศึกแล้วจะสามารถยึดเมืองต่างๆและครอบครองรัฐศัตรูได้ปูนบำเหน็จ
รางวัล  นอกเหนือกฎระเบียบ  สั่งการนอกเหนือคำสั่งปฏิบัติการดังนี้  แล้วจึงนำ    เหล่าทัพ
ได้ประหนึ่งบังคับบัญชา  คนเพียงคนเดียว  มอบภารกิจให้ทหารปฏิบัติอย่างเคร่งครัด   เน้นย้ำ ให้เห็น ซึ่งประโยชน์ที่จะเกิด และอย่าแพร่งพราย ให้รู้ถึงอันตรายที่รออยู่
ส่งไพร่พลให้อยู่ในสถานะวิกฤต    ไพร่พลจะระวังอันตราย    ให้รุกเข้าที่มรณะ  ไพร่พล
จะอยู่รอดทหารที่เคยผ่านความเป็นความตายมาแล้วเท่านั้น ที่สามารถรบจนได้ชัยชนะ
____ปฏิบัติการทางทหารบรรลุวัตถุประสงค์ได้    ถ้ารู้ความตั้งใจของฝ่ายศัตร  และทุ่มโจมตี ข้าศึกด้วยกำลังที่แข็งแกร่ง แม้จะเข้าตีจากระยะไกลถึงพันโยชน์ ก็ฆ่าขุนพลของศัตรูได้
ดังคำกล่าวว่า " ผู้ชาญศึกย่อมสามารถปฏิบัติการทางทหารได้อย่างสมบูรณ์ "
____ดังนี้แล้วเมื่อได้รับคำสั่งให้เดินทัพให้ปิดด่านทุกแห่งยกเลิก ใบอนุญาตผ่านแดนงดติดต่อ ทางการทูตกับศัตรูหารือแผนยุทธศาสตร์ในการทำสงครามกันอย่างจริงจังเพื่อหาหนทางปฏิบัติ
____เมื่อศัตรูเผลอและเปิดโอกาสใจให้จงรีบฉวยเอาความได้เปรียบ และโจมตีสิ่งที่เป็นหัวใจ ข้าศึกเป็นประการแรก  โดยต้อง กระทำตามวันเวลาที่กำหนดและ ประเมินปฎิกริยา ฝ่ายข้าศึก เพื่อปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ในการรบตามสถานการณ์  
____ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้  เมื่อเริ่มรบทำไร้เดียงสาประหนึ่ง สาวพรหมจรรย์ และฉวยโอกาส ที่ศัตรูเผลอเปิดช่องให้ลงมืออย่างรวดเร็วดุจดัง  กระต่ายเผ่น  ดังนี้แล้ว    ข้าศึกก็ไม่สามารถ
ต้านทานฝ่ายเราได้

บทวิเคราะห์
___ในบทนี้ซุนวูได้แยกแยะภูมิประเทศในการทำสงครามไว้ ประการรวมทั้งหนทางปฏิบัติ
ที่เหมาะสมในภูมิประเทศต่างๆ เหล่านี้  ซึ่งขุนพลผู้นำกองทัพต้องใช้   การพิจารณาไตร่ตรอง การใช้ภูมิประเทศต่างๆ   ที่เปลี่ยนแปลงไปในขณะทำการรบนี้   ให้เกิดประโยชน์แก่  การรบ ของตน ให้มากที่สุด  
____พิจารณาโดยรวม ในบทนี้  แล้ว มีความเหมือน เป็นส่วนใหญ่กับ  บทที่     ในหัวเรื่อง ความเปลี่ยนแปลง ประการ แต่เน้นเพิ่มเติมในเรื่องภาวะผู้นำของขุนพลที่ต้องใช้กลวิธีต่างๆ
ในการปลุกเร้า  กำลังใจเชิงรุกรบของไพร่พล   ให้มีระดับสูงอยู่เสมอ    ในสภาวะภูมิประเทศ สนามรบแบบต่างๆ   ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งชี้ให้เห็นว่าซุนวู  ให้ความสำคัญใน  เรื่องการใช้ภูมิ ประเทศให้เป็นคุณและการใช้ภาวะผู้นำของหัวหน้าหน่วยรบเป็นอย่างมาก
____ซุนวูเรียกการทำสงครามในแผ่นดินตนเองว่า  คือ  ภูมิประเทศกระจัดกระจาย   และให้ หลีกเลี่ยงการทำสงครามในภูมิประเทศเช่นนี้   เนื่องจากทำให้ประชาชนเดือดร้อน  ทรัพย์สิน
เสียหาย แม้จะชนะสงครามก็ต้องใช้เงินทองมากมายในการฟื้นฟูประเทศผู้คนขวัญเสียการรบ
ลักษณะนี้ถ้าเป็นการเกิดขึ้นอย่างจงใจก็เข้าลักษณะ  "ชักศึกเข้าบ้าน"  การรบในอดีตที่ผ่านมา
ประเทศต่างๆ    พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สงครามเข้ามาอยู่ในบ้านตน  โดยการส่งทหารไปรบ ในต่างประเทศ เช่น ไทยส่งทหารไปรบในเวียดนาม ลาว และ  กัมพูชา  อังกฤษ  และ สหรัฐฯ ส่งทหารไปรบในยุโรปสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง   เป็นต้น   นอกจากนั้นการรบในบ้านตัวเอง ยังทำให้ไพร่พล  ละล้าละลัง ห่วงครอบครัวตนเอง  อยากจะกลับบ้าน   ไม่ทุ่มเทให้กับการรบ
จึงเรียก   ภูมิประเทศกระจัดกระจาย   เปรียบเทียบกับการทำงานแล้ว การรบใน ภูมิประเทศ กระจัดกระจายคือ การที่สำนักงานจำต้องรับงานที่ไม่ได้อยู่ในหน้าที่รับผิดชอบของตนเข้ามาทำ
โดยมีคนในที่เป็นไส้ศึกมีความประพฤติชักศึกเข้าสำนักงานนั้น ตัวอย่างเช่น มีคนในสำนักงาน
ไปรับหน้าเสื่อรับงานจากหน่วยนอกเข้ามาให้หน่วยงานตนเองทำ  โดยเสนอแนะช่องทางต่างๆ
ให้เรียบร้อย ทั้งนี้เพื่อแสดงบารมีของตนเองหรือผลประโยชน์ บางประการ  เมื่อมีการเสนองาน
เข้ามาแบบถูกหลักการ  หัวหน้าหน่วยซึ่งไม่รู้อิโหน่อิเหน ่ก็จำต้องรับงานนั้น  เข้ามาทำลูกน้อง หรือไพร่พลที่มีงานปกติทำอยู่แล้ว ก็ต้องมีภาระเพิ่มมา ทำงานที่ไม่ใช่หน้าที่ได้รับความลำบาก มากขึ้น   ทั้งยังห่วงหน้าพะวงหลัง  งานในหน้าที่ของตนที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จ  ด้วย เช่นกัน หน่วยงานต้องสูญเสียทั้งแรงงาน  และทรัพยากร  ที่ควรจะนำมาใช้กับงาน ในความรับผิดชอบ
ของตน ส่วนไส้ศึกในสำนักงานก็ได้รับผลประโยชน์ไปแต่ผู้เดียว
สำหรับการรบในภูมิประเทศ  "เบา"  คือ  การรบเข้าไปในดินแดนข้าศึกยังไม่ลึกมากนัก
ในภูมิประเทศเช่นนี้  ซุนวูให้รวบรวมไพร่พลเป็นกลุ่มก้อนรีบเร่งเดินทัพให้ลึกเข้าไปในดินแดน ข้าศึก  เนื่องจากรบในดินแดนข้าศึกใกล้ชายแดนประเทศตน ไพร่พลยังมีความรู้สึกอยากจะรีบ กลับบ้าน  เพราะอยู่ไม่ไกลนักจิตใจจึงอาจวอกแวกขาดสมาธิที่จะมุ่งมั่น  ในการรบ  การรีบรบ รุกเข้าไปอย่างเร็ว   ในดินแดนศัตรูจะช่วยให้ไพร่พลสลัดทิ้งความห่วงหน้าพะวงหลัง ได้เร็วขึ้น เปรียบเทียบกับการทำงานแล้วภูมิประเทศเบาคือการปฏิบัติงานที่ยากลำบากที่เพิ่งจะเริ่มไปได้ ระยะหนึ่ง   เมื่อประสบอุปสรรคติดขัด   เข้าลูกน้องก็เริ่มท้อถอย   อยากจะทิ้ง หรือ เลี่ยงงาน ผู้บังคับบัญชาจึงต้องคอยกระตุ้นให้กำลังใจลงมาช่วยแก้ผลักดันให้งานผ่านจุดนี้ไปอย่างรวดเร็ว ดุจการรวมไพร่พลเป็นกลุ่มก้อนเร่งให้เดินทัพเข้าไปในดินแดนข้าศึก   เมื่อผ่านจุดนี้ไปได้แล้ว งานขั้นต่อไปก็เป็นไปโดยต่อเนื่องจนแล้วเสร็จ
____ในภูมิประเทศยุทธศาสตร์  ซึ่งผู้เข้ายึดพื้นที่ได้ก่อนจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ สามารถเตรียม การต่างๆ   ให้พร้อมรับมือฝ่ายที่มาทีหลัง  ภูมิประเทศเช่นนี้  ซุนวูแนะนำให้กองหลังรีบรุกไป
ข้างหน้า  เพื่อยึดพื้นที่ให้ได้มากที่สุด เพราะพื้นที่นี้  เป็นกุญแจสำคัญในการวางหมากต่อสู้กับ
ข้าศึกแต่ถ้าข้าศึกยึดพื้นที่นี้  ได้ก่อนฝ่ายเราแล้วให้รอดูท่าทีข้าศึกอย่าเข้าโจมตี    ก่อนจะเป็น
ฝ่ายเสียเปรียบ   เมื่อข้าศึกเผยท่าที    แล้วจึงพิจารณาตอบโต้   จะมีโอกาสแก้สถานการณ์ได้ เปรียบเทียบกับการทำงานแล้ว  เสมือนการทำงานที่หน่วยงาน       มีการเกาะติดสถานการณ์ ปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา  ว่าจะมีผลกระทบอย่างไรกับงานที่ทำอยู่  จึงสามารถ กำหนดยุทธศาสตร์ ในการทำงานให้มีความก้าวหน้าอยู่เสมอ    ในกรณีที่หน่วยงานติดตามสถานการณ์    ไม่ทันก็ เหมือนปล่อยข้าศึกให้ยึดภูมิประเทศยุทธศาสตร์ได้ก่อนถ้าผลีผลามตัดสินใจการปฏิบัติงานใดๆ
ไปโดยข้อมูล ไม่แจ่มชัดการงานมีโอกาสล้มเหลวได้สูง จึงต้องหยุดรอดูเหตุการณ์คือเก็บข้อมูล ที่ขาดไป ให้สมบูรณ์เสียก่อน  จึงค่อยดำเนินการใดๆ ต่อไป เอง
____ภูมิประเทศสะดวก  คือสถานที่โล่งกว้างขวาง  เหลือเฟือพอที่ฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึกจะไช้ ดำเนินกลยุทธได้อย่างไม่มีขีดจำกัด   เพราะ ความคล่องตัว นี้เอง  อาจทำให้ กองกำลัง แต่ละ หน่วยที่มีความเร็วในการเดินทัพต่างกันอาจพลัดหลงแตกแยกกันเป็นส่วนๆ แม่ทัพจึงต้องคอย
คุมมิให้หน่วยมีการตัดขาดออกจากกัน   เพราะหน่วยย่อย ที่แตกออกไปนี้ จะถูกฝ่ายข้าศึก เข้า ทำลายโดยง่าย ซุนวูจึงให้เน้นการป้องกันตัวในภูมิประเทศเช่นนี้ถ้าหากว่าจะมีการพลัด หลงกัน เกิดขึ้น   เพื่อประวิงเวลา ให้กำลังส่วนใหญ่เข้ามาแก้สถานการณ์   เปรียบเทียบกับการ ทำงาน ก็เสมือนกับการทำงานที่หัวหน้างาน   เมื่อมอบหมายงานให้หน่วยรอง   ลงไปแล้วก็ ปล่อยให้ แต่ละส่วนปฏิบัติงานอย่างอิสระโดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างครบครัน ซึ่งถ้าปล่อยอิสระ เกินไปโดย ไม่ควบคุมกำกับดูแล อาจทำให้บางส่วนก้าวล้ำไปกว่าส่วนอื่น บางส่วนอยู่รั้งท้ายตามงานส่วนอื่น ไม่ทัน บางส่วนทำงานผิดเป้าหมายหรือหลงทางทั้งนี้เพราะความคล่องตัวอย่างมาก หัวหน้างาน
จึงต้องคอยกำกับดูแลให้แต่ละส่วนทำงานสอดคล้องกันและบรรลุตรง ตามวัตถุประสงค์ของงาน ที่กำหนดไว้   เสมือนการเดินทัพในภูมิประเทศสะดวกที่ต้องคอย ระวังมิให้กองกำลัง แตกแยก ออกจากกัน
ภูมิประเทศกึ่งกลาง  คือ การรบในสมรภูมิซึ่งมีหลายประเทศล้อมอยู่โดยไม่มีประเทศใด
มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับการรบซุนวูแนะให้รีบสร้างพันธมิตรกับประเทศ
ที่อยู่รายรอบและสำแดงพลังอำนาจให้ปรากฎตัวอย่างเช่นการรบระหว่างสหรัฐฯ กับอิรัก สหรัฐฯ
พยายามใช้วิถีทางการทูตผูกมิตร  กับประเทศที่อยู่โดยรอบ เช่น  ซาอุดีอาระเบีย  และ  คูเวต
เป็นต้น  เพื่อให้การสนับสนุน  ขณะเดียวกัน ก็สำแดงแสนยานุภาพน่าสะพรึงกลัวให้ปรากฏแก่
ประเทศใกล้เคียงที่มีแนวโน้มไม่สนับสนุนสหรัฐฯ   มิให้สนับสนุน  อิรัก จนทำการรบ จนชนะ
อิรักในที่สุด  เปรียบเทียบกับการทำงานแล้ว เสมือนกับการที่หน่วยงานมิอาจทำงานใหญ่ใดๆ
ได้สำเร็จตามลำพังจำเป็น ต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกต้องมีการประสานงาน
และ ผูกมิตรกับผู้อื่นตัวอย่างเช่น  การที่บริษัทหนึ่งๆ จะตั้งศูนย์การค้าสักแห่งได้สำเร็จ จำเป็น
ต้องได้รับการสนับสนุนทั้งจากสำนักงานที่ดิน เทศบาล  กระทรวงพาณิชย์  บริษัทส่งสินค้า ฯลฯ
ดังนั้นการมีความขัดแย้งกับหน่วยงานเหล่านี้  ย่อมทำให้โครงการติดขัดไม่ราบรื่น   จึงจำเป็น
ต้องผูกสัมพันธ์ กับหน่วยงานเหล่านี้ ไว้ทั้งยังต้องแสดงให้เห็นว่าตนมีศักยภาพที่จะทำโครงการ
ให้สำเร็จลงได้ทำได้ดังนี้แล้วงานก็จะดำเนินไปราบรื่นจนประสบความสำเร็จ
____การรบในภูมิประเทศหนัก   คือ   การบุกลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึก  จนยากที่จะทำการ
ถอนกำลังกลับได้  ซุนวูให้รวมกำลัง ให้แข็งแกร่ง  แสวงหาเสบียง    จากบริเวณที่เดินทัพผ่าน
เนื่องจากไม่สามารถย้อนกลับไปลำเลียงเสบียง จากประเทศของตนได้   การรบในภูมิประเทศ
เช่นนี้   เนื่องจากมีอันตรายอยู่รอบด้าน ไพร่พลจะมีความตื่นตัวสูง  เพราะการหย่อนยานเพียง
เล็กน้อยย่อมหมายถึงชีวิตให้ไพร่พลได้รับการเลี้ยงดูอุดมสมบูรณ์ดำเนินกลยุทธ์อย่างเหมาะสม
ดังนี้ แล้วก็สามารถรบเอาชนะในดินแดนข้าศึกได้เปรียบเทียบกับการทำงานแล้วเหมือนกับการ
ทำงานโครงการใหญ่ที่คืบหน้าไปมากจนใกล้จะสำเร็จ   ใช้เงิน และ ทรัพยากรไปแล้วมากมาย
ถ้างานล้มเหลวในช่วงนี้   ก็เปรียบกับการถอนทัพกลับ เมื่อรุกเข้าไปในดินแดนข้าศึกมากแล้ว  
ผู้ร่วมงานทุกคนรู้ดีว่าถ้าล้มเหลวจะเสียหายร้ายแรงหน่วยงานจึงต่างมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ
ทั้งนี้ในสภาวะลำบากดังกล่าวหัวหน้างานจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ให้ลูกน้องแต่ละคนได้รับภาระ
งานอย่างเหมาะสม   มีการพักผ่อน และ สันทนาการตามควรดังนี้แล้ว ก็สามารถ ประคองงาน
ให้ลุล่วงไปได้
____สำหรับภูมิประเทศกับดัก ปิดล้อม และ มรณะ รวมทั้งวิธีการดำเนินกลยุทธ์ในบทนี้  ซุนวู
ได้กล่าวทวนซ้ำกับบทก่อน ที่ผ่านมาและได้วิเคราะห์ไปแล้ว จึงขอผ่านไปไม่เอ่ยถึง
____ประเด็นสำคัญในบทนี้ คือ เทคนิคการปกครองบังคับบัญชาคนการปลุกขวัญกำลังใจผู้ใต้
้บังคับบัญชา และจิตวิทยามวลชน  ในการรบนั้น ถ้ากองทัพต้องอยู่ในสถานะที่ไม่อาจล่าถอยได้
ต้องเผชิญหน้ากับความตายแล้ว   ไพร่พลจะคิดสู้ตายไม่ถอยหนี และไม่ยอมจำนนต่อข้าศึก ซึ่ง จะเกิดผลดังนี้ได้ตัวขุนพลต้องเป็นผู้มีความสามารถมีความเที่ยงธรรม ปกครอง ไพร่พลอย่างดี
ปูนบำเหน็จอย่างเหมาะสม  เมื่อทำได้ดังนี้แล้ว ทั้งกองทัพก็จะร้อยใจเป็นหนึ่งช่วยกัน รบอย่าง
ไม่คิดชีวิต   เมื่อตกอยู่ในภาวะคับขัน  แม้คนที่ไม่ถูกกันในกองทัพก็ต่างร่วมแรงร่วมใจกัน ซึ่ง
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงเคยใช้หลักการนี้  ในการเข้าตีจันทบุรี      โดยให้ทหาร
รับประทานอาหารจนอิ่มหนำสำราญแล้วทุบภาชนะต่างๆ  ทิ้งเสียสิ้นก่อนสั่งให้เข้าโจมตีจันทบุรี
ในสถานะ เช่นนี้ขวัญกำลังใจไพร่พลจึงถูกกระตุ้นให้อยู่ในระดับสูงสุดคือต้องรบให้ชนะ มิฉะนั้น
ก็หมายถึง ความตายจึงเข้าทำการรบ โดยไม่คิดถึงแก่ชีวิตรบจนได้ชัยชนะเข้ายึดเมืองจันทบุรี
ในที่สุด เปรียบเทียบกับการทำงานแล้ว   ตามปกติถ้าไม่อยู่ในสถานะคับขันคนทั่วไปมักทำงาน
ไปอย่างเรื่อยๆ ไม่กระตือรือร้นแต่ถ้าหัวหน้างานแสดงสถานการณ์   ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่า
บริษัทห้างร้านอยู่ในสถานะวิกฤติ   อาจต้องมีความเสียหาย  และ ส่งผลกระทบ ต่อ  ผู้ร่วมงาน
ทุกคนแล้วต่างก็จะร่วมมือกันทำงานให้ผ่านพ้นอุปสรรคไปได้ ประหนึ่งดังที่ ซุนว ูกล่าวว่า " แม้
ไม่สั่งการ  ทหารก็เตรียมพร้อม   แม้ไม่ขอร้องไพร่พลก็ร่วมใจกัน     แม้ไม่มีสัญญาทหารก็
ร่วมมือกัน.."
____กล่าวโดยสรุปในบทนี้ขุนพลหรือหัวหน้างานต้องเป็นผู้มีความสุขุม เยือกเย็น  เที่ยงธรรม
มีความเป็นผู้นำ สามารถปลุกเร้า  ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่บิดพลิ้ว     ในทุก
สถานการณ์     มีความสามารถในการบริหารจัดการให้พลิกแพลงไปตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลง
ไปได้เสมอนั่นเอง
ตำราพิชัยสงครามซุนวู ( ตอนที่ ๑๒ )
 ซุนวูกล่าวว่า :
     
การโจมตีด้วยไฟมีอยู่ วิธี คือ เผาคน เผาเสบียง เผายานพาหนะ เผาอาวุธยุทโธปกรณ์ และเผาทั้งกองทัพ
     
การใช้กลยุทธ์โจมตีด้วยไฟขี้นอยู่กับภาวการณ์ที่เหมาะสม อุปกรณ์จุดเพลิงต้องเตรียมให้ พร้อมสรรพไว้เสมอเข้าโจมตีด้วยไฟในฤดูกาลที่เอื้อให้กระทำได้ ใช้ไฟในเวลาที่เหมาะสม
เป็นช่วงฤดูกาลที่อากาศแห้ง ดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในกลุ่มดาว ฉี ปี้ อี้ เจิ่น ซึ่งช่วงเวลานี้ลมจะ พัดจัด
     
กล่าวโดยทั่วไป การทำสงครามด้วยไฟต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ผันแปรไป ประการ คือ
          
ถ้าไฟไหม้ขึ้นในค่ายข้าศึก ให้เข้าตีกระหนาบทันทีจากนอกค่าย
          
เมื่อไฟลุกโพลงแต่ข้าศึกสงบนิ่ง ให้รอดูเหตุการณ์อย่าเพิ่งเข้าโจมตี
          
ถ้าไฟลุกลามเป็นบริเวณกว้าง เข้าตีกระหนาบถ้าทำได้ ถ้าทำไม่ได้ให้รอดูเหตุการณ์
          
ถ้าสามารถเข้าโจมตีจากด้านนอกได้ แต่ไม่อาจมั่นใจได้ว่ามีการสนับสนุนจากภายใน แล้ว ให้เริ่มกระทำในโอกาสที่เหมาะสม
          
ถ้าไฟไหม้เหนือลม อย่าโจมตีด้านใต้ลม
          
ถ้าลมพัดจัดในตอนกลางวัน กลางคืนมักลมสงบ
     
ขุนพลจึงต้องเข้าใจวิธีการใช้ไฟตามสถานการณ์ทั้งห้า เพื่อใช้การโจมตีด้วยไฟให้สัมฤทธิ์ ผล ตามสภาพอากาศที่เหมาะสม
     
ผู้ใช้ไฟในการโจมตีจึงถือว่าเป็นผู้มีปัญญา ส่วนการโจมตีด้วยน้ำเป็นเพียงการเสริมพลัง
อำนาจเนื่องจากน้ำใช้ตัดกำลังข้าศึกออกจากกันได้ แต่ไม่อาจทำลายข้าศึกได้
     
แม้ได้รับชัยชนะในสงคราม แต่ไม่เกิดประโยชน์โภคผลอันใด ถือว่าเป็นหายนะ เป็นความ "สูญเปล่า และไร้ประโยชน์" จึงกล่าวกันว่าผู้ปกครอง ผู้มีสติปัญญาย่อมไตร่ตรองวางแผนอย่าง รอบคอบ แล้วมอบหมายให้ขุนพลที่มีความสามารถนำไปปฏิบัติ
     
อย่าทำสงครามถ้าไม่เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ อย่าใช้กองทัพถ้าไม่อาจบรรลุวัตถุ ประสงค์เมื่อจะเกิดอันตรายต่อประเทศชาติจึงเข้าสู่สงคราม ผู้ปกครองจึงไม่ทำสงครามเพราะ โทสะจริตส่วนตัว ขุนพลไม่เข้าสู่สนามรบด้วยความเคียดแค้นชิงชัง เมื่อได้เปรียบจึงรบ
เสียเปรียบอย่ารบ ความโกรธอาจเปลี่ยนแปลงเป็นความเบิกบาน ความแค้นเคืองอาจเปลี่ยน เป็นความพอใจ แต่บ้านเมืองที่ถูกทำลายไม่อาจกลับคืนมาเหมือนเดิม ผู้ที่ตายก็ไม่อาจฟื้นคืน ชีพได้
     
ผู้ปกครองที่มีสติปัญญาจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบในการทำสงครามขุนพลที่ดีย่อมปฏิบัติ การด้วยความระมัดระวังดังนี้แล้วกองทัพจึงคงอยู่ และประเทศชาติมีความมั่นคงสืบต่อไป
บทวิเคราะห์
        
มีคำพังเพยกล่าวว่า "ขโมยขึ้นบ้านสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว" เนื่องจากไฟมีอำนาจ
ทำลายล้างได้อย่างกว้างขวาง และเบ็ดเสร็จเด็ดขาดกว่าอาวุธชนิดอื่น ในสมัยก่อนการโจมตี ด้วยไฟในระยะใกล้ ใช้การวางเพลิงในระยะไกล ใช้อาวุธยาว เช่น ธนูเพลิงเป็นพาหนะในการ จุดไฟเผาฝ่ายข้าศึก แม้ในปัจจุบันการสงครามยังคงใช้ไฟเป็นอาวุธเด็ดขาดอยู่ แต่พาหนะ เปลี่ยนไปจากคน หรือธนูกลายเป็นจรวด ระเบิด หรืออาวุธปล่อยชนิดต่างๆ และการโจมตีด้วย ไฟ ที่ร้ายแรงที่สุดคือ การใช้อาวุธปรมาณู ซุนวูแยกแยะการใช้ไฟเป็นอาวุธอยู่ ประเภท คือ เผาคน เผาเสบียงเผา ยานพาหนะ เผาอาวุธยุทโธปกรณ์ และเผากองทัพ ซึ่งเป็นหลักการที่ยัง ทันสมัยแม้กระทั่งในยุคปัจจุบัน
        
การเผาคนมุ่งโจมตีไปที่ตัวบุคคลอันมีเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ และสงครามเวียดนาม สหรัฐฯ ได้นำเอาวิธีการย่างสดมาใช้อย่าง กว้างขวาง ในการรบกับฝ่ายตรงข้ามที่ขุดรูอยู่ ซึ่งรูเหล่านี้มีขนาดเล็กจนทหารสหรัฐฯ ซึ่งรูปร่าง ใหญ่ไม่อาจมุด หรือไม่กล้ามุดเข้าไปต่อสู้ด้วย อาวุธที่ใช้คือ ปืนพ่นไฟ (Flame Thrower) หรือเอาน้ำมันกรอกลงในรู แล้วจุดไฟหย่อนตามลงไป ถ้าในที่โล่งแจ้งใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด เพลิง (Napalm) ใส่ ผลที่ได้รับถ้าไม่ตายก็เกิดแผลไหม้เหวอะหวะหมดสภาพการรบไปเลย เปรียบเทียบกับการทำงานใดๆ แล้วการเผาคนก็เปรียบกับสำนักงานที่มีการแตกสามัคคีกัน
มีการแบ่งพรรคพวกไม่สนับสนุนการทำงานซึ่งกัน ขั้นรุนแรงถึงกับขัดขวางการทำงานซึ่งกัน และกัน จิตใจแต่ละคนลุกโพลงด้วยไฟแห่งความริษยาเกลียดชัง ขวัญกำลังใจในการทำงาน
ตกต่ำ ถ้ามีผู้ยุยงส่งเสริม แล้วก็จะระบาดลุกลามไปทั้งสำนักงาน จนการงานหยุดชะงัก
สาเหตุของวิกฤตการณ์นี้มักเกิดจากการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นระหว่างระดับหัวหน้างานในหน่วย เดียวกัน เลยส่งผลให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกในระดับรองๆ ลงไป
        
นโปเลียนเคยกล่าวว่า "กองทัพเดินด้วยท้อง" หมายความว่าทหารจะมีแรงรบได้ ต้องมี อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ถ้ากินกันอดๆ อยากๆ แล้วก็ไม่มีเรี่ยวแรงจะสู้กับฝ่ายข้าศึก แม้ อาวุธจะดีอย่างไรก็ตาม ดังนั้นการเผาเสบียงข้าศึกจะมีผลให้ฝ่ายนั้นได้รับความหิวโหย หมด เรี่ยวแรงที่จะรบกับฝ่ายเรา เปรียบเทียบกับการทำงานแล้ว การเผาเสบียงก็เหมือนกับการส่ง คนออกไปปฎิบัติงานสนามโดยขาดการสนับสนุนด้านปัจจัยที่เหมาะสมพอเพียง ตัวอย่างเช่น ให้เบี้ยเลี้ยงเดินทางน้อยหรือไม่ครบจ่ายค่าที่พักเพียงเล็กน้อยจนมีเงินพอ ไปพักแค่โรงแรม จิ้งหรีด เมื่อต้องอยู่แบบซอมซ่อ และบริโภคแบบยาจก ก็ส่งผลให้ขวัญกำลังใจตกต่ำ
ขาดกระจิตกระใจและเรี่ยวแรงที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพ ทำงานกันแบบลวกๆ พอให้เสร็จ แบบขอไปที
        
ยานพาหนะ หมายถึง เครื่องขนส่งทั้งปวงที่นำเอาทั้งคนและอาวุธไปรบกับข้าศึก เช่น
รถถัง รถบรรทุกอากาศยาน เรือ ฯลฯ ถ้าสามารถเผาทำลายพาหนะเหล่านี้ได้ ข้าศึกก็ต้องใช้ การเดินเท้าและอาวุธเบาเท่าที่พอแบกหามได้มาสู้กับฝ่ายเรา จึงขาดความคล่องตัวในการ ดำเนินกลยุทธ์ และไม่อาจใช้อาวุธหนักได้ เปรียบเทียบกับการทำงานแล้วการเผายานพาหนะ เสมือนกับสำนักงานขนาดใหญ่ที่ปราศจากหน่วยขนส่งของตนเอง จำเป็นต้องหยิบยืม หรือเช่า ยานพาหนะจากที่อื่นมาใช้ ขาดทั้งความคล่องตัว และเอกภาพในการบังคับบัญชา จะขนของตน ไปไหนแต่ละทีก็ขลุกขลักไม่สะดวก การงานก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า
อาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำลายข้าศึก ถ้ามีเพียงแต่คน แต่ขาดอาวุธ ไม่ว่าจะ
ฝึกทำบุคคลมือเปล่า และศิลปะแม่ไม้มวยไทยมาเก่งอย่างไร ก็คงไม่อาจเข้าต่อสู้ผู้มีอาวุธได้ ถ้าขืนส่งทหารมือเปล่าเข้ารบก็คงกลายเป็นนกป่าให้เขาไล่ยิงเล่นสนุกมือเท่านั้น ดังนั้นวิธีที่ดี
ที่สุดที่ทำให้ข้าศึกไม่คิดจะต่อสู้ คือ ทำให้ปราศจากอาวุธด้วยการเผาเสียให้สิ้น การเผานี้อาจจะ ไม่ใช่การเผาโดยตรงด้วยไฟ แต่อาจเป็นการใช้วิธีบั่นทอนให้ฝ่ายศัตรูทำลายอาวุธของตัวเอง ให้มากที่สุดก่อน เช่น สหรัฐฯ ใช้กลอุบายกดดันอิรักให้ทำลายอาวุธตัวเองทีละน้อยจนแทบจะ เหลือแต่มือเปล่า แล้วจึงเข้ารบด้วยดังตัวอย่างที่ทุกคนได้เห็นกันอยู่แล้วในปัจจุบัน
เปรียบเทียบกับการทำงานแล้ว สภาพของสำนักงานที่อยู่ในสภาพคล้ายถูกเผาอาวุธยุทโธปกรณ์ คือ หน่วยงานที่ขาดแคลนครุภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ของที่ใช้อยู่ก็เก่า คร่ำคร่าตกยุค อะไหล่ก็หายาก หรือต้องดัดแปลงแก้ไขปัญหาเองตามมีตามเกิด ขอให้หน่วย เหนือขึ้นไปจัดหาให้ใหม่ก็มักอยู่ในแผนลำดับ ท้ายๆ หรือเป็นแผนสำรองไปเสียทั้งชาติ ผลงาน ที่ได้จึงเป็นไปตามสภาพเครื่องมือเครื่องใช้เท่าที่มีอยู่ จะเคี่ยวเข็ญบังคับอย่างไรก็คงไม่ดีขึ้น ได้
        
การเผาทั้งกองทัพคือ การทำลายทั้งไพร่พล อาวุธยุทโธปกรณ์ เสบียงอาหาร ยานพาหนะ
อย่างเบ็ดเสร็จเสียในคราวเดียวกัน สำหรับในสมัยโบราณแล้ว การเผาชนิดนี้นับว่าทำได้ยากที่ สุด เนื่องจากผู้เผาต้องมีการเผาทั้งจากด้านนอก และจากด้านในโดยการใช้ไส้ศึกจำนวนมาก ในกองทัพข้าศึกช่วยดำเนินการให้ สำหรับในปัจจุบันประเทศที่มีอาวุธปรมาณู จำนวนมาก เช่น สหรัฐฯ รัสเซีย สามารถใช้อาวุธปรมาณูในการเผาทำลายทั้งกองทัพ หรือทั้งประเทศได้
แต่เพราะความรุนแรงของอำนาจทำลายล้างสูงนี้จะเผาผลาญทุกสิ่งราพณาสูรหมด จนไม่เหลือ อะไรให้ผู้ชนะได้ใช้ประโยชน์หลังสงคราม ต้องใช้เงินทองมากมายเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ บ้านเมืองสภาพดีดังเดิม เปรียบเทียบกับการทำงานทั่วไปแล้ว การเผาทั้งกองทัพก็คือ บริษัท ห้างร้านที่อยู่ในสภาพล้มละลาย ต้องเลิกกิจการไป เนื่องจากการบริหารจัดการที่ล้มเหลวที่อาจ มีผลมาจากการขาดผู้นำที่มีความสามารถ ระดับผู้ปฏิบัติขาดคุณภาพ มีความแตกแยกและ ทุจริตในหน่วยงาน หรือขาดเงินทุน และเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น
        
ในการพิจารณาใช้ไฟทั้ง แบบนี้จักต้องมีการพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์
และเวลาจะบุ่มบ่ามใช้โดยไม่รอบคอบมิได้ ซึ่งซุนวูได้วิเคราะห์การใช้ไฟไว้ ประการ คือ
        
ถ้าไฟไหม้ในค่ายข้าศึก ให้เข้าตีกระหนาบทันทีจากนอกค่ายเนื่องจากในช่วงนี้ข้าศึกจะ สาละวนอยู่กับการดับไฟตามสถานที่ต่างๆ จนขาดความพร้อมในการรบ ถ้าฝ่ายเราเข้าตีทันที จะสังหารศัตรูได้เป็นจำนวนมาก ข้าศึกตั้งตัวไม่ติด และพ่ายแพ้โดยง่าย
        
ถ้าไฟลุกโพลง ข้าศึกสงบนิ่ง อย่าผลีผลามเข้าตี เพราะข้าศึกอาจไม่ได้อยู่ในค่ายของ
ตนเอง แต่รออยู่นอกค่าย ถ้าฝ่ายเราเข้าไปในกองเพลิงแล้วจะถูกตีตลบหลัง เข้าทางที่ข้าศึก วางแผนไว้
        
ถ้าไฟลุกลามเป็นบริเวณกว้าง แสดงว่าฝ่ายข้าศึกหมดความสามารถที่จะควบคุมเพลิง ไว้
ได้ และเลิกความคิดที่จะดับเพลิง หันมาตั้งรับฝ่ายเรา ถ้าบุ่มบ่ามตีกระหนาบเข้าไป ฝ่ายเราจะ ตกอยู่ทั้งในกองเพลิงและวงล้อมของข้าศึก จึงควรรอดูเหตุการณ์ก่อนว่าสถานการณ์เหมาะสม หรือไม่ จึงค่อยเข้าตี
 ในการโจมตีป้อมค่ายข้าศึกจากด้านนอก ถ้าปราศจากไส้ศึกคอยสนับสนุนจากภายใน
แล้ว ฝ่ายเข้าโจมตีจะประสบความสูญเสียมากมายกว่าฝ่ายตั้งรับมาก ซุนวูจึงให้พิเคราะห์อย่าง ถี่ถ้วน จนแน่ใจว่าการปฏิบัติจะประสบความสำเร็จแน่นอนแล้ว จึงค่อยดำเนินการ
        
ในขณะไฟไหม้ ซุนวูห้ามโจมตีด้านใต้ลม เพราะควันและความร้อนจะพุ่งมายังผู้เข้า
โจมตี ทำให้แสบตามองเห็นข้าศึกไม่ชัด หรือมองไม่เห็น เพราะควันเป็นฉากกำบังการโจมตี ที่ถูกต้อง คือ ต้องกระทำเหนือลมขณะเพลิงลุกไหม้ จึงเป็นฝ่ายได้เปรียบ
        
การโจมตีในสถานการณ์ที่ใช้เพลิงเป็นอาวุธ ขุนพลผู้นำทัพต้องพิจารณาใช้ด้วยความ รอบคอบ จึงจะให้ผลดีแก่ฝ่ายตน
        
เปรียบกับการทำงานแล้วไฟเปรียบเสมือนปัญหาในที่ทำงาน ทำให้เกิดปัญหาทั้งทาง ด้านองค์บุคคล (เผาคน) องค์วัตถุ (เผาอาวุธยุทโธปกรณ์ และยานพาหนะ) การงบประมาณ (เผาเสบียง) และการบริหาร (เผากองทัพ) ซึ่งผู้บริหารและหัวหน้างานในทุกระดับต้องรู้สาเหตุ และขจัดปัญหา ซึ่งเปรียบเสมือนไฟในสำนักงานในทุกระดับให้หมดสิ้นไป ก่อนที่จะทำลาย (เผาผลาญ) หน่วยงานนั้นให้สูญไป
        
ซุนวูจึงถือว่าไฟคือ อาวุธที่ทำลายล้างอย่างเบ็ดเสร็จสิ้นเชิง ที่ขุนพลผู้มีปัญญาเท่านั้น 

จะนำมาใช้หรือเตรียมวิธีป้องกันอย่างได้ผล ส่วนวิธีการอื่นๆ เช่น การใช้น้ำเป็นเพียงส่วนช่วย เสริมพลังอำนาจของไฟเท่านั้น ไม่ใช่ปัจจัยตัดสินการแพ้ชนะอย่างเด็ดขาด ดังตัวอย่าง เช่น
ในสมัยการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ซึ่งฤดูน้ำหลากไม่สามารถผลักดันให้พม่าถอยทัพกลับ
ไปได้ เพราะน้ำมิได้ทำให้เกิดความสูญเสียแก่ฝ่ายพม่า โดยพม่าได้คาดการณ์ไว้แล้วว่าไทยคง จะใช้ยุทธศาสตร์เดิม คือ คอยน้ำหลาก จึงได้เตรียมแพสำหรับการรบในช่วงน้ำหลากไว้พร้อม และจู่โจมกรุงศรีอยุธยาด้วยไฟในการรบครั้งสุดท้ายจนวายวอดไปทั้งกรุง พ่ายแพ้แก่พม่าในที่ สุด นี้ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเจนระหว่างพลังของน้ำกับไฟอันสอดคล้องกับที่ซุนวู ได้กล่าวไว้ทุก ประการ
        
ซุนวูถือว่าสงครามเป็นเรื่องอัปมงคล จึงแนะนำให้ทำสงครามในกรณีที่พิจารณาอย่าง รอบคอบแล้วเห็นว่าไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วเท่านั้น เพราะการรบที่แม้จะได้รับชัยชนะในการ ยุทธ์ แต่ถ้าฝ่ายชนะไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า นี่คือสงครามที่ไม่จำเป็น ที่ซุนวูกล่าวว่า
"
สูญเปล่า และไร้ประโยชน์" ดังนั้นผู้ปกครองประเทศจึงต้องไตร่ตรองอย่างถ่องแท้แล้วว่า
เป็นสงครามที่จำเป็น เช่น เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ หรือรักษาผลประโยชน์อันสำคัญยิ่งของ ประเทศ ดังนี้จึงวางแผนเข้าสู่สงคราม และมอบหมายให้ขุนผลผู้มีความสามารถจริงๆ นำทัพ เข้าทำการรบ ดังนั้น ผู้ปกครองจึงนำประเทศเข้าสู่สงครามเนื่องจากความจำเป็นของส่วนรวม ทั้งชาติ มิใช่ทำสงครามเพราะตัณหา โทสะ หรือโมหะส่วนตัวแอบแฝงในใจ ขุนพลนำทัพเข้า ทำการรบด้วยความรู้สึกถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เมื่อเป็นผลประโยชน์แก่ชาติจริงๆ แล้วจึง เข้ารบ เพราะสงครามย่อมทำลายชีวิตและทรัพย์สินทั้ง ฝ่าย ซึ่งเมื่อถูกทำลายแล้วก็มิอาจนำ กลับคืนมาได้ดังเดิม ผู้มีปัญญาจึงพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนก่อนนำประเทศเข้าสู่สงคราม เปรียบเทียบกับการทำงานแล้ว สงครามที่ไม่จำเป็นก็เหมือนกับงานที่ไม่จำเป็น เมื่อทำไปก็สูญ เปล่าไร้ประโยชน์ต่อเป้าหมายของหน่วยงาน ซึ่งมักเกิดจากหัวหน้างานที่ต้องการทำเพื่อสนอง ตัณหาของตนเอง โดยมิได้คำนึงถึงผลเสียหายต่อส่วนรวม สูญเสียทั้งแรงงาน และทรัพยากรไป โดยเปล่าประโยชน์
ตำราพิชัยสงครามซุนวู (ตอนอวสาน)
ซุนวูกล่าวว่า :
         
การส่งกำลังทหารหนึ่งแสนนายเข้าสู่สงคราม เดินทัพเป็นระยะทางหนึ่งพันโยชน์ ต้องใช้เงินภาษี ีอากรของราษฎร และคลังหลวงเป็นมูลค่าหนึ่งพันตำลึงทองต่อวัน ประชาชนไดัรับ ผลกระทบไปทุก หัวระแหง ผลผลิตการเกษตรได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย มีผู้ได้รับความเดือด ร้อนถึงเจ็ดแสนครอบครัว
        
กองทัพเผชิญหน้าตรึงกำลังกันนับเป็นปี เพื่อตัดสินแพ้ชนะกันภายในวันเดียวถ้าตระหนี่ถี่ เหนียว การให้ยศ ปูนบำเหน็จ และทองไม่กี่ร้อยตำลึง ก็ไม่อาจล่วงรู้สถานะฝ่ายข้าศึกได้ นับว่า ไม่รู้ ธรรมชาติของมนุษย์ บุคคลเช่นนี้ ไม่ใช่ขุนพลปวงชน ไร้ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง และ ไม่อาจกำหนด ชัยชนะได้
       
ผู้ปกครองที่ปราดเปรื่องและขุนพลผู้มองการณ์ไกล ใช้การข่าวกรองเป็นเครื่องมือในการพิชิตข้าศึก ที่กำลังเหนือกว่า
        
การข่าวกรองไม่อาจได้มาจากการทรงเจ้าเข้าผี ประเมินจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือการบวง สรวงเสี่ยงทาย แต่ได้มาจากบุคคลที่รู้สถานะแท้จริงของข้าศึก
         
มีจารชนอยู่ ประเภทในงานข่าวกรองคือ จารชนถิ่น จารชนใน จารชนซ้อน จารชน ตาย และจาร ชนเป็น เมื่อจารชนทั้งห้าร่วมปฏิบัติภารกิจ โดยปราศจากผู้ล่วงรู้ ก็เปรียบดัง "พรายกระซิบ " ซึ่งเป็น เครื่องมือ ที่มีค่ายิ่งของผู้ปกครอง
         
จารชนถิ่น คือ บุคคลในท้องถิ่นศัตรูที่ทำงานให้ฝ่ายเรา
         
จารชนใน คือ ข้าราชการของข้าศึกที่ทำงานให้ฝ่ายเรา
         
จารชนซ้อน คือ จารชนฝ่ายข้าศึกที่ทำงานให้ฝ่ายเรา
         
จารชนตาย คือ บุคคลที่กระจายข่าวลวงของฝ่ายเราให้ข้าศึกทราบ
         
จารชนเป็น คือ สายลับที่ฝังตัวในดินแดนข้าศึก และรายงานข่าวกลับมาให้ทราบ
         
ดังนั้นในกิจการทั้งปวงของ เหล่าทัพ  ไม่มีสิ่งใดสำคัญไปกว่างานข่าวกรอง ไม่มีผู้ใดที่ไดรับ รางวัล  และผลตอบแทนมากไปกว่าจารชน   และไม่มีงานใดที่เป็นความลับมาก ไปกว่างานข่าวกรอง
        
ผู้ไร้ปัญญาย่อมไม่อาจใช้จารชน  ผู้ไม่มีความกรุณา   และมนุษยธรรมย่อมไม่อาจใช้ ้จารชน  ผู้ขาด ความลุ่มลึกและหลักแหลมย่อมไม่อาจใช้จารชน  เพื่อรายงานข่าวกรองให้เป็นประโยชน์ได้ ผู้ฉลาดล้ำ สามารถใช้จารชนได้ในพื้นที่ทุกหนแห่ง
        
ถ้าความลับรั่วไหลก่อนปฏิบัติภารกิจ ให้สังหารจารชน และบุคคลที่จารชนติดต่อด้วย เสียให้สิ้น
         
ก่อนปฏิบัติการโจมตีทัพข้าศึก เข้ายึดเมือง หรือลอบสังหาร ขั้นแรกให้สืบหาข่าว ชื่อผู้บังคับบัญชา ข้าศึก ทหารคนสนิท ฝ่ายอำนวยการ ทหารหน้าห้อง และผู้ช่วยอื่น โดยใช้จารชน หาข่าวเกี่ยวกับ บุคคลเหล่านี้สืบทราบให้ได้ว่าใครคือบุคคลที่ข้าศึกส่งมาสืบข่าวฝ่ายเราติดสินบนให้ทำงานด้วย เพื่อใช้ ้เป็นจารชนซ้อน วิธีการนี้ช่วยให้เราจัดหาจารชนถิ่น และจารชนใน มาใช้ งานได้ และส่งจารชนตายไป ส่งข่าวลวงให้แก่ข้าศึก  ดังนี้แล้วจารชนเป็นจึงฝังตัวทำงานใน ดินแดนข้าศึกได้นานเท่าที่ต้องการ
        
ผู้ปกครองจึงต้องรู้จักวิธีการ ใช้จารชนทั้งห้าประเภทอย่างเหมาะสม การปฏิบัติได้อย่าง เหมาะสม ต้องพึ่งพาข้อมูลจากจารชนซ้อน จึงพึงปฏิบัติต่อจารชนซ้อนให้ดีที่สุด  ผู้ปกครองที่ปราดเปรื่อง และขุนพล ผู้สามารถเท่านั้น   ที่จะสามารถหาผู้มีสติปัญญา เฉลียวฉลาดมาเป็นจารชน เพื่อให้บรรลุความสำเร็จ สูงสุดได้ งานการข่าวเป็นเรื่องสำคัญทางการทหาร ซึ่ง เหล่าทัพต้องพึ่งพาในการทำสงคราม
          
บทวิเคราะห์
           
หัวข้อนี้ซึ่งเป็นบทสุดท้ายของตำราพิชัยสงครามซุนวู กล่าวถึงการใช้งานข่าวกรองเป็น เครื่องมือ สำคัญสนับสนุนการทำสงครามเพื่อให้ล่วงรู้สถานะฝ่ายข้าศึก ฝ่ายเราสามารถกำหนดยุทธศาสตร ์และ แผนการรบที่นำไปสู่ชัยชนะ ถ้ามีการข่าวที่ดีแล้ว แม้กำลังจะด้อยกว่าฝ่ายตรง ข้าม ก็ยังอาจมีชัยได้
ซุนวูให้ความสำคัญกับงานข่าวกรอง และตำหนิผู้ไม่ลงทุนในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นผู้ คับแคบ และไม่อาจกำหนดชัยชนะได้ เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับการทำสงคราม ซึ่งเป็นงานใหญ่แล้ว  รายจ่ายที่ใช้ในงานข่าวกรองถือว่าเป็นเงินเล็กน้อยมาก ถ้าไม่มีการปฏิบัติ ก็เข้าลักษณะ "ฆ่าเนื้อเสีย ดายเกลือ" เมื่อเปรียบเทียบกับงานทั่วไปแล้ว งานข่าวกรองคือ การให้ได้มาซึ่งข้อมูล ข่าวสาร และสาร สนเทศต่าง ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งการได้ ้มาต้องใช้สื่อชนิดต่าง ที่หลากหลาย อันเปรียบ เสมือนจารชน ประเภทต่างๆ ตามที่ซุนวูกล่าวไว้
           
ในยามสงบงานข่าวกรองเกี่ยวกับประเทศที่อาจเป็นคู่สงคราม หรือประเทศที่อาจมี การกระทำ ใด ให้เกิดผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ เป็นกิจกรรมที่กองทัพ และหน่วยงานด้านความมั่นคง ต้อง กระทำสม่ำเสมออย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับ ข้าศึกจะช่วยลดความสูญเสีย ของฝ่ายเรา  ถ้าทำการรบจริงและนำสู่ชัยชนะ การดูว่ากองทัพ มีความพร้อมในการทำสงครามเพียง ใด นอกจากจะประเมินทำเนียบกำลังรบ และประสิทธิ ิภาพในการฝึกหัดศึกษาของทหารแล้ว ยัง ประเมินได้จากกิจกรรมด้านงานข่าวกรอง ถ้าผู้รับ ผิดชอบงานด้านนี้มิใช่มือาชีพ ขาดความเข้าใจ ในงานข่าวกรองอย่างแท้จริง ไม่มีการวาง ระบบงานที่ดี ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณและ กำลังพลอย่างจำกัดแล้ว งานก็เป็นไป ็แบบไร้ทิศทาง ใช้วิธีคาดเดาและความรู้สึกในการประเมินข่าว หาข่าวจากแหล่งข่าวทุติยภูมิเช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ ซึ่งซุนวูตำหนิงานด้านการข่าวว่า "ถ้าตระหนี่ถี่เหนียว ในการให้ยศ ปูนบำเหน็จและทองไม่กี่ร้อยตำลึง ก็ไม่อาจล่วงรู้สภาพ ฝ่ายข้า ศึก ไร้ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง และไม่อาจกำหนดชัยชนะได้" คือเลี้ยงไว้ก็เปลืองข้าวสุกนั่นเอง การ ปฏิบัติงานใดๆไม่ว่าทางทหาร หรือบริษัทห้างร้าน จึงต้องมีการลงทุนด้านข้อมูลข่าวสารไว้เสมอ ผู้เข้า ใจใน เรื่องนี้จึงนับว่ามีสายตายาวไกล
           
ซุนวูเตือนว่างานข่าวกรอง  "ไม่อาจได้มาจากการทรงเจ้าเข้าผี ประเมินจากปรากฏ การณ์ธรรม ชาติ หรือบวงสรวงเสี่ยงทาย แต่ได้มาจากบุคคลที่รู้สถานะแท้จริงของข้าศึก" จากข้อความนี้ที่เขียน ผ่านมาเป็นพันปีแล้ว แสดงว่าซูนวูเป็นคนที่ทันสมัยล้ำยุค เพราะยังคง เป็นความจริงจนถึงปัจจุบัน ในงานข่าวกรองผู้ให้ข่าวได้ถูกต้องแม่นยำที่สุด  คือผู้ที่เข้าถึง แหล่งข่าว เห็นสภาพที่แท้จริงของสิ่งต่าง  แล้วรายงานกลับมาให้ทราบ คำเตือนของซุนวูนี้ ประเมินได้ว่า ในยุคนั้นต้องมีความเชื่อในเรื่องเหนือ ธรรมชาติ นิมิต  ลางสังหรณ์ หมอดู คนทรง ใช้ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นสิ่งบอกเหตุ เช่น จิ้งจกทัก อีการ้อง เหล่านี้เป็นต้น ในการประเมินสถานการณ์ ฟังดูแล้วเหมือนกับว่าคน ในสมัยนั้นช่างคร่ำครึก ไร้เหตุผล แต่ถ้า ผู้อ่านติดตามข่าวสารบ้านเมืองในโลกปัจจุบันนี้จะพบว่าความเชื่อต่าง ที่ซุนวูห้าม ไว้นี้ ยังคงเจริญงอกงามดีในสังคมทั้งระดับผู้ปกครองและพลเมืองทั่วไป ไม่ว่าของประเทศใด หรือแม้ประเทศมหาอำนาจก็ตาม
           
ซุนวูแบ่งจารชนออกเป็น ประเภท คือ
           
จารชนถิ่น คือบุคคลในประเทศของข้าศึกที่ส่งข่าวให้ฝ่ายเราเป็นพลเรือนที่ประกอบอาชีพ ทั่วไป อาจเป็นเกษตรกร พ่อค้า ครู ฯลฯ ซึ่งยินดีส่งข่าวโดยแลกกับเงินตอบแทน ข่าวที่ ี่ได้จากจารชนประเภท นี้เป็นเรื่องทั่วไป ฝ่ายเราควรทราบแม้ไม่ลึกซึ้งนัก เช่น สภาพสังคม จิตวิทยา การเคลื่อนไหวใหญ่ทาง ทหารเหล่านี้เป็นต้น สำหรับกรณีการทำงานทั่ว ไปแล้ว จารชนถิ่นคือแหล่งข่าวเปิดจากสื่อต่าง เช่นสิ่งตีพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง สื่อเหล่า นี้ให้ข้อมูลข่าวสารที่กว้างขวางหลายหลาก จึงต้อง มาแยกแยะคัดสรรก่อนนำมาใช้ประโยชน์ ์กับงานในความรับผิดชอบได้
           
จารชนใน คือ ข้าราชการข้าศึกที่ทำงานส่งข่าวให้ฝ่ายเราทำตัวเป็นไส้ศึกบ่อนทำลาย กองทัพ และประเทศของตนเอง จารชนประเภทนี้เสาะหาได้จากข้าราชการที่ไม่สมหวังใน ชีวิตราชการถูกกลั่น แกล้งและกีดกันไม่ให้ได้รับความก้าวหน้าโดยไม่เป็นธรรมอยู่เสมอ จน ในที่สุดเกิดความรู้สึกต้องการ แก้แค้น จึงยอมทำงานให้ฝ่ายตรงข้ามเพื่อชดเชยความผิดหวัง ของตนเอง และยังได้ค่าตอบแทน ข้าราชการประเภทนี้หาได้ไม่ยากนัก เพราะผู้ไม่สมหวัง ในชีวิต ย่อมมีในส่วนราชการทุกแห่งไม่ว่า ประเทศใด สำหรับความลึกซึ้งของข่าวที่จะส่งขึ้น อยู่กับระดับความรับผิดชอบ และชั้นยศของจารชน ประเภทนี้ เปรียบเทียบกับการทำงานใน สำนักงานทั่วไปแล้ว จารชนในโดยอนุโลม เปรียบเสมือน ห้องสมุดที่เก็บหนังสือต่าง ไว้ให้ ค้นคว้าในสำนักงาน ข้อมูลที่ใช้ค้นคว้าจะลึกซึ้งครอบคลุมเนื้อหา สาระ ที่ต้องการ มากน้อย เพียงใดขึ้นอยู่กับการจัดหา ถ้ายังขาดประเภทใดก็จัดหาเพิ่มเติมได้ตลอด เวลา
จารชนซ้อน คือจารชน ฝ่ายข้าศึกที่ฝ่ายเราซื้อตัวมาให้ทำงานด้วย ประเภทนี้หาได้ยากที่สุดและมี คุณ ค่ามากที่สุดในงานข่าวกรอง ถ้าได้มาใช้ก็เปรียบดังมีกล่องดวงใจของฝ่าย ฃตรงข้ามอยู่ใน ครอบครอง   ข้อมูลจากจารชนซ้อนมีความแม่นยำลึกซึ้ง   ทำให้ฝ่ายเราใช้ กำหนดยุทธศาสตร์   และวางแผนการรบ ได้เหนือกว่าฝ่ายข้าศึก เพราะคุณค่าที่สูงยิ่งนี้เองจารชนซ้อนจึงต้องได้รับการเอาใจใส่และได้รับ ผลตอบ แทนสูงกว่าจารชนประเภทอื่น         
          
จารชนตาย คือบุคคลที่ทำให้ข้าศึก ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับฝ่ายเราผิดพลาด โดยการกระจาย ข่าวลวง ซึ่งในกรณีนี้แม้ตัวจารชนเองก็อาจไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนทำอยู่ เป็น เพียงกิจกรรมอำพราง เพื่อทำให้ ฝ่ายข้าศึกเข้าใจผิดหรือสับสนเท่านั้น บุคคลที่ทำงานนี้ แม้ ถูกจับไปทรมาณจนสารภาพออกมาก็ยังทำ ภารกิจ ของตนได้อย่างสมบูรณ์  ด้วยเหตุนี้จึงมี ชื่อว่าจารชนตาย คือถูกตัดเชือก หรือ ปล่อยให้ตายได้ เปรียบเทียบกับการทำงานในบริษัท ห้างร้านหรือธุรกิจที่มีการแข่งขันกันด้านการค้าตามปกติมักมีความ ลับต้องปกปิดมิให้คู่แข่งทราบ อย่างไรก็ตามในแต่ละสำนักงานมักมีบุคคลประเภทช่างเจรจาปะปนอยู่ด้วย คนแบบนี้ มีธรรมชาติชอบพูดคุยอวดรู้ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญๆ เป็นอดไม่ได้ที่จะเล่าให้บุคคลภายนอก ฟัง สำนักงานสามารถใช้ประโยชน์จากคนเหล่านี้ได้โดยจงใจปล่อยข้อมูลเท็จให้ทราบ เพื่อ ไปกระจายข่าว ให้เข้าหูบริษัทคู่แข่ง แต่ถ้าพฤติกรรมดูเลยเถิดเกินไปแล้ว ก็จำเป็นต้องตัด เชือกคือไล่ออกนั่นเอง
          
 จารชนเป็น คือคนของฝ่ายเราที่มีการฝึกฝนด้านงานข่าวกรองอย่างเป็นระบบ ได้รับ การกำหนด หัวข้อข่าวสำคัญที่ฝ่ายเราต้องการ แล้วส่งเข้าไปอยู่ยังดินแดนข้าศึกเป็นเวลานาน พอสมควร และส่งข่าว กลับมาให้ทราบ โดยมีรูปลักษณ์ที่หลากหลาย เช่น นักการทูตประเภท ต่าง พ่อค้าแรงงานเหล่านี้ เป็นต้น จารชนประเภทนี้ฝังตัวในแผ่นดินข้าศึกนานพอที่จะ เก็บข้อมูลวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ต่าง ได้ อย่างเป็นระบบ ประสิทธิผลที่ได้จาก จารชนประเภทนี้ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและจิตสำนึกในการ ปฏิบัติหน้าที่ของตัวจารชน เอง ถ้าเป็นคนละเอียดรอบคอบ เฉลียวฉลาด   หาโอกาสศึกษาภูมิประเทศ เดินตามตรอก ซอกซอยเพื่อสัมผัสข้อมูลจริง ไม่พึ่งพาเพียงแต่การเก็บรวมรวมข่าวจากสื่อต่าง  อยู่ใน สำนักงาน หรือหาข่าวเพียงในงานค็อกเทลหรือสโมสรทางสังคมต่าง แล้ว ข่าวที่ได้ก็จะ ลุ่มลึกและแม่น ยำยิ่ง เปรียบเทียบกับการทำงานของสำนักงานหรือบริษัทห้างร้านใด จารชนเป็นก็คือกลุ่มบุคคลที่ได้รับ มอบหมายโดยตรงจากบริษัท ให้ทำงานศึกษารวบรวมข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการ ตลาดที่เกี่ยว ข้องกับธุรกิจของบริษัท เพื่อนำมาใช้ประกอบการ ตัดสินใจของฝ่ายบริหารให้มีประสิทธิผลสูงสุด
          
ข้อมูล  ข่าวสารเป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไป ทั้งในสิ่ง ตีพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เนต ห้องสมุด ฯลฯ แต่มิ ใช่ว่าผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือขุนพล จะมีขีดความสามารถในการนำข้อ มูลต่าง เหล่านี้มาใช้อย่าง มีประสิทธิผลทุกคน เหมือนดังที่ซุนวูกล่าวว่า   "ผู้ปกครองที่ ปราดเปรื่อง และขุนพลผู้สามารถเท่านั้นที่ใช้ งานข่าวกรองให้เป็นประโยชน์ได้…"  โดยรู้จัก เลือกคนมาเป็นจารชน   รู้จักใช้จารชนทั้ง ประเภทอย่าง เหมาะสมและให้ประโยชน์สูงสุด เปรียบดังหัวหน้างานต่าง ที่รู้จักการดึงเอาข้อมูลข่าวสาร จากสื่อต่าง มาผสมผสาน ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด   ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปอย่างไม่มีข้อสงสัยว่า "ผู้ครอบครองข่าวสารคือผู้มีอำนาจ"
ย่อหลักตำราพิชัยสงครามซูนวู
อารัมภบท
    
นายวู  แซ่ซุน หรือเรียกกันในแบบจีนว่าซุนวูเป็นนักยุทธศาสตร์ การทหารของจีน ผู้เขียนตำราการสงครามที่มีชื่อว่า  "ตำราพิชัยสงครามซุนวูซึ่งมีชื่อเสียงรู้จักกัน แพร่หลายไปทั่วโลกสำหรับประเทศในเอเชียนั้น ชื่อของบุคคลผู้นี้เป็นที่รู้จักกันดีแม้ ในหมู่ประชาชนคนเดินถนนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ใหญ่และมีการศึกษาเล่าเรียน มาพอสม ควรอันเป็นเรื่องน่าพิศวงยิ่ง สาเหตุที่ตำราพิชัยสงครามซุนวูเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เนื่องจากเป็นวรรณกรรมที่เลิศด้านการใช้ถ้อยคำ  สำนวนสั้น  กระชับ กินความ กว้างขวางลึกซึ้ง เป็นเหตุเป็นผลทำให้ผู้อ่านมีโอกาสใช้ความคิดของตนเองอย่าง กว้างขวางโดยมิต้องยึดติดตายตัวกับคำศัพท์ต่างๆ คนในทุกวงการจึงอาจใช้วิจารณ ญาณของตนเองตีความนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง        ด้วย คุณค่าของตำราพิชัยสงครามซุนวูตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้เขียนจึงใคร่นำเสนอ ให้ทราบสาระสำคัญของเรื่องและการใช้ประโยชน์อย่างย่อ แก่ผู้ไม่มีเวลาพอที่จะศึกษาอย่าง ละเอียดหรือต้องการเข้าสู่ประเด็นสำคัญของเรื่องเสียเลยทีเดียว สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่อง ราวอย่างสมบูรณ์ หาอ่านได้จากตำราในหมวดยุทธศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องตำราพิชัย สงครามซุนวู ซึ่งผู้เขียนได้วิเคราะห์ และเรียบเรียงมอบให้สถาบันการศึกษาวิชาการทหารเรือชั้นสูงไว้เป็นคู่ มือการเรียน ที่ดังกล่าวแล้ว
กำเนิดตำราพิชัยสงครามซุนวู
       
ซุนวูเดิมเป็นคนในแคว้นฉี อยู่ในช่วงยุคซุนชิว ประมาณ ๓๗๐ - ๔๗๖ ปี ก่อนคริสตกาล ต่อมาย้ายภูมิลำเนาไปอยู่แคว้นอู๋ ในช่วงชีวิตของเขาได้ให้ความสนใจค้นคว้าเกี่ยวกับตำราการ สงครามต่างๆ และคบหาสมาคมกับบรรดาขุนพลจนแตกฉานในเรื่องพิชัยสงคราม ในที่สุดได้ รับมอบตำแหน่งขุนพลในกองทัพอู่อ๋องเหอหลี เจ้าผู้ครองแคว้นอู่นำทัพเข้า ต่อสู้กับแคว้นต่างๆ มีชัยชนะจนแคว้นอู๋ได้เป็นมหาอำนาจในสงครามระหว่างแคว้นของจีน ซุนวูเขียนตำราพิชัย สงครามขึ้นจำนวน ๑๓ บทมีเนื้อหาในลักษณะยุทธศาสตร์การทำสงครามที่ครอบคลุม ประเด็น ต่างๆ ครบถ้วนตั้งแต่การประเมินสถานการณ์ การส่งกำลังบำรุง การข่าว ฯลฯ ด้วยคุณค่าของ ตำรานี้ที่มีผู้นำไปประยุกต์ใช้ไม่เพียงแต่ด้านการทำสงครามแต่ยังนำไปดัด แปลงใช้กับการงาน สาขาอื่นๆ อย่างได้ผลเป็นที่กว้างขวาง ซุนวูจึงได้รับการยอมรับและยกย่องให้มีศักดิ์เป็น "จื้อ " ( Tzu หรือ Zi ตามการสะกดด้วยอักษรโรมันเมื่อใช้ถ่ายทอดเสียงหนังสือจีน) อันหมายถึง "ปรัชญาเมธี" ซึ่งเป็นการให้เกียรติสูงสุดสำหรับนักปราชญ์จีน เฉกเช่นเดียวกับ " ขงจื้อ " และ "เล่าจื้อ" ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วไป ดังนั้นซุนวูจึงอาจมีชื่อรู้จักกันในนาม " ซุนจื้อ " ( Sun Tzu หรือ Sun Zi ) หรือความหมายไทยว่า " ปรัชญาเมธีซุน " เช่นกัน
เนื้อหาโดยย่อของตำราพิชัยสงครามซุนวู
      
ซุนวูเรียบเรียงตำราพิชัยสงครามขึ้นจำนวน ๑๓ บท ดังนี้คือ () การประเมินสถานการณ์ (การเข้าสู่สงคราม (การวางแผนการรุก (การจัดวางกำลัง  (ยุทธศาสตร์ของ อำนาจทางทหาร (การรู้ตื้นลึกหนาบาง (การเข้าทำการรบ () ความเปลี่ยนแปลงเก้า ประการ () การเดินทัพ (๑๐) รูปลักษณะภูมิประเทศ (๑๑) ภูมิประเทศเก้าประการ (๑๒) การโจมตีด้วยไฟ และ (๑๓การใช้จารชน ในจำนวน ๑๓ บท ข้างต้น เมื่อนำมาศึกษาโดย ละเอียดอาจย่นย่อลงได้เป็นสาระสำคัญ  ข้อ ของหลักการทำสงคราม คือ
         
. มีการวางแผนยุทธศาสตร์
         
. เลือกใช้คนมีความสามารถ
         
. ไพร่พลมีการฝึกหัดศึกษาดี
         
. ไม่มีการก้าวก่ายหน้าที่กัน
         
. รู้สภาวการณ์ทั้งปวง
          
มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสม
         
. ใช้การจู่โจมอย่างไม่คาดหมาย
         
.มีการพลิกแพลงไปตามสถานการณ์
         
ถ้าเปรียบการงานใดๆ ว่าเป็นเสมือนการทำสงครามซึ่งผู้ปฏิบัติมุ่ง ประสงค์ในชัยชนะ หรือความสำเร็จของงานสามารถนำหลักการโดยย่อทั้ง  ข้อ ข้างต้นมาประยุกต์ใช้ได้โดย อุปมาอุปมัย ดังนี้
        
 มีการวางแผนยุทธศาสตร์    ในการทำสงครามต้องมีการประเมินสถานการณ์ รู้กำลัง อาวุธยุทโธปกรณ์ ภูมิประเทศ ของฝ่ายเราและข้าศึก เพื่อนำมาวิเคราะห์หาจุดแข็ง และจุดอ่อนของ ทั้งสองฝ่าย นำมาใช้วางแผนยุทธศาสตร์กำหนดกลยุทธ์ในการเอาชนะข้าศึก ถ้าขาดการดำเนินการในขั้นนี้ แม้เตรียมอาวุธไว้มากมายเพียงใดเมื่อจำเป็นต้องเข้าสู่สงคราม ก็เป็นไปอย่างสะเปะสะปะไร้รูปแบบในลักษณะตามยถากรรม ซึ่งยากที่จะได้รับชัยชนะถ้าต้อง ปะทะกับข้าศึกที่มีการเตรียมการและวางแผนดีเช่นเดียวกับการปฏิบัติงานต่างๆ ในชีวิตประ จำวันที่บุคคลและหน่วยงานต่างๆ ควรต้องจัดให้มีการวางแผนสำหรับการทำงาน มีการจัดสรร เวลาและทรัพยากรต่างๆ อย่างเหมาะสมด้วยการวิเคราะห์งานเป็นระบบ ถ้าทำได้ดังนี้การงาน ต่างๆ ก็เป็นไปโดยราบรื่น สะดวก ไม่ติดขัด ประสบความสำเร็จด้วยดี หรือมีปัญหาน้อยที่สุด เพราะมีการวางแผนยุทธศาสตร์มาอย่างดีนั่นเอง
          
เลือกใช้คนมีความสามารถ    ในที่นี้ หมายถึงการบรรจุคนที่มีความรู้ความ สามารถตรงกับงานที่ต้องรับผิดชอบไม่ใช่เลือกคนเฉพาะที่เป็นพวกพ้องของตัว จะไร้ความ สามารถอย่างไรก็ไม่คำนึงเป็นไปในลักษณะระบบอุปถัมภ์ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาแล้วก็ไม่อาจแก้ไข ให้ลุล่วงถ้าเป็นการทำสงครามก็ได้ขุนพลที่ไร้ฝีมือไม่อาจสั่งการแก้ไข สถานการณ์สู้รบ นำกอง ทัพไปสู่ความพ่ายแพ้ ดังนั้นในการคัดเลือกคนบรรจุเข้าทำงานไม่ว่าในกองทัพเรือสำนักงาน ใดๆ ก็ตามถ้าผู้มีอำนาจใช้ระบบคุณธรรมในการคัดเลือกคนเข้าทำงานแล้ว ก็จะได้คนมีความ สามารถมาช่วยทำงานให้ลุล่วงสำเร็จไปด้วยดีเสมอแต่ถ้าเป็นไปในทางกลับกันแล้ว หน่วยงาน นั้นก็มีความล้มเหลวรออยู่เบื้องหน้าเท่านั้น
          
ไพร่พลมีการฝึกหัดศึกษาดี   ภูมิหลังการศึกษาของบุคลากรในกองทัพหรือ หน่วยงานใดๆสามารถนำมาใช้เป็นดัชนีชี้ผลสำเร็จของหน่วยงานนั้นได้ ในกองทัพที่นายทหาร และไพร่พลผ่านระบบการศึกษาที่มีคุณภาพไม่ใช่สุกเอาเผากิน เมื่อเข้าทำงานในกองทัพแล้ว ยังได้รับการฝึกหัดศึกษาเพิ่มเติมหรือทบทวนความรู้ตามระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอ ย่อมมี กำลังพลที่มีขีดความสามารถสูงปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลเมื่อเกิด สงครามจริง แต่ถ้า การฝึกหัดศึกษาเป็นไปอย่างแกนๆ พอให้เห็นว่ามีขาดการฝึกใช้อาวุธจริงปี หนึ่งๆ ฝึกยิงอาวุธ นับจำนวนนัดได้ คือฝึกเอาแค่คุ้นเคยเสียทุกปี ไม่ก้าวไปถึงขั้นเกิดทักษะและความชำนาญเลย ก็ไม่อาจคาดหวังว่าจะรบให้เกิดผลดีได้เมื่อมีสงครามเกิดขึ้นบริษัทห้างร้าน ต่างๆ ก็เช่นเดียว กัน เมื่อรับพนักงานเข้าทำงานในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วต้องมีการเพิ่มพูนความ รู้โดยให้มีการ ประชุมสัมมนาหรือศึกษาต่อเนื่องตามห้วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกจ้างพนักงานพร้อมรับมือ งานที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะการแข่งขันในโลกธุรกิจ ทำนองเดียวกับการทหารเช่นกัน
ไม่มีการก้าวก่ายหน้าที่กัน ซุน วูเน้นย้ำให้ระมัดระวังเรื่องการก้าวก่ายหน้าที่กันเพราะ เป็นสาเหตุความยุ่งเหยิงมาสู่กองทัพกล่าวคือมอบหมายงานให้ลูกน้องแล้ว ผู้บังคับบัญชายัง เข้าไปแทรกแซงซึ่งเกือบเป็นหลักนิยมการปฏิบัติของสำนักงานทั่วไปในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น
      - 
สั่งให้หยุดขณะงานกำลังคืบหน้าไปด้วยดีทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความ ระส่ำระสาย เหมือน ขุนพลถูกผู้ปกครองสั่งถอยขณะเป็นต่อ หรือสั่งรุกขณะเป็นรองข้าศึก
      -
ไม่เข้าใจงานนั้นจริงแต่สั่งการตามใจชอบจนผู้ปฏิบัติสับสนละล้าละลัง เหมือนผู้ปกครอง ที่ไม่เข้าใจหลักการยุทธ์แต่อยากเป็นพระเอกไปสั่งการเสียเอง ซึ่งทำให้แพ้สงครามมาแล้ว มากต่อมาก
      - 
ไม่เข้าใจวิธีทำงานในรายละเอียด แต่เล่นบทหัวหน้าคนงานไปสั่งการซ้อนกับหัวหน้า งานที่ได้รับมอบหมายทำให้ผู้ปฏิบัติในทุกระดับเกิดความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจว่าควรฟังคำสั่ง ใครดีเสียทั้งงาน เวลา และกำลังใจการก้าวก่ายหน้าที่นี้นอกจากจะเกิดในระดับผู้บังคับบัญชา โดยตรงแล้วยังอาจเกิดจากผู้อาวุโสกว่าที่ไม่อยู่ในสายงานโดยตรง เข้ามาแทรกแซงสั่งการแม้ ไม่มีอำนาจถ้าผู้น้อยไม่ทำตามก็ผิดใจกันถ้าทำตามงานก็ยุ่งเหยิงเสียหาย จึงเป็นสิ่งที่ต้อง ระมัดระวังอย่างยิ่งอย่าให้เกิดในกองทัพหรือสำนักงานใด
    
  รู้สภาวการณ์ทั้งปวง   การที่ต้องรู้สภาวการณ์ทั้งปวงก็เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์ แวดล้อมขณะนั้นมาประมวลแยกแยะประกอบการตัดสินใจดำเนินงาน ถ้าขาดข้อมูลข่าวสารที่ จำเป็นแล้ว การตัดสินใจก็เป็นไปในลักษณะสุ่มเสี่ยง คาดเดา การได้ข้อมูลสภาวการณ์ต่าง เกิดจากการหาข้อมูลข่าวสารทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทางตรงเช่นมอบหมายหน้าที่ให้ผู้ฝึก หัดมาด้านข่าวกรองโดยเฉพาะเป็นผู้รวบรวมและวิเคราะห์ข่าวให้ ในทางอ้อมได้ข้อมูลจาก แหล่งข่าวเปิดต่างๆ เช่น สิ่งตีพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น กองทัพ หรือสำนักงานใดที่มีข้อมูลข่าวสารครบถ้วนทันกาล ย่อมลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดใน การตัดสินใจได้
 
     มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสม  ในการเตรียมกำลังสำหรับทำสงครามต้องจัดหา ชนิดของอาวุธที่สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศการดำเนินกลยุทธ์ และมีคุณภาพดี ทหารที่ดี แต่ได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม  ด้อยคุณภาพแล้วถูกส่งเข้าทำสงครามเปรียบเสมือน ให้คนเหล่านี้ไปสู่ตะแลงแกง นั่นเอง ตัวอย่างเช่นทหารราบต้องมีปืนเล็กยาวที่แข็งแรง ทนทาน สมบุกสมบันไม่ขัดลำกล้องการจัดหาเรือรบต้องมีความทนทะเลมีที่พักอาศัย ที่ทำงานสะดวก สบายพอควรอาวุธประจำเรือมีคุณภาพสูง เช่น  ปืนใหญ่ยิงได้ราบรื่นไม่ติดขัด จรวดนำวิถีมี ความแม่นยำเชื่อถือได้ไม่ใช่ยิงคราวใดให้อกสั่นขวัญแขวน กลัวว่าจะพลาดเป้าหรือตกน้ำเสีย ก่อน แต่ถ้าการจัดหาเป็นไปแบบ "ผู้ซื้อไม่ได้ใช้ ผู้ใช้ไม่ได้ซื้อ" แล้วผู้ซื้อก็ไม่หารือผู้ใช้หรือหา รือแต่ไม่ฟังแล้วจัดหาให้ตามจินตนาการเพ้อฝันของตนเองแล้ว ชีวิตของทหารผู้จำต้องใช้อาวุธ นั้นก็คงแขวนอยู่กับโชคชะตาทำนองเดียวกับสำนักงานใดๆ การจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ใน สำนักงานต้องเป็นไปอย่างถูกต้องตามความจำเป็น และชนิดของงานเช่นเดียวกัน มิฉะนั้นจะ เกิดปัญหาซื้อมาแล้วใช้ไม่สะดวกหรือใช้ไม่ได้เลย   ดังตัวอย่างเรื่องอื้อฉาวของสำนักงานแห่ง
หนึ่ง ได้จัดหารถพยาบาลมาในแบบรถ Van แทนที่จะเป็นรถตู้ตามสภาพความเหมาะสมกับ งาน หรือจัดหาพัสดุคุณภาพต่ำมาใช้ในสำนักงาน เช่นนี้เป็นต้น
    
   ใช้การจู่โจมอย่างไม่คาดหมายการ จู่โจมคือการเข้ากระทำต่อข้าศึกในห้วงเวลา สถานที่ และเหตุการณ์ที่ข้าศึกไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นทำให้เป็นฝ่ายตั้งรับ เสียรูปขบวน และ เพลี่ยงพล้ำซึ่งถ้าไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้แล้วอาจพ่ายแพ้ในการรบ   หรือสูญเสียอย่าง
มากการจู่โจมอย่างไม่คาดหมายจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำสงคราม แต่การทำเช่นนี้ ได้ต้องมีการประมวลสถานการณ์และวางแผนอย่างเฉลียวฉลาด สำหรับกรณีการงานด้านอื่น การจู่โจมโดยอุปมาหมายถึงการมีความคิดริเริ่มใหม่ๆ ในการทำงานหรือแก้ไขปัญหาที่รับ ผิดชอบอยู่
      
  มีการพลิกแพลงไปตามสถานการณ์ สถานการณ์การรบที่ดีที่สุดสำหรับฝ่ายเรา ในตอนเช้าอาจกลายเป็นสถานการณ์เลวร้ายที่สุดในตอนบ่าย     เมื่อการรบดำเนินไปอย่างต่อ
เนื่อง ขุนพลผู้ บัญชาการรบจึงต้องมีขีดความสามารถในการประเมินสถานการณ์ พลิกแพลง แก้ไขให้ดีขึ้นได้ตามการเปลี่ยนแปลงของสนามรบ สำหรับการงานอื่นๆ ก็เช่นเดียวกันที่ผู้ทำ งาน ต้องแก้ไขปรับปรุงงานไปตามสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
       
 สรุป
          จากสาระโดยย่อของตำราพิชัยสงครามซุนวู ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเห็นได้ว่า สามารถนำไปประยุกต์เข้ากับการ สงครามหรือการงานใดๆ  ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดถ้าเราจะอุป มาเพียงว่างานที่เราทำอยู่ก็เช่นเดียวกับสงครามที่ทุกคนประสงค์ชัยชนะ โดยอาจสรุปเป็นหลัก การได้อย่างย่นย่อที่สุดว่า "รู้ตนเอง รู้งาน ทำสิ่งใดย่อมประสบความสำเร็จ" หรือในแบบทหาร ว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งตามวลีที่มีชื่อเสียงในตำราฉบับนี้ ซึ่งมีผู้นำมากล่าว อ้างอยู่เสมอ



























 


 

No comments:

Post a Comment