""

Friday, August 19, 2016

เครือข่ายเจ้า มีอิทธิพลต่ออำนาจและผลประโยชน์ของชาติมาตลอด!!!

บทความท่ีส่งให้นี้มีนักวิชาการสี่ท่านได้สรุปสถานะการณ์ประเทศไทยช่วง2475-2559ได้ดีชัดเจนมาก. คนท่ีไม่รู้ไม่เข้าใจสังคมไทยท่ีตนเกิดมา. ควรใช้เวลาอ่านให้เข้าใจว่า 84ปีช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบราชาธิปไตยจะไปสู่ระบบประชาธิปไตยมันยังไปไม่ถึงไหนไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะเหตุใด 84ปีนอกจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระบบแล้วยังมีช่วงปลายรัชกาลมาทับซ้อนอีก. ผู้อ่านจะได้เข้าใจสภาวะสังคมไทยท่ีแท้จริงได้จากการอ่านบทความสรุปย่อนี้
ถ้าไม่อ่านก็จะงงกับสังคมไทยต่อไป.สาธุ.


จิตร ภูมิศักดิ์ นักเปิดโปงศักดินาไทย
ชีวประวัติโดยย่อของจิตร ภูมิศักดิ์ 
เจ้าของหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย
คนไม่สนใจประวัติศาสตร์คือคนตาบอดข้างหนึ่ง
คนไม่อ่านประวัติศาสตร์เหมือนคนตาบอดสองข้าง
และเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา
คนไม่สนใจประวัติศาสตร์คือคนตาบอดข้างหนึ่ง
คนไม่อ่านประวัติศาสตร์เหมือนคนตาบอดสองข้าง


จิตร ภูมิศักดิ์ นักเปิดโปงศักดินาไทย
ชีวประวัติโดยย่อของจิตร ภูมิศักดิ์ เจ้าของหนังสือโฉมหน้าศักดินาไทย
และเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา
คนไม่สนใจประวัติศาสตร์คือคนตาบอดข้างหนึ่ง
คนไม่อ่านประวัติศาสตร์เหมือนคนตาบอดสองข้าง

อรุณสว่างอรุณสวัสดิ์
วันศุกร์ที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙
รัฐประหารทำความเสียหายให้ประชาชนตลอด ๗๐ ปี ที่ผ่านมา
ใครคือผู้สั่งทำรัฐประหารอ้างเพื่อปกป้อง......
เรามี.....ไว้เพื่ออะไร?
#ข้อมูลย้อนหลังรัฐประหาร2500 ,2501, 2557 
=========================
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
เป็นส่วนหนึ่งของ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
พลเอกประยุทธ์ประกาศยึดอำนาจ22 พฤษภาคม 2557.png
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พร้อมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันที่  22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
สถานที่  ไทย ราชอาณาจักรไทย
ผลลัพธ์  

    จัดตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    คณะรัฐมนตรีและวุฒิสภาสิ้นสุดลง
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง
    รัฐธรรมนูญชั่วคราวใช้บังคับ
    ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี

คู่ขัดแย้ง
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ  รัฐบาลยิ่งลักษณ์
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
 วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
ประกาศกองทัพบก ฉบับที่ 1/2557 (เรื่อง การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก)
 วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 (เรื่อง การควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ)

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16:30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อันมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ โค่นรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย รัฐประหารดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2556 เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และอิทธิพลของดร.ทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย

ก่อนหน้านั้นสองวัน คือ วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่เวลา 3.00 น. กองทัพบกตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) และให้ยกเลิกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตั้งขึ้น กอ.รส. ใช้วิธีการปิดควบคุมสื่อ ตรวจพิจารณาเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต และจัดประชุมเพื่อหาทางออกวิกฤตการณ์การเมืองของประเทศ แต่การประชุมไม่เป็นผล จึงเป็นข้ออ้างรัฐประหารครั้งนี้

หลังรัฐประหาร มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงยกเว้นหมวด 2 คณะรัฐมนตรีรักษาการหมดอำนาจ ตลอดจนให้ยุบวุฒิสภา จนเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภาฯ มีมติเลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี

หลายประเทศประณามรัฐประหารครั้งนี้ รวมทั้งมีการกดดันต่าง ๆ เช่น ลดกิจกรรมทางทหารและลดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่คนไทยจำนวนหนึ่งแสดงความยินดี โดยมองว่าเป็นทางออกของวิกฤตการณ์การเมือง แต่ก็มีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย
=========================================
รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เกิดขึ้นหลังจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 ล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วได้มอบหมายให้พจน์ สารสิน เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ต่อมา วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 พลโท ถนอม กิตติขจร จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ทว่า การเมืองในรัฐสภาไม่สงบ เนื่องจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรียกร้องเอาผลประโยชน์และมีการขู่ว่าหากไม่ได้ตามที่ร้องขอจะถอนตัวจากการสนับสนุนรัฐบาล เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง] พลโท ถนอม กิตติขจรก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ ประกอบกับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ ก็ได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อรักษาโรคประจำตัว เมื่อเดินทางกลับมา ในเช้าวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พลเอก[1] ถนอม กิตติขจรจึงประกาศลาออกในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ประกาศให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกัน จากนั้นในเวลา 21.00 น.[2] จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม[3] โดยมีคำสั่งคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น ยุบสภา ยกเลิกสถาบันทางการเมือง ได้แก่ พรรคการเมือง เป็นต้น[4]

จากนั้นตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 จนถึงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 คณะปฏิวัติได้มีประกาศคณะปฏิวัติออกมาทั้งหมด 57 ฉบับ มีสภาร่างรัฐธรรมนูญมาจากการแต่งตั้งไม่ใช่เลือกตั้ง มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งมีเพียงสั้น ๆ 20 มาตราเท่านั้น ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ก็มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเพียง 14 คนเท่านั้น โดยไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

รัฐประหารครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็น การยึดอำนาจตัวเอง ก็ว่าได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ส่งผลให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์สามารถใช้อำนาจในตำแหน่งได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จากรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีจัดการกับบุคคลที่ก่อความไม่สงบได้ทันที แล้วจึงค่อยแจ้งต่อสภา ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ใช้อำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ในการควบคุมสถานการณ์ของประเทศ เช่น การปราบปรามฝิ่น มีการเผาฝิ่นที่ท้องสนามหลวงเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2502 และเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน มีเหตุเพลิงไหม้ติดกันถึง 3 ครั้ง เป็นที่ฝั่งธนบุรี 2 ครั้ง และที่บางขุนพรหมอีก 1 ครั้ง ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ จอมพลสฤษดิ์เป็นผู้อำนวยการดับเพลิงเอง ต่อมาได้มีการจับกุมผู้วางเพลิงได้ทั้งหมด 3 ราย เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งทั้งหมดยอมรับว่ารับจ้างมาเพื่อวางเพลิง จึงมีคำสั่งตามมาตรา 17 ให้ประหารชีวิตบุคคลทั้ง 3 ในที่สาธารณะ

จากมาตรา 17 นี้ ได้ประหารบุคคลที่สงสัยว่าจะก่อความไม่สงบหลายรายหรือข้อหาคอมมิวนิสต์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน เช่น ศิลา วงศ์สิน และศุภชัย ศรีสติ ในข้อหาผีบุญ, ครอง จันดาวงศ์ และทองพันธ์ สุทธิมาศในข้อหาเดียวกัน ที่สนามบินอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นต้น ซึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เป็นการกดดันชาวบ้าน ประชาชนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาล จึงทำให้ชาวบ้านหลายคนต้องหลบเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "วันเสียงปืนแตก" เมื่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (พกค.) ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยปืนเป็นครั้งแรกที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508

คณะปฏิวัติสิ้นสุดลงเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอชื่อจอมพลสฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502
=========================================
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500
Salit thanarat.jpg
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกหัวหน้าคณะรัฐประหาร
วันที่  16 กันยายน 2500
สถานที่  ไทย ราชอาณาจักรไทย
ผลลัพธ์  

    คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
    จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลี้ภัยไป ญี่ปุ่น
    พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ลี้ภัยไป สวิตเซอร์แลนด์

คู่ขัดแย้ง
กองทัพบก
กองทัพเรือ
กองทัพอากาศ  คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 26
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  จอมพล ป. พิบูลสงคราม
พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์
ภาพเหตุการณ์ขณะที่ จอมพลสฤษดิ์ นำคณะนักศึกษาเข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบรัฐบาล

รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เป็นรัฐประหารในประเทศไทย ถือได้ว่าพลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปอีกรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกับรัฐประหารใน พ.ศ. 2490[1]

สาเหตุ

สืบเนื่องจากความแตกแยกกันระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ที่ค้ำอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ประชาชนไม่ยอมรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500 เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่ถือว่าโกงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นับแต่ใช้เครื่องบินโปรยใบปลิวโจมตีฝ่ายตรงข้าม ข่มขู่ชาวบ้าน ประชาชน ให้เลือกแต่ผู้สมัครของพรรคเสรีมนังคศิลา คือ พรรครัฐบาล หรือการเวียนเทียนมาลงคะแนน การสลับหีบบัตร การแอบหย่อนบัตรคะแนนเถื่อนเข้าไปในหีบ และต้องใช้เวลานับคะแนน 7 วัน ด้วยกัน ผลการเลือกตั้ง พรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสียงข้างมาก ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 30 ที่นั่ง

วันที่ 2 มีนาคม นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง มีการลดธงเหลือแค่ครึ่งเสาเป็นการไว้อาลัย และเรียกร้องให้ พล.อ.ท.มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ ซึ่งเป็น ส.ส.สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จอมพล ป. นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 และแต่งตั้งให้ จอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว จอมพลสฤษดิ์กลับเป็นผู้นำเดินขบวน พาฝูงชนข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยกล่าวว่า ทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน และเมื่อถึงหน้าทำเนียบรัฐบาลได้เป็นผู้เปิดประตูทำเนียบ นำพาประชาชนเข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งจอมพล ป. ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่บันไดหน้าตึกไทยคู่ฟ้า เมื่อได้เจรจากันแล้ว จึงได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป. ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบมาพากลและจะจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ จึงได้พูดผ่านโทรโข่งขอให้ผู้ชุมนุมสลายตัวไปอย่างสงบ และขอให้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาตามปกติ ซึ่งก็ได้เป็นไปตามอย่างที่ จอมพลสฤษดิ์ ร้องขอทุกประการ ซึ่งการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองครั้งแรกของชาวไทยนับตั้งแต่การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[2]

ฝ่ายจอมพลสฤษดิ์ ที่ได้มีท่าทีเช่นนี้ ได้สร้างความนิยมขึ้นอย่างมากในหมู่ประชาชน แต่ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ท้าทายอำนาจจอมพล ป. เพราะหลังจากนี้ จอมพลสฤษดิ์ยังได้ประกาศด้วยตนเองผ่านทางวิทยุกร

No comments:

Post a Comment