""

Tuesday, August 23, 2016

คสช.​ทำผิดสนธิสัญญากับ UN จริงหรือ?

โดย อ. ธนบูลย์


ตามคำพิพากษาในคดีที่ชื่อว่า Dusan Tadic หรือ Dusko Tadic นั้น ต้องถามว่า เขาถกเถียง เรื่องอะไรกัน? และ


มีผลสะท้อนกลับมาช่วยคนไทยผู้ใฝ่รู้ ให้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ กับ เหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ในประเทศไทย หรือ กำลัง จะเกิด ต่อไปในประเทศ อย่างไร?ู้

๑. ต้องขอให้ บทนำแก่ ท่านผู้อ่านทั้งหลายว่า ข้อเขียนของ ผมเกี่ยวกับ คดีๆนี้ นั้น เมื่อท่านได้อ่านแล้ว คิดว่าผม ยังมิได้ ให้คำตอบครบถ้วนแก่ ท่านผู้อ่านทั้งหลาย นั้น

๒. เมื่อท่าน ได้อ่านบทความเหล่านี้ ต่อไปเรื่อยๆ ท่านจะเห็นคำตอบ ที่ผมได้ตั้งไว้ ตั้งแต่ต้น ไปในตัว โดยเมื่อท่าน ได้อ่านแล้ว ขอให้คิด และ ใช้สมอง หรือ ปัญญา คิดตามไปด้วย เพราะนั่น คือปัญหาใหญ่ของ การสอนของผม ต่อ ท่านผู้อ่านทั้งหลาย

๓. ในปัญหาของคดี ที่นำมาเสนอนี้ จะเกี่ยวกับ เขตอำนาจของ ศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในการพิจารณา และ พิพากษา ที่จำเลยในคดี Dusan Tadic ยกขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ที่สำคัญในคดี มีความเกี่ยวพัน กับ :

๓.๑ อำนาจของ คณะมนตรีความมั่นคง ตามกฎบัตรของ องค์การสหประชาชาติ หรือ The Charter of United Nations ซึ่งเป็น สนธิสัญญาหลายฝ่าย หรือ พหุภาคี (Multilateral Treaty) ว่า การที่คณะมนตรีความมั่นคง ได้ออกข้อบัญญัติที่ 764 ในวันที่ ๑๓ กรฎาคม ปี ค.ศ. ๑๙๙๒ ในขณะที่มีเหตุรบพุ่งกัน อย่างเป็นศัตรู (Hostilities) ในระหว่างชาวเซริบร์ กับ ชาว โครแอต, ชนกลุ่มน้อยผู้นับถือ ศาสนาอิสลาม ในแคว้นบอสเนีย อันเป็น จุดเริ่มต้นของ สงครามกลางเมือง ในแคว้นบอสเนียฯ คณะมนตรีความมั่นคงทำได้ หรือไม่?

๓.๒ ต่อมาในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ปี ค.ศ.๑๙๙๓ คณะมนตรีความมั่นคง ได้ออกข้อบัญญัติ (Resolutions) ที่ ๘๒๗ (๑๙๙๓) ก่อตั้งศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ มาเพื่อพิจารณา และ พิพากษา คดี ที่จำเลย ต้องหาว่า ได้กระทำความผิดในทางอาญาระหว่างประเทศ ทำได้ หรือไม่?

๓.๓ ความผิดดังกล่าว เป็น ความผิดอาญาระหว่างประเทศ ตามสนธิสัญญาแห่ง กรุงเจนีวา ปี ค.ศ. ๑๙๔๙ (The Geneva Conventions, 1949) และ บรรดาสนธิสัญญาทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องกับ สนธิสัญญาฉบับนี้ ที่เป็น ความผิดในทางอาญาระหว่างประเทศ ตามสนธิสัญญา ที่เกิดใหม่ เช่น สนธิสัญญาว่าด้วย การทรมานฯ ปี ค.ศ. ๑๙๘๔, สนธิสัญญาแห่งกรุงเฮก ปี ค.ศ. ๑๘๙๙ - ๑๙๐๗ ฯลฯ เป็นต้น

๓.๔ ในกรณีแห่งความผิดในทางอาญาระหว่างประเทศ เช่นที่เกิดในคดีนี้ จึงมีความเกี่ยวพัน กับ หลายๆสนธิสัญญา ที่มีรัฐคู่ภาคีของ ในแต่ละสนธิสัญญา ตามที่อ้างถึงอยู่แล้ว จึงมีความจำเป็น หรือไม่? ที่ต้องออกข้อบัญญัติ (Resolutions) ที่ ๘๒๗ (๑๙๙๓) ตามออกมา และ กลายเป็นข้อต่อสู้สำคัญของ จำเลยในคดีนี้

๔. ในกรณีของ จำเลย ในคดีนี้ ที่ได้ยกข้อสู้ต่อสู้ ในคดีมาแต่ต้น โดยได้ต่อสู้ว่า สงครามกลางเมือง ที่เกิดในแคว้นบอสเนียฯ ไม่มีคุณลักษณะ ที่เป็นสงคราม ที่เกี่ยวพันกับ ต่างประเทศ (Characterized as International Conflict)

๕. ความเกี่ยวพัน กับ ต่างประเทศ นั้น จะเป็นตัวชี้ว่า จำเลยในคดีนี้ ควรต้องรับโทษในฐานที่เป็น "อาชญากรสงคราม" หรือ "war Criminal" ตามที่โจทก์ฟ้องในคดีหรือไม่? มาถึงตรงนี้ เห็นควรต้อง อธิบาย ให้ท่านผู้อ่านเข้าใจ ในข้อกฎหมายเสียก่อนว่า

๖. ในช่วงต่อของ สงครามโลกครั้งที่สอง ในห้วงเวลาของ สงคราม และ ความสงบ และสันติสุข ที่มนุษย์ส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ โดยเฉพาะบนพื้นแผ่นดินยุโรป และ ทวีปอเมริกาเหนือ นั้น ได้แผชิญ กับ ภาพอันเลวร้าย และ หฤโหดของ สงครามโลกครั้งที่สอง นั่นคือ ภาพของการรบพุ่งกัน บนพื้นแผ่นดินยุโรป และ ในเอเซีย {กองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตร กับ กองทัพของลูกพระอาทิตย์ ภาพการฆ่า ด้วยวิธีการล้างเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติ คือ ชาวยิวกว่า -๔,๐๐๐,๐๐๐ (สี่ล้าน) คน ในค่ายกักกันมนุษย์ของ พรรคนาซีเยอรมัน) บนพื้นดินยุโรป และ ภาคพื้นเอเชีย}

๗. ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาซึ่งการก่อตั้งสนธิสัญญาฉบับสำคัญๆ ๕ ฉบับ เป็นอย่างน้อย คือ:

๗.๑ (สนธิสัญญา ) ลอนดอนชาร์เตอร์ ปี ค.ศ. 1938 หรือ London Charter, 1938 ที่บัญญัติความผิด และ โทษที่จะใช้ลง โดยศาลนูเรมเบริกก์ ตามสนธิสัญญานี้ เมื่อผู้กระทำความผิด เป็นทหาร แล้วไปกระทำการฝ่าฝืนต่อ บทบัญญัติของ ลอนดอนชาร์เตอร์ ปี ค.ศ. 1938 โทษที่จะลงก็คือ การลงโทษด้วยการประหารชีวิต ด้วยการแขวนคอสถานเดียว สนธิสัญญานี้ ยังมีผลบังคับใช้อยู่

๗.๒ หากไม่ทำการ เปิดศาลที่เมืองนูเรมเบริกก์ มาเป็นศาลพิจารณาโทษ ก็ยอมให้ชาติ หรือ รัฐคู่ภาคีสมาชิกของกฎบัตรสหประชาชาติ (โดยความยินยอมของ คณะมนตรีความมั่นคง ตั้งศาล และ เลือกตัวผู้พิพากษาร่วมผสม กับ ผู้พิพากษาที่องค์การสหประชาชาติ เลือกตั้งมาจากชาติสมาชิก โดยกระจายตามภูมิภาค มาป็นองค์คณะ ที่มีอำนาจพิจารณา และ พิพากษาโทษ ที่อาชญากรสงครามแต่ละคน ได้ก่อให้เกิดขึ้น) โดยพิจารณาโทษ โดยศาลภายในประเทศ หรือ

๗.๓ ให้ศาลโลกที่กรุงเฮก ใช้สำนักงานศาลโลก และตัวศาล ร่วมกันกับศาลในประเทศ ที่การกระทำความผิด ได้เกิดขึ้น ทำการพิจารณา และ พิพากษาแก่โทษ ที่อาชญากรสงคราม (War Criminals) แต่ละคน เราเรียกว่าใช้ หลักการ Ex - Officio หรือ Good่ Office แก่ความผิด ที่ได้กระทำความผิดลงไป อย่างที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต คือ คดี ล็อคเคอร์บี้ (Lockerbie Case, การระเบิดเครื่องบิน Pan AM เที่ยวบินที่ 103 พร้อมผู้โดยสาร นักบิน และ ลูกเรือ เสียชีวิต ทั้งลำ จำนวนกว่า -๒๐๐ (สองร้อย) คน จนเครื่องบินตก ที่เมือง ล็อคเคอร์บี้ ในสก็อตแลนด์ ประเทศอังกฤษ

๘. ด้วยเหตุนี้ จึงต้องขอเตือนไปยัง คณะ คสช. บรรดานายทหารทั้งหลาย ในกองทัพทั้งสามของ ประเทศไทยว่า การที่ท่านแส่ สอดแทรก เข้าไปจัดการ ในเกือบทุกๆเรื่อง ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ตามอำนาจหน้าที่ ที่ควรเป็นของ รัฐบาลพลเรือน ตามคำสั่ง "ท่านผู้นำ" ของคณะ คสช. ท่านมีโอกาศสูงเกินกว่า -90%- ที่จะต้อง ตกเป็น ผู้ต้องหาในฐานความผิดเป็น "อาชญากรสงคราม"

๙. ตาม (สนธิสัญญา) ลอนดอนชาร์เตอร์ ปี ค.ศ. 1938 เมื่อใดก็ตามที่ คณะมนตรีความมั่นคงของ องค์การสหประชาชาติ เกิดบ้าเลือดขึ้นมา และ ประกาศใช้ อำนาจพิจารณา และ มีคำสั่ง ตามอำนาจหน้าที่ และ การใช้อำนาจ หน้าที่ของ คณะมนตรีความมั่นคง ตาม บทที่ 7 หรือ Chapter VII บทบัญญัติที่ 51 กฎบัตรของ องค์การสหประชาชาติ ฉะนั้น ขอได้โปรด "เลิกบ้าอำนาจ" ได้แล้ว จึงต้องขอเตือนสติไว้ด้วย บทความบทนี้. ................(มีต่อ)

No comments:

Post a Comment